วันพฤหัสบดีที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2551

โครงงานการทดลองเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือน


จัดวางก้อนเชื้อเห็ดลงแปลงเพาะ



ใช้ฟางคลุมแปลงเพาะ





เห็ดนางรมในโรงเรือน









เห็ดนางรมในแปลงเพาะ


โครงงานเกษตรกรรมประเภทศึกษาค้นคว้าทดลอง
ชื่อโครงงาน การทดลองเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือน
ชื่อผู้ทำโครงงาน

1. นางสาวจิรวรรณ ทองสุขนอก
2. นางสาวสุปราณี เอกบัว
3. นางสาวประภาภรณ์ เที่ยงกินรี
4. นายทศพร ดาผง
ครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด
ความสำคัญของโครงงาน
เห็ดนางรมเป็นเห็ดเพาะง่ายให้ผลผลิตดีทนต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ปกติเพาะในโรงเรือนเนื่องจากควบคุมสภาพแวดล้อมได้ง่าย แต่ก็มีต้นทุนสูงในการก่อสร้างโรงเรือนไม่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำไว้บริโภคในครัวเรือน ผู้จัดทำโครงงานเห็นว่าถ้าเพาะเห็ดลงในแปลงเหมือนปลูกผักได้จะทำให้ต้นทุนต่ำ เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยทำไว้บริโภคหรือเป็นอาชีพเสริมจึงได้ทำโครงงานนี้เปรียบเทียบผลผลิต
จุดประสงค์
1. ศึกษาวงจรชีวิตเห็ดนางรม
2. ทดลองเพาะเห็ดนางรมลงแปลงเพาะเปรียบเทียบผลผลิตกับการเพาะในโรงเรือน
3. เสริมสร้างประสบการณ์เพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะ
ข้อมูลวิชาการ
1. ศึกษาข้อมูลเห็ดนางรม
จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอน ข้อมูลที่ได้
วงจรชีวิตเห็ดนางรม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ของ เห็ดนางรม
เห็ดนางรม มีสีขาวสวยและสะอาด เมื่อใช้ปรุงอาหารรับประทานแล้วก็ให้รสชาติที่อร่อยดีอีกด้วยเห็ดนางรมจึงเป็นเห็ดที่นิยมเพาะและบริโภคกันมากในเมืองเรา เห็ดนางรมมีพื้นเพเดิมมาจากทางยุโรป ซึ่งมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับเห็ดมะม่วงหรือเห็ดขอนขาว ที่เกิดขึ้นมาตามธรรมชาติในฤดูฝน แต่แตกต่างกันที่ เห็ดนางรมเราสามารถนำมาเพาะให้เกิดดอกได้ตลอดทั้งปี ทั้งยังเป็นเห็ดที่มีคุณค่าทางอาหารสูง คือ ประกอบไปด้วยธาตุอาหารประเภท คาร์โบไฮเดรท โปรตีน และไขมัน รวมทั้งแร่ธาตุต่างๆ และวิตามินที่อยู่ใน เห็ดนางรมหลายชนิด
ชีววิทยาของเห็ดนางรม
เห็ดนางรม มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Pleurotus cornucopiae เป็นเห็ดในตระกูล Pleurotaceae มีน้ำย่อยที่ย่อยสารประกอบเชิงซ้อน จำพวกเซลลูโลสและลิกนินได้เป็นอย่างดี บางครั้งจะพบว่าเป็นปรสิตอย่างอ่อนคือกินต้นไม้เป็นๆ ได้ ครั้นพอตายแล้วก็ยังคงกินไม้ที่ตายต่อไปได้อีก
ลักษณะของเห็ดนางรมโดยทั่วไป มีหมวกเห็ดคล้ายหอยนางรมดอกเห็ดมีสีขาวอมเทา ก้านดอกจะเป็นเนื้อเดียวกันกับหมวก ลักษณะของหมวกดอกเห็ดจะเว้าตรงกลาง ผิวด้านบนโค้งเรียบ อ่อนนุ่มและกลม ขอบดอกจะห้อยย้อยลงมาด้านล่าง เมื่อโตเต็มที่ด้านหลังดอกจะมีลักษณะเป็นครีบ อาจจะเกิดเป็นดอกเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้ เมื่อโตเต็มที่ปกติจะกว้างประมาณ 3 – 6 เซนติเมตร สปอร์มีลักษณะรูปไข่ ไม่มีสี แต่เมื่ออยู่รวมกันมองเป็นกระจุกสีขาว ขนาดประมาณ 5 X 10 ไมครอน
2. ศึกษาข้อมูลการทำก้อนเชื้อเห็ด จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอน ข้อมูลที่ได้
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
วัสดุที่ใช้เพาะเห็ด สามารถเพาะได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรที่มีอยู่มากมายหลายชนิด นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพาะได้ อาจใช้วัตถุดิบเดี่ยว ๆ หรืออาจใช้วัตถุดิบผสมกันหลาย ๆ อัตราส่วนเป็นวัสดุเพาะ เช่น ฟาง ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ไส้นุ่น เศษใบไม้ใบหญ้า
นอกจากนี้เราอาจเติมอาหารเสริมลงไปคลุกเคล้าผสมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น อาหารเสริมก็มี รำละเอียด รำหยาบ กากถั่วป่น ในอัตราประมาณ 3 – 10 % โดยน้ำหนัก
การเติมสารเคมีบางชนิดในรูปของเกลืออนินทรีย์ เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต ยิปซั่ม และปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต ลงไปในกองปุ๋ยหมักเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเห็ดนั้นแม้ว่าโดยหลักการแล้วเห็ดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แต่เมื่อเติมปุ๋ยเหล่านี้ลงไปในกองปุ๋ยหมักแล้วจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรียหลายชนิดจะเจริญได้ดีขึ้นและบางส่วนของปุ๋ยได้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุในตัวของแบคทีเรีย ซึ่งเห็ดสามารถนำไปใช้ได้ในภายหลัง
การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำก้อนเชื้อเห็ดมีดังต่อไปนี้
1. วัสดุเพาะ โดยทั่วไปจะใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน ฟางข้าว ชานอ้อย
2. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 12 นิ้ว หรือ ขนาด 8 x 12 นิ้ว
3. คอถุงพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ½ นิ้ว
4. สำลี ยางรัด
5. หม้อนึ่งเชื้อเห็ด
6. โรงเรือนบ่มเส้นใย
7. โรงเรือนเปิดดอก
สูตรอาหารก้อนเชื้อเห็ด
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ( ไม่ต้องหมัก ) 100 ก.ก.
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะประมาณ 60 – 65 %
ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด
1. นำส่วนผสมข้างต้นผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมปรับความชื้นประมาณ 60 – 65 %
โดยการเติมน้ำลงไปพอประมาณ
2. ใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่น แล้วสังเกตว่าถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วมือแสดงว่าเปียกไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้ง ) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 – 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำ ลงไปอีก
3. เมื่อผสมคลุกเคล้าส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อนน้ำหนัก 8 – 10 ขีด บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดและทุบให้แน่นพอประมาณ ใส่คอถุง จุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษ รัดด้วยยาง
4. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา เซลเซียส ใช้เวลา 2 - 3 ชั่วโมง
5. นำถุงออกมาพักให้เย็นในที่สะอาด เปิดจุกสำลี ต่อเชื้อที่ต้องการลงไปตรงคอถุง
6. นำถุงเชื้อเห็ดไปบ่มไว้ในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก จนกระทั่งเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด





7. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว คัดเอาเฉพาะถุงที่ไม่มีการปนเปื้อน มาเปิดในโรงเรือนเปิดดอก เพื่อให้เกิดดอกเห็ดต่อไป ภายในโรงเรือนต้องสะอาด มีการถ่ายเทอากาศดี มีแสงสว่างพอสมควรและเก็บความชื้นได้ดีพอสมควร ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 70 % ขึ้นไป

การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะเห็ด
การสเตอริไรส์
การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อศัตรูเห็ดให้ตายหมดอย่างสิ้นเชิง ปกติจะใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้นไม่สามารถใช้หม้อนึ่งลูกทุ่งได้โดยนึ่งที่ความดันไอน้ำ 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว เวลา 15 นาที ขึ้นไป แต่ถ้าจำนวนก้อนเชื้อมีมาก ก็ต้องนึ่งใช้เวลานานกว่านี้ เช่น ถ้านึ่งขวดอาหารวุ้นใช้เวลา 15 นาที ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ถ้านึ่งหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างต้องใช้เวลา 25 – 30 นาที ที่ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
การพาสเจอร์ไรส์
ในการเพาะเห็ดเราจะพาสเจอร์ไรส์อาหาร ปุ๋ยหมักหรือก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อและเห็ดอื่น ๆ ที่จะเป็นศัตรูต่อเห็ด ซึ่งรวมทั้งแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ในถุงวัสดุเพาะ โดยการใช้หม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งแบบดัดแปลงหรือหม้อนึ่งความดันแบบต่าง ๆ โดยการต้มน้ำให้เดือดขึ้นเป็นไอไปฆ่าเชื้อก้อนเชื้อที่วางไว้ด้านบน การฆ่าเชื้อจะใช้ความร้อน 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ชั่วโมง
หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง
หม้อนึ่งชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นเครื่องมืที่ราคาถูกทำขึ้นเองได้ นิยมใช้ถังน้ำมันหรือถังจารบีขนาด 200 ลิตร แต่หนากว่าและมีฝาแยกออกมาเป็นอิสระพร้อมเข็มขัดรัดฝา ใช้ยางหุ้มปากถังแทนประเก็นเพื่อให้สามารถปิดได้สนิท ตรงกลางฝาเจาะรูด้วยตะปูขนาด 3 นิ้ว เพื่อทำเป็นที่ระบายไอน้ำ ก้นถังทำเป็นตะแกรงรองวัสดุนึ่ง ให้สามารถยกเข้าออกได้สำหรับใช้วางก้อนเชื้อไม่ให้เปียกน้ำโดยทำให้สูงจากก้นถังประมาณ 20 ซ.ม.
การนึ่งก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันแบบทั่วไปคือ ใส่น้ำลงไปจนปริ่มตะแกรง แต่ก่อนนำก้อนเชื้อลงวางเรียงควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรอบ ๆ ขอบถังเสียก่อนเพื่อไม่ให้ถุงพลาสติกจากก้อนเชื้อละลายติดกับหม้อนึ่งเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด เมื่อวางก้อนเชื้อจนเต็มแล้วปิดฝาและรัดสายรัดให้แน่น ต้มน้ำให้เดือดจนไอน้ำพุ่งออกมาจากรูที่เจาะตรงกลางฝาอย่างสม่ำเสมอแล้วนึ่งไปนานประมาณ 3 ชั่วโมง เชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ทำความร้อนให้กับหม้อนึ่งชนิดนี้ อาจใช้ไม้ฟืนหรือแกลบก็ได้โดยการทำเตาแบบเตาเศรษฐกิจ การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดจำนวนมากต้องระมัดระวังและแน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง
หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป
3. ศึกษาข้อมูลการถ่ายเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอน ข้อมูลที่ได้
ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1. ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1.1 ต้องมีความบริสุทธิ์ในสายพันธุ์
1.2 เส้นใยเชื้อเห็ดเดินขาวเต็มขวด
1.3 เชื้อเห็ดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป
1.4 อาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดมีคุณภาพดีและเหมาะสม
1.5 ไม่มีเชื้อราอื่นปะปน
2. การเลือกซื้อเชื้อเห็ด
2.1 เชื้อเห็ดอยู่ในภาชนะที่สะอาดเหมาะสม สภาพเรียบร้อย
2.2 เชื้อเห็ดมีเส้นใยขาวฟูเดินเต็มขวด
2.3 เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ไม่มีเชื้อราอื่นเจือปน
2.4 เชื้อเห็ดไม่มีความชื้นมากเกินไปโดยดูจากน้ำที่เกิดขึ้นในภาชนะที่บรรจุ
2.5 อายุเหมาะสมในการนำไปเพาะไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป
การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงในถุงวัสดุเพาะ ( ถุงก้อนเชื้อ ) ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ยังถือว่าเป็นเพียงก้อนเชื้อเปล่า ๆ หรือเป็นเพียงถุงขี้เลื่อยธรรมดา เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เพาะเอาดอกได้ จนกว่าจะมีการนำเอาหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างที่ทำขึ้นหรือ ซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้เสียก่อน
หัวเชื้อที่ดีนั้น ควรเป็นหัวเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มขวดใหม่ ๆ ไม่มีเชื้อราสีต่าง ๆ ปน ไม่เป็น เชื้อแก่จนเส้นใยย่อยตัวเองเป็นน้ำสีเหลือง ตามปกติการถ่ายเชื้อจากขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างนั้น จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการแยกเนื้อเยื่อ หรือการถ่ายเชื้อจากวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟ่าง คือต้องปฏิบัติภายในตู้เขี่ยเชื้อ แต่เนื่องจากการทำก้อนเชื้อจำนวนมากอาจมีจำนวนหลายหลายร้อยหรือหลายพันก้อนต่อครั้ง ก้อนเชื้อยังมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมทำในตู้เขี่ยเชื้อและเชื่อว่าหัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างนั้นมีสภาพแวดล้อมของอาหารที่ใกล้เคียงกับเส้นใยเห็ดบนวัตถุธรรมชาติ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าที่เจริญบนวุ้น การถ่ายเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงในถุงก้อนเชื้อ จึงไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ เพียงแต่ควรเป็นที่สะอาดและลมสงบ ส่วนใหญ่จะทำในห้องกั้นพิเศษสำหรับเขี่ยเชื้อโดยตรงเพื่อที่จะป้องกันลมและรักษาความสะอาดได้ง่าย
การปฏิบัติ วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถวให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เปิดเอากระดาษที่หุ้มสำลีออก แต่ยังไม่ต้องเปิดจุกสำลีและระวังไม่ให้สำลีหลุดออกจากคอขวด ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำเอาขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่คัดเลือกไว้แล้ว ใช้มือเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายดีเสียก่อน ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ในช่วงนี้ถ้าเมล็ดข้าวฟ่างในขวดยังไม่ร่วน จะใช้ช้อนตักเข้าไปในขวดเพื่อเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างในขณะที่ปากขวดยังลนไฟอยู่ มืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10 – 20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ใช้กระดาษปิดทับรัดด้วยยาง เมื่อทำได้ 3 – 4 ถุงควรลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์อีกครั้งหัวเชื้อที่เปิดขวดออกมาแล้วควรใช้ให้หมดหากมีเหลือไม่ควรนำมาใช้ต่อไปอีก เพราะเชื้ออาจเสียได้ เฉลี่ยแล้วหัวเชื้อ 1 ขวด จะใช้เขี่ยเชื้อลงถุงได้ประมาณ 50 – 60 ถุง หรือบางแห่งอาจได้ 25 – 30 ก้อน ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญดีและเสียน้อย
การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลานานประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่นเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ มีรายงานจากบางฟาร์มว่าเห็ดนางรมในระยะบ่มเชื้อจะเจริญได้ดีในห้องที่ไม่มีลมโกรกและมีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้าภูฐานโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติ เห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ระยะบ่มที่มาตรฐานคือประมาณ 22 – 28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15 – 20 วัน เท่านั้นก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ดจะเจริญลามอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจเกิดจากมีเชื้อราต่าง ๆ ขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสียลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกันควรคัดออกทิ้งไป
4. ศึกษาข้อมูล สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกเห็ด
จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอน ข้อมูลที่ได้ สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกเห็ด
อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปิดดอก ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะเจริญได้ดีที่สุด ความชื้นภายในโรงเพาะเห็ดควรมีไม่ต่ำกว่า 80 % ถ้าไม่มีความชำนาญในการสังเกตอาจใช้เครื่องมือวัดความชื้นที่เรียกว่า ไฮโดรมิเตอร์ แล้วนำตัวเลขที่เครื่องไปเปรียบเทียบกับตาราง ก็สามารถอ่านค่าของความชื้นได้ความชื้นมากเกินไป ทั้งความชื้นที่อยู่บนวัสดุเพาะหรือในอากาศ โดยเฉพาะในกรณีแรกย่อมมีผลในด้านการชะงักการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดคืออาจทำให้ขาดออกซิเจนได้ เส้นใยก็ไม่เจริญเติบโตหรือตายได้ทำนองเดียวกันกับที่ปล่อยให้แห้งเกินไปจนขาดน้ำสำหรับการละลายสารอาหารในก้อนเชื้อ
การถ่ายเทอากาศ เห็ดทุกชนิดในขณะที่กำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก เห็ดต้องการออกซิเจนสูงมากแต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนการขาดออกซิเจนได้ดีกว่าระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีโดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้มีการสะสมของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป ถ้ามีกาซนี้มากดอกเห็ดจะมีลักษณะลำต้นยืดยาว ดอกอาจหุบหรือไม่ยอมบานออก
แสง เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับแสงเลย เพราะมันไม่สามารถปรุงอาหารเองได้อย่างไรก็ตามแสงมีความจำเป็นต่อการทให้ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือเพื่อให้เกิดดอกเห็ดเร็วขึ้น เห็ดนางรม – นางฟ้า เมื่อได้รับแสงจะปล่อย สปอร์ จากดอกเห็ดได้ดีแต่ถ้าไม่ได้รับแสงก้านดอกจะยาวออกดอกเล็กและให้ผลผลิตต่ำ
ฤดูปลูก เห็ดนางรม – นางฟ้า ขึ้นได้ดีในหน้าฝนและหน้าหนาว แต่ไม่ควรหนาวจัดเกินไปฤดูปลูกเห็ดชนิดนี้ภาคกลางทำได้ทั้งปี ส่วนภาคเหนือและอีสานดีเฉพาะหน้าฝนหน้าร้อนผลผลิตจะลดลง ส่วนภาคใต้เพาะได้ตลอดปี เห็ดนางฟ้าภูฏานไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศมาก ถ้าอากาศเย็นดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมีสีเข้ม แต่ถ้าอากาศร้อนการออกดอกจะช้าลงและมีสีซีด
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
3. จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์การทำก้อนเชื้อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การถ่ายเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ เตรียมโรงเพาะเห็ด เตรียมแปลงเพาะเห็ด
5. กำหนดแผนการปฏิบัติงาน
6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน
7. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการกิจกรรม
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1
1.ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2
นอกเวลาเรียน
2
2.ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
2
นอกเวลา
3
3.จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4
นอกเวลา
4
4.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ เช่นวัสดุอุปกรณ์ทำก้อนเชื้อเห็ดการถ่ายเชื้อเห็ดลงวัสดุเพาะโรงเพาะเห็ด แปลงเพาะเห็ด
4
นอกเวลา
5-13
5.กำหนดแผนการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานตามขั้นตอน
12
นอกเวลา
14
6. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน
4
นอกเวลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้วงจรชีวิตเห็ดนางรม
2. ทราบความเหมาะสมของการเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือน
1. ได้ผลผลิตเห็ดนางรม
4. ได้ทักษะและประสบการณ์ การเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะและการเพาะในโรงเรือน



เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.
ความเห็นครูที่ปรึกษา
การทดลองเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเป็นความคิดริเริ่มที่ดี ถ้าการทดลองนี้ประสบความสำเร็จคาดว่าเกษตรกรจะนำไปเป็นแบบอย่างเพื่อเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากการที่เกษตรกรไม่นิยมเพาะเห็ดขายสาเหตุหนึ่งมาจากค่าใช้จ่ายในการสร้างโรงเพาะ เมื่อดำเนินการแล้วมีข้อสงสัยให้ปรึกษาครู
รายงานโครงงานเกษตรกรรม
ชื่อโครงงาน การทดลองเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือน
ชื่อผู้ทำโครงงาน

1. นางสาวจิรวรรณ ทองสุขนอก
2. นางสาวสุปราณี เอกบัว
3. นางสาวประภาภรณ์ เที่ยงกินรี
4. นายทศพร ดาผง

ชื่อครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานการทดลองเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือน
1. ศึกษาวงจรชีวิตเห็ดนางรม
2. ทดลองเพาะเห็ดนางรมลงแปลงเพาะเปรียบเทียบผลผลิตกับการเพาะในโรงเรือน
3. เสริมสร้าง ทักษะ ประสบการณ์เพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะกับในโรงเรือน
เห็ดนางรมเป็นเห็ดเพาะง่ายขึ้นได้ดีในสภาพแวดล้อมทั่ว ๆ ไปเพาะได้ตลอดปีปกติเพาะในโรงเรือน ผู้จัดทำโครงงานได้ทดลองเพาะในแปลงเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือนซึ่งจะเหมาะกับเกษตรกรที่เพาะไว้กินเองหรือเป็นอาชีพเสริม ทำให้ลดต้นทุนค่าโรงเรือนซึ่งได้ทดลองเพาะเห็ดนางรมชนิดละ 100 ก้อน
ผลการทดลองพบว่าผลผลิตไม่แตกต่างกันแต่เพาะในแปลงผลผลิตจะออกเร็วและหมดก่อนการเพาะในโรงเรือน การเพาะในแปลงการดูแลการจัดการต้องเอาใจใส่มากกว่าเพาะในโรงเรือนเพราะเกิดความเสียหายได้ง่าย
วิธีดำเนินการ
1. การเตรียมก้อนเชื้อเห็ด
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี กระดาษ ยางรัด ให้เพียงพอสำหรับการผลิตก้อนเชื้อเห็ด 200 ก้อน
2. ทำการผสมวัสดุเพาะเห็ดตามสัดส่วนดังนี้
สูตร ขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ก.ก. ( ไม่ต้องหมัก )
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะ 60 – 65 % ทดสอบโดยการใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่นแล้วสังเกต ถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วแสดงว่าเปียกไปให้เติมขี้เลื่อยแห้งลงไป ถ้าไม่มีน้ำซึมออกขี้เลื่อยรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 ใน 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือออกแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกัน เป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำอีก
3. บรรจุขี้เลื่อยลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดทุบให้แน่นพอประมาณใส่คอถุงแล้วปิดฝาถ้าไม่มีฝาปิด ใช้จุกสำลีอุดปิดทับด้วยกระดาษแล้วรัดยาง
4. ทำการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 100 ก้อน
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. วัสดุในการทำก้อนเชื้อเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ปูนขาว ยิปซั่ม ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ
2. อุปกรณ์ได้แก่ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี ยางรัด ถังนึ่งก้อนเชื้อเห็ด จอบ
ข้อควรระวัง
1. วัสดุเพาะเห็ดต้องใหม่และไม่เสื่อมคุณภาพ
2. อุปกรณ์ทุกชนิดต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ถังนึ่งฆ่าเชื้อ
3. ส่วนผสมวัสดุเพาะต้องไม่เปียกแฉะ ถ้าความชื้นมากเกินไปทำให้เส้นใยเห็ดไม่เดิน
4. การอัดวัสดุเพาะแน่นเกินไปทำให้ถุงแตกได้
5. การบรรจุวัสดุเพาะเห็ดลงถุงไม่แน่นทำให้เส้นใยเห็ดเดินไม่ดี

2. การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การนึ่งฆ่าเชื้อได้แก่ เตา ถังนึ่ง ชั้นวาง ถุงวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิดถัง ไม้ฟืน ถัง น้ำ
2. ใส่น้ำในถังนึ่ง 25 ซ.ม. แล้วใส่ชั้นวาง วางถุงวัสดุเพาะบนชั้นวางเป็นชั้น ๆ จนเต็มถังแล้วปิดฝาอย่าให้แน่นจนเกินไป ก่อนวางถุงวัสดุเพาะด้านในของถัง ต้องบุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน
3. ทำการก่อไฟโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือด เริ่มจับเวลาตั้งแต่น้ำเดือดเป็นไอพุ่งออกมา เป็นเวลา 3 ช.ม. ( อุณหภูมิ 100 เซลเซียส เป็นเวลา 3 ช.ม. )
4. เมื่อครบ 3 ช.ม. นำถุงวัสดุเพาะเห็ดออกวาง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีปล่อยให้เย็นเพื่อรอใส่เชื้อเห็ด ในรุ่งขึ้นต่อไป

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เตา ถังนึ่ง ชั้นวางวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิด ฟืน ถัง น้ำ
2. ถุงวัสดุเพาะเห็ด

ข้อควรระวัง
1. ห้ามปิดฝาถังแน่นเกินไปเพราะถ้าไอน้ำร้อนออกไม่ได้ทำให้ถังระเบิดได้
2. การจับเวลา 3 ช.ม. ต้องเริ่มจับตั้งแต่น้ำเดือดเป็นต้นไปและให้น้ำเดือดต่อเนื่อง
3. การใส่น้ำต้องให้ได้ 25 ซ.ม. เพราะน้ำเดือด 1 ช.ม. ปริมาณน้ำลดลงไป 5 ซ.ม.
4. ด้านในของถังต้องบุด้วยกระดาษให้หนา เพื่อป้องกันถุงวัสดุเพาะเปื่อยเนื่องจากความร้อน
3. การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ ขวดหัวเชื้อเห็ดนางรมที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง 10 ขวด ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ตะเกียงแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำลี
2. คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ เส้นใยสีขาวฟูเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง
ไม่มีราเขียว ราเหลือง ราแดงปะปน ไม่มีการรวมตัวของเส้นใยเห็ดเป็นก้อนหรือตุ่มดอก ขวดเชื้อเห็ดอยู่ในสภาพไม่สกปรก
3. ทำความสะอาดห้องต่อเชื้อนำถุงวัสดุเพาะเห็ดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว อุปกรณ์ทุกชิ้นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอร์ ปิดประตูหน้าต่างให้ห้อง อยู่ในสภาพอากาศนิ่ง
4. ใช้แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อที่มือช้อนตักทองเหลือง ดึงจุกสำลีขวดเชื้อเห็ดออก ลนไฟที่ปากขวดยกขึ้นเหนือเปลวไฟ ใช้ช้อนคนเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายกัน
5. เปิดฝาปิดถุงวัสดุเพาะเห็ดพร้อมกับหยอดหรือใช้ช้อนตักเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ลงถุงละ 20 – 30 เมล็ด ทำอย่างรวดเร็วแล้วปิดฝาถุงวัสดุเพาะเห็ด
6. ทำการเขี่ยเชื้อลงถุง 200 ถุง แล้วนำไปบ่มในที่สะอาดมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิ 23 – 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุงพร้อมเปิดดอก
7. บันทึกผลการเปลี่ยนแปลงก้อนเชื้อเห็ด





การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
เครื่องมือและอุปกรณ์

1. ขวดเชื้อเห็ดนางรม ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
2. ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ห้องต่อเชื้อ โรงเรือนบ่มเชื้อเห็ด
ข้อควรระวัง
1. เชื้อเห็ดที่ดีเส้นใยต้องไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ตุ่มดอก เส้นใยสีขาวฟู
2. เชื้อเห็ดที่มีราชนิดอื่นปะปน เมื่อนำมาเขี่ยเชื้อทำให้ก้อนเชื้อเห็ดที่ได้เสีย
3. ห้องต่อเชื้อสภาพอากาศต้องนิ่ง เพราะจุลินทรีย์จะมากับฝุ่นละอองในอากาศทุกขั้นตอนปฏิบัติงาน ต้องปลอดเชื้อ การบ่มเชื้อเห็ดต้องระวังไม่ให้ถูกแสงและมีอากาศถ่ายเทดี เชื้อเห็ดจึงเจริญเติบโตดี
2. การดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ดในโรงเรือน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1.หลังจากก้อนเชื้อเห็ดเดินเต็มถุงแล้วทำการเปิดปากถุงจัดวางตามแนวนอนบนชั้นวาง
3. เตรียมอุปกรณ์การให้น้ำ ได้แก่ กระบอกฉีดน้ำ ถังน้ำ น้ำ
2. การให้น้ำก้อนเชื้อเห็ดนางรม ต้องฉีดพ่นละอองน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ดวันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ ในโรงเรือน 80 %
4. ห้ามฉีดน้ำเข้าปากถุง ทำให้น้ำขังข้างในถุงได้ ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าเสีย
5. จัดเวรให้น้ำเห็ด
เครื่องมือ / อุปกรณ์
1. กระบอกฉีดน้ำ ถังน้ำ น้ำ ก้อนเชื้อเห็ดนางรม 2. โรงเรือนเพาะเห็ด
ข้อควรระวัง
1. ห้ามฉีดพ่นน้ำเข้าปากถุงก้อนเชื้อเห็ด ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าได้
5. การเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะ
1. เตรียมแปลงเพาะขนาด 1X 2 ม. ก่อนลงก้อนเชื้อเห็ด 1 เดือน โดยใช้เศษใบไม้แห้ง ฟาง ปุ๋ยคอก รองก้นแปลงหมักไว้ให้เกิดปุ๋ยหมัก
2. นำก้อนเชื้อเห็ดนางรมที่เส้นใยเห็ดเดินเต็มก้อนแล้วเอาถุงพลาสติกออกจัดเรียงลงแปลงเพาะใช้ฟางคลุมข้างบน ทำโครงไม้ไผ่ใช้ผ้าสแลนด์พลางแสง 80 % คลุมทับข้างบน
3. รดน้ำพอชื้นทุกวัน อย่าให้เปียกแฉะพร้อมสังเกตการเปลี่ยนแปลง
ผลการศึกษา
1. เห็ดนางรม 100 ก้อน เพาะในโรงเรือนสามารถเก็บดอกเห็ดได้ทุกวันมากน้อยแตกต่างกันไป หลังเปิดถุง 7 วัน แต่ละถุงสามารถให้ดอกเห็ดได้ทุก ๆ 7 – 10 วัน ระยะเวลา 2 เดือน ให้ผลผลิต 30 ก.ก. และยังสามารถเก็บดอกเห็ดได้อีกแต่ดอกเล็ก
2. เห็ดนางรม 100 ก้อน เพาะในแปลงหลังเพาะ 7 วันให้ผลผลิตรุ่นแรกดอกเห็ดสมบูรณ์มากขึ้นอย่างหนาแน่น รุ่นที่ 2 – 4 ให้ผลผลิตน้อยลง ระยะเวลา 45 วันให้ผลผลิต 4 รุ่น ได้ ผลผลิต 30 ก.ก. ส่วนรุ่นที่ 5 ดอกเห็ดไม่สมบูรณ์
3. การเพาะในแปลงควบคุมความชื้นโดยผ้าสแลนด์ที่คลุมด้านบนแต่ถ้าอากาศแห้งให้ใช้ฟางคลุมทับอีกเพื่อรักษาความชื้น
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. การเพาะเห็ดนางรมในแปลงเพาะเปรียบเทียบกับการเพาะในโรงเรือนให้ผลผลิตเท่ากัน
2. การเพาะเห็ดนางรมในแปลงให้ผลผลิตออกพร้อมกันเป็นรุ่น ๆ ประมาณ 4 รุ่นผลผลิตก็หมด แต่เพาะในโรงเรือนให้ผลผลิตไม่พร้อมกันเก็บได้นานหลายรุ่นมากกว่า 2 เดือน
3. การเพาะในโรงเรือนควบคุมสภาพแวดล้อมได้ง่ายกว่าเพาะในแปลง การเพาะในแปลงถ้ารดน้ำมากทำให้น้ำขังก้อนเห็ดเน่า ดอกเห็ดยุบตัว
4. เกษตรกรรายย่อยสามารถเลือกเพาะในแปลงได้เนื่องจากต้นทุนโรงเรือนไม่มี และสามารถวางแผนจำหน่ายเป็นรุ่น ๆ ได้
5. การเลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม
เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.

โครงงานการทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าวเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา


หมักฟางก่อนบรรจุถุงเพาะ



ก้อนเชื้อเห็ดจากฟางข้าว



เห็ดนางฟ้าเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา


เห็ดนางฟ้าเพาะจากฟางข้าว





โครงงานเกษตรกรรมประเภทศึกษาค้นคว้าทดลอง
ชื่อโครงงาน การทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้วัสดุฟางข้าวเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ชื่อผู้ทำโครงงาน

1. นางสาวอมรรัตน์ ศรีบูรา
2. นางสาวมุกดา ทองสถิต
3. นางสาวรสริน แดงดา
4. นายสมบูรณ์ แตงทรัพย์
ครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด
ความสำคัญของโครงงาน
เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่เพาะง่ายนิยมบริโภคตามธรรมชาติเห็ดนางฟ้าจะขึ้นได้ดีกับไม้เนื้ออ่อนที่ตายแล้วตามป่าเขตร้อนทั่วๆ ไป ต่อมาได้นำมาเพาะโดยใช้ท่อนไม้เนื้ออ่อน เมื่อไม้หาอยากได้พัฒนามาใช้ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนแทนเช่น ไม้ยางพารา ซึ่งได้ผลดีแต่ปัจจุบันขี้เลื่อยไม้ยางพารามีราคาแพงรถละ 18,000 บาท เนื่องจากอยู่ไกลแหล่งผลิต ผู้จัดทำโครงงานเห็นว่าในท้องถิ่นมีฟางข้าวจำนวนมากน่าจะนำมาเพาะเห็ดได้ จึงได้จัดทำโครงงานนี้
จุดประสงค์
1. ศึกษาวงจรชีวิตเห็ดนางฟ้า
2. ทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าวเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพื่อหาผลผลิตและปัญหาที่พบ
3. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์เพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าว
ข้อมูลวิชาการ
1. ศึกษาข้อมูลเห็ดนางฟ้า
จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้
วงจรชีวิตเห็ดนางฟ้าภูฏาน
เห็ดนางฟ้าภูฏาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus angustatus เป็นเห็ดหอยนางรมชนิดหนึ่งนำเชื้อเห็ดมาจากประเทศภูฏาน วงจรชีวิตจะเหมือนกับเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฏานมีการเพาะเลี้ยงเป็นธุรกิจ ทั่วประเทศ ยกเว้นฤดูหนาวทางภาคเหนือที่เห็ดไม่ออกดอก หมวกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 8 เซนติเมตร รูปกรวย รูปใบพาย หรือรูปพัด ผิวสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือม่วงอ่อน ผิวเรียบ เนื้อหมวกสีขาว ด้านล่าง มีครีบแคบและเรียวยาวลงไปจดก้าน ครีบสีขาวมีความยาวต่างกันเป็น 3 ระดับ ก้านอยู่ไม่กึ่งกลางดอก มักค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง ยาว 1 – 4 เซนติเมตร เส้นผ่าศุนย์กลาง 0.3 – 0.8 เซนติเมตร สีขาว โคนเรียวเล็ก ผิวเรียบแต่เป็นสันนูนและร่องเตี้ยๆ ยาวตลอดก้าน เนื้อในก้านสีขาวฟูนุ่ม สปอร์สีขาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขนาด 7 – 10 X 3 – 4 ไมโครเมตร เห็ดนางฟ้าภูฐานเกิดเป็นกลุ่ม มีโคนเชื่อมติดกันกลุ่มละ 3 – 10 ดอกบนขอนไม้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมนำมารับประทานมาก มีรสดี ขนาดดอกใหญ่ เพาะเลี้ยงง่าย
2. ศึกษาข้อมูลการทำก้อนเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
วัสดุที่ใช้เพาะเห็ด สามารถเพาะได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรที่มีอยู่มากมายหลายชนิด นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพาะได้ อาจใช้วัตถุดิบเดี่ยว ๆ หรืออาจใช้วัตถุดิบผสมกันหลาย ๆ อัตราส่วนเป็นวัสดุเพาะ เช่น ฟาง ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ไส้นุ่น เศษใบไม้ใบหญ้า
นอกจากนี้เราอาจเติมอาหารเสริมลงไปคลุกเคล้าผสมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น อาหารเสริมก็มี รำละเอียด รำหยาบ กากถั่วป่น ในอัตราประมาณ 3 – 10 % โดยน้ำหนัก
การเติมสารเคมีบางชนิดในรูปของเกลืออนินทรีย์ เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต ยิปซั่ม และปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต ลงไปในกองปุ๋ยหมักเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเห็ดนั้นแม้ว่าโดยหลักการแล้วเห็ดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แต่เมื่อเติมปุ๋ยเหล่านี้ลงไปในกองปุ๋ยหมักแล้วจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรียหลายชนิดจะเจริญได้ดีขึ้นและบางส่วนของปุ๋ยได้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุในตัวของแบคทีเรีย ซึ่งเห็ดสามารถนำไปใช้ได้ในภายหลัง
การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำก้อนเชื้อเห็ดมีดังต่อไปนี้
1. วัสดุเพาะ โดยทั่วไปจะใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน ฟางข้าว ชานอ้อย
1. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 12 นิ้ว หรือ ขนาด 8 x 12 นิ้ว
2. คอถุงพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ½ นิ้ว
4. สำลี ยางรัด
3. หม้อนึ่งเชื้อเห็ด
4. โรงเรือนบ่มเส้นใย
5. โรงเรือนเปิดดอก

สูตรอาหารก้อนเชื้อเห็ด สูตรที่ 1
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ( ไม่ต้องหมัก ) 100 ก.ก.
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะประมาณ 60 – 65 %
สูตรอาหารก้อนเชื้อเห็ด สูตรที่ 2
ฟางข้าว ( หมัก 1 คืน ) 100 ก.ก.
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะประมาณ 60 – 65 %
ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด
1. นำส่วนผสมข้างต้นผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมปรับความชื้นประมาณ 60 – 65 %
โดยการเติมน้ำลงไปพอประมาณ
2. ใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่น แล้วสังเกตว่าถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วมือแสดงว่าเปียกไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้ง ) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 – 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำ ลงไปอีก
3. เมื่อผสมคลุกเคล้าส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อนน้ำหนัก 8 – 10 ขีด บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดและทุบให้แน่นพอประมาณ ใส่คอถุง จุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษ รัดด้วยยาง
4. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา เซลเซียส ใช้เวลา 2 – 3 ชั่วโมง
5. นำถุงออกมาพักให้เย็นในที่สะอาด เปิดจุกสำลี ต่อเชื้อที่ต้องการลงไปตรงคอถุง
6. นำถุงเชื้อเห็ดไปบ่มไว้ในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก จนกระทั่งเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด
7. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว คัดเอาเฉพาะถุงที่ไม่มีการปนเปื้อน มาเปิดในโรงเรือนเปิดดอก เพื่อให้เกิดดอกเห็ดต่อไป ภายในโรงเรือนต้องสะอาด มีการถ่ายเทอากาศดี มีแสงสว่างพอสมควรและเก็บความชื้นได้ดีพอสมควร ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 70 % ขึ้นไป
การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะเห็ด
การสเตอริไรส์
การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อศัตรูเห็ดให้ตายหมดอย่างสิ้นเชิง ปกติจะใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้นไม่สามารถใช้หม้อนึ่งลูกทุ่งได้โดยนึ่งที่ความดันไอน้ำ 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว เวลา 15 นาที ขึ้นไป แต่ถ้าจำนวนก้อนเชื้อมีมาก ก็ต้องนึ่งใช้เวลานานกว่านี้ เช่น ถ้านึ่งขวดอาหารวุ้นใช้เวลา 15 นาที ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ถ้านึ่งหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างต้องใช้เวลา 25 – 30 นาที ที่ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว
การพาสเจอร์ไรส์
ในการเพาะเห็ดเราจะพาสเจอร์ไรส์อาหาร ปุ๋ยหมักหรือก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อและเห็ดอื่น ๆ ที่จะเป็นศัตรูต่อเห็ด ซึ่งรวมทั้งแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ในถุงวัสดุเพาะ โดยการใช้หม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งแบบดัดแปลงหรือหม้อนึ่งความดันแบบต่าง ๆ โดยการต้มน้ำให้เดือดขึ้นเป็นไอไปฆ่าเชื้อก้อนเชื้อที่วางไว้ด้านบน การฆ่าเชื้อจะใช้ความร้อน 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ชั่วโมง
หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง
หม้อนึ่งชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นเครื่องมืที่ราคาถูกทำขึ้นเองได้ นิยมใช้ถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร แต่หนากว่าและมีฝาแยกออกมาเป็นอิสระพร้อมเข็มขัดรัดฝา ใช้ยางหุ้มปากถังแทนประเก็นเพื่อให้สามารถปิดได้สนิท ตรงกลางฝาเจาะรูด้วยตะปูขนาด 3 นิ้ว เพื่อทำเป็นที่ระบายไอน้ำ ก้นถังทำเป็นตะแกรงรองวัสดุนึ่ง ให้สามารถยกเข้าออกได้สำหรับใช้วางก้อนเชื้อไม่ให้เปียกน้ำโดยทำให้สูงจากก้นถังประมาณ 20 ซ.ม.
การนึ่งก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันแบบทั่วไปคือ ใส่น้ำลงไปจนปริ่มตะแกรง แต่ก่อนนำก้อนเชื้อลงวางเรียงควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรอบ ๆ ขอบถังเสียก่อนเพื่อไม่ให้ถุงพลาสติกจากก้อนเชื้อละลายติดกับหม้อนึ่งเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด เมื่อวางก้อนเชื้อจนเต็มแล้วปิดฝาและรัดสายรัดให้แน่น ต้มน้ำให้เดือดจนไอน้ำพุ่งออกมาจากรูที่เจาะตรงกลางฝาอย่างสม่ำเสมอแล้วนึ่งไปนานประมาณ 3 ชั่วโมง เชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ทำความร้อนให้กับหม้อนึ่งชนิดนี้ อาจใช้ไม้ฟืนหรือแกลบก็ได้โดยการทำเตาแบบเตาเศรษฐกิจ การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดจำนวนมากต้องระมัดระวังและแน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง
หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป
3. ศึกษาข้อมูลการเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้
ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1. ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1.1 ต้องมีความบริสุทธิ์ในสายพันธุ์
1.2 เส้นใยเชื้อเห็ดเดินขาวเต็มขวด
1.3 เชื้อเห็ดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป
1.4 อาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดมีคุณภาพดีและเหมาะสม
1.5 ไม่มีเชื้อราอื่นปะปน
2. การเลือกซื้อเชื้อเห็ด
2.1 เชื้อเห็ดอยู่ในภาชนะที่สะอาดเหมาะสม สภาพเรียบร้อย
2.2 เชื้อเห็ดมีเส้นใยขาวฟูเดินเต็มขวด
2.3 เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ไม่มีเชื้อราอื่นเจือปน
2.4 เชื้อเห็ดไม่มีความชื้นมากเกินไปโดยดูจากน้ำที่เกิดขึ้นในภาชนะที่บรรจุ
2.5 อายุเหมาะสมในการนำไปเพาะไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป
การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงในถุงวัสดุเพาะ ( ถุงก้อนเชื้อ ) ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ยังถือว่าเป็นเพียงก้อนเชื้อเปล่า ๆ หรือเป็นเพียงถุงขี้เลื่อยธรรมดา เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เพาะเอาดอกได้ จนกว่าจะมีการนำเอาหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างที่ทำขึ้นหรือ ซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้เสียก่อน
หัวเชื้อที่ดีนั้น ควรเป็นหัวเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มขวดใหม่ ๆ ไม่มีเชื้อราสีต่าง ๆ ปน ไม่เป็น เชื้อแก่จนเส้นใยย่อยตัวเองเป็นน้ำสีเหลือง ตามปกติการถ่ายเชื้อจากขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างนั้น จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการแยกเนื้อเยื่อ หรือการถ่ายเชื้อจากวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟ่าง คือต้องปฏิบัติภายในตู้เขี่ยเชื้อ แต่เนื่องจากการทำก้อนเชื้อจำนวนมากอาจมีจำนวนหลายหลายร้อยหรือหลายพันก้อนต่อครั้ง ก้อนเชื้อยังมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมทำในตู้เขี่ยเชื้อและเชื่อว่าหัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างนั้นมีสภาพแวดล้อมของอาหารที่ใกล้เคียงกับเส้นใยเห็ดบนวัตถุธรรมชาติ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าที่เจริญบนวุ้น การถ่ายเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงในถุงก้อนเชื้อ จึงไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ เพียงแต่ควรเป็นที่สะอาดและลมสงบ ส่วนใหญ่จะทำในห้องกั้นพิเศษสำหรับเขี่ยเชื้อโดยตรงเพื่อที่จะป้องกันลมและรักษาความสะอาดได้ง่าย
การปฏิบัติ วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถวให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เปิดเอากระดาษที่หุ้มสำลีออก แต่ยังไม่ต้องเปิดจุกสำลีและระวังไม่ให้สำลีหลุดออกจากคอขวด ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำเอาขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่คัดเลือกไว้แล้ว ใช้มือเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายดีเสียก่อน ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ในช่วงนี้ถ้าเมล็ดข้าวฟ่างในขวดยังไม่ร่วน จะใช้ช้อนตักเข้าไปในขวดเพื่อเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างในขณะที่ปากขวดยังลนไฟอยู่ มืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10 – 20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ใช้กระดาษปิดทับรัดด้วยยาง เมื่อทำได้ 3 – 4 ถุงควรลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์อีกครั้งหัวเชื้อที่เปิดขวดออกมาแล้วควรใช้ให้หมดหากมีเหลือไม่ควรนำมาใช้ต่อไปอีก เพราะเชื้ออาจเสียได้ เฉลี่ยแล้วหัวเชื้อ 1 ขวด จะใช้เขี่ยเชื้อลงถุงได้ประมาณ 50 – 60 ถุง หรือบางแห่งอาจได้ 25 – 30 ก้อน ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญดีและเสียน้อย
การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลานานประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่นเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ มีรายงานจากบางฟาร์มว่าเห็ดนางรมในระยะบ่มเชื้อจะเจริญได้ดีในห้องที่ไม่มีลมโกรกและมีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้าภูฐานโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติ เห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ระยะบ่มที่มาตรฐานคือประมาณ 22 – 28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15 – 20 วัน เท่านั้นก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ดจะเจริญลามอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจเกิดจากมีเชื้อราต่าง ๆ ขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสียลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกันควรคัดออกทิ้งไป
4. ศึกษาข้อมูล สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกเห็ด
จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกเห็ด
อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปิดดอก ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะเจริญได้ดีที่สุด ความชื้นภายในโรงเพาะเห็ดควรมีไม่ต่ำกว่า 80 % ถ้าไม่มีความชำนาญในการสังเกตอาจใช้เครื่องมือวัดความชื้นที่เรียกว่า ไฮโดรมิเตอร์ แล้วนำตัวเลขที่เครื่องไปเปรียบเทียบกับตาราง ก็สามารถอ่านค่าของความชื้นได้ความชื้นมากเกินไป ทั้งความชื้นที่อยู่บนวัสดุเพาะหรือในอากาศ โดยเฉพาะในกรณีแรกย่อมมีผลในด้านการชะงักการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดคืออาจทำให้ขาดออกซิเจนได้ เส้นใยก็ไม่เจริญเติบโตหรือตายได้ทำนองเดียวกันกับที่ปล่อยให้แห้งเกินไปจนขาดน้ำสำหรับการละลายสารอาหารในก้อนเชื้อ
การถ่ายเทอากาศ เห็ดทุกชนิดในขณะที่กำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก เห็ดต้องการออกซิเจนสูงมากแต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนการขาดออกซิเจนได้ดีกว่าระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีโดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้มีการสะสมของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป ถ้ามีกาซนี้มากดอกเห็ดจะมีลักษณะลำต้นยืดยาว ดอกอาจหุบหรือไม่ยอมบานออก
แสง เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับแสงเลย เพราะมันไม่สามารถปรุงอาหารเองได้อย่างไรก็ตามแสงมีความจำเป็นต่อการทให้ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือเพื่อให้เกิดดอกเห็ดเร็วขึ้น เห็ดนางรม – นางฟ้า เมื่อได้รับแสงจะปล่อย สปอร์ จากดอกเห็ดได้ดีแต่ถ้าไม่ได้รับแสงก้านดอกจะยาวออกดอกเล็กและให้ผลผลิตต่ำ
ฤดูปลูก เห็ดนางรม – นางฟ้า ขึ้นได้ดีในหน้าฝนและหน้าหนาว แต่ไม่ควรหนาวจัดเกินไปฤดูปลูกเห็ดชนิดนี้ภาคกลางทำได้ทั้งปี ส่วนภาคเหนือและอีสานดีเฉพาะหน้าฝนหน้าร้อนผลผลิตจะลดลง ส่วนภาคใต้เพาะได้ตลอดปี เห็ดนางฟ้าภูฏานไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศมาก ถ้าอากาศเย็นดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมีสีเข้ม แต่ถ้าอากาศร้อนการออกดอกจะช้าลงและมีสีซีด
วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
3. จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์การทำก้อนเชื้อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การถ่ายเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ เตรียมโรงเพาะเห็ด
5. กำหนดแผนการปฏิบัติงาน
6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน
7. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน



แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการกิจกรรม
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1
1.ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2
นอกเวลาเรียน
2
2.ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
2
นอกเวลา
2
3.จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4
นอกเวลา
3
4.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์ทำก้อนเชื้อเห็ด การถ่ายเชื้อเห็ดลงวัสดุเพาะ โรงเพาะเห็ด
4
นอกเวลา
4 - 15
5.กำหนดแผนการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานตามขั้นตอน
14
นอกเวลา
16
6. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน
4
นอกเวลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้วงจรชีวิตเห็ดนางฟ้า
2. ข้อมูลความเหมาะสมของการใช้ฟางข้าวเพาะเห็ดนางฟ้าแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา
3. ได้ทักษะและประสบการณ์ การเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าวแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา
4. ได้รับความชื่นชมจากครูและผู้ปกครอง
เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.
ความเห็นครูที่ปรึกษา
การทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าวเป็นเรื่องที่น่าสนใจเนื่องจากในท้องถิ่นมีฟางที่ได้จากการทำนาเป็นจำนวนมาก ถ้าสามารถเพาะเห็ดได้จะเป็นการเพิ่มมูลค่าของฟางข้าว ชาวบ้านจะได้มีอาชีพเสริมหลังการทำนาและเป็นการนำหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าที่ได้จากภาคเรียนที่แล้วมาเพาะให้เกิดดอกเห็ดด้วย เมื่อนักเรียนมีข้อสงสัยให้ปรึกษาครู

รายงานโครงงานเกษตรกรรม
ชื่อโครงงาน การทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้วัสดุฟางข้าวเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ชื่อผู้ทำโครงงาน
1. นางสาวอมรรัตน์ ศรีบูรา
2. นางสาวมุกดา ทองสถิต
3. นางสาวรสริน แดงดา
4. นายสมบูรณ์ แตงทรัพย์
ชื่อครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด
บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานการทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้วัสดุฟางข้าวเปรียบเทียบกับ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา
1. ศึกษาวงจรชีวิตเห็ดนางฟ้า
2. ทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าวเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพื่อหาผลผลิตและปัญหาที่พบ
3. เสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ การเพาะเห็ดนางฟ้าโดยใช้ฟางข้าว
เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดเพาะง่ายนิยมบริโภคโดยทั่วไปการเพาะเห็ดใช้วัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา แต่ในท้องถิ่นอำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ ไม่มีขี้เลื่อยดังกล่าวต้องซื้อแต่ราคาแพงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ผู้จัดทำโครงงานเห็นว่าในท้องถิ่นมีฟางข้าวมากไม่มีการซื้อขายชาวบ้านเผาทิ้ง จึงนำมาทดลองเพาะเห็ดนางฟ้าเปรียบเทียบกับขี้เลื่อยไม้ยางพาราโดยทดลองเพาะชนิดละ 100 ก้อน ใช้สูตรผสมเดียวกันแต่แตกต่างกันที่วัสดุ ( ฟางหรือขี้เลื่อย ) แล้วเก็บข้อมูลผลผลิต 2 เดือน จากการทดลองพบว่า วัสดุเพาะที่ใช้ฟางข้าว 100 ก้อน ระยะเวลา 2 เดือนให้ผลผลิต 20 ก.ก. วัสดุเพาะที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ก้อน ระยะเวลา 2 เดือน ให้ผลผลิต 30 ก.ก. อายุการเก็บผลผลิตก้อนเชื้อเห็ดที่ทำจากขี้เลื่อยให้ผลผลิตที่นานกว่า
วิธีดำเนินการ
1. การเตรียมก้อนเชื้อเห็ด
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ฟางข้าว รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี กระดาษ ยางรัด ให้เพียงพอสำหรับการผลิตก้อนเชื้อเห็ด 100 ก้อน
2. ทำการผสมวัสดุเพาะเห็ดตามสัดส่วนดังนี้
สูตรที่ 1 ขี้เลื่อยไม้ยางพารา
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ก.ก. ( ไม่ต้องหมัก )
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
สูตรที่ 2 ฟางข้าว
ฟางข้าว 100 ก.ก. ( หมัก 1 คืน )
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะ 60 – 65 % ทดสอบโดยการใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่นแล้วสังเกต ถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วแสดงว่าเปียกไปให้เติมขี้เลื่อยแห้งลงไป ถ้าไม่มีน้ำซึมออกขี้เลื่อยรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 ใน 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือออกแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกัน เป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำอีก
3. บรรจุขี้เลื่อยลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดทุบให้แน่นพอประมาณใส่คอถุงแล้วปิดฝาถ้าไม่มีฝาปิด ใช้จุกสำลีอุดปิดทับด้วยกระดาษแล้วรัดยาง
4. ทำการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 100 ก้อน
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. วัสดุในการทำก้อนเชื้อเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ปูนขาว ยิปซั่ม ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ
2. อุปกรณ์ได้แก่ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี ยางรัด ถังนึ่งก้อนเชื้อเห็ด จอบ
ข้อควรระวัง
1. วัสดุเพาะเห็ดต้องใหม่และไม่เสื่อมคุณภาพ
2. อุปกรณ์ทุกชนิดต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ถังนึ่งฆ่าเชื้อ
3. ส่วนผสมวัสดุเพาะต้องไม่เปียกแฉะ ถ้าความชื้นมากเกินไปทำให้เส้นใยเห็ดไม่เดิน
4. การอัดวัสดุเพาะแน่นเกินไปทำให้ถุงแตกได้
5. การบรรจุวัสดุเพาะเห็ดลงถุงไม่แน่นทำให้เส้นใยเห็ดเดินไม่ดี

2. การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การนึ่งฆ่าเชื้อได้แก่ เตา ถังนึ่ง ชั้นวาง ถุงวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิดถัง ไม้ฟืน ถัง น้ำ
2. ใส่น้ำในถังนึ่ง 25 ซ.ม. แล้วใส่ชั้นวาง วางถุงวัสดุเพาะบนชั้นวางเป็นชั้น ๆ จนเต็มถังแล้วปิดฝาอย่าให้แน่นจนเกินไป ก่อนวางถุงวัสดุเพาะด้านในของถัง ต้องบุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน
3. ทำการก่อไฟโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือด เริ่มจับเวลาตั้งแต่น้ำเดือดเป็นไอพุ่งออกมา เป็นเวลา 3 ช.ม. ( อุณหภูมิ 100 เซลเซียส เป็นเวลา 3 ช.ม. )
4. เมื่อครบ 3 ช.ม. นำถุงวัสดุเพาะเห็ดออกวาง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีปล่อยให้เย็นเพื่อรอใส่เชื้อเห็ด ในรุ่งขึ้นต่อไป

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เตา ถังนึ่ง ชั้นวางวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิด ฟืน ถัง น้ำ
2. ถุงวัสดุเพาะเห็ด

ข้อควรระวัง
1. ห้ามปิดฝาถังแน่นเกินไปเพราะถ้าไอน้ำร้อนออกไม่ได้ทำให้ถังระเบิดได้
2. การจับเวลา 3 ช.ม. ต้องเริ่มจับตั้งแต่น้ำเดือดเป็นต้นไปและให้น้ำเดือดต่อเนื่อง
3. การใส่น้ำต้องให้ได้ 25 ซ.ม. เพราะน้ำเดือด 1 ช.ม. ปริมาณน้ำลดลงไป 5 ซ.ม.
4. ด้านในของถังต้องบุด้วยกระดาษให้หนา เพื่อป้องกันถุงวัสดุเพาะเปื่อยเนื่องจากความร้อน
3. การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ ขวดหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง 10 ขวด ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ตะเกียงแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำลี
2. คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ เส้นใยสีขาวฟูเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง
ไม่มีราเขียว ราเหลือง ราแดงปะปน ไม่มีการรวมตัวของเส้นใยเห็ดเป็นก้อนหรือตุ่มดอก ขวดเชื้อเห็ดอยู่ในสภาพไม่สกปรก
3. ทำความสะอาดห้องต่อเชื้อนำถุงวัสดุเพาะเห็ดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว อุปกรณ์ทุกชิ้นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอร์ ปิดประตูหน้าต่างให้ห้อง อยู่ในสภาพอากาศนิ่ง
4. ใช้แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อที่มือช้อนตักทองเหลือง ดึงจุกสำลีขวดเชื้อเห็ดออก ลนไฟที่ปากขวดยกขึ้นเหนือเปลวไฟ ใช้ช้อนคนเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายกัน
5. เปิดฝาปิดถุงวัสดุเพาะเห็ดพร้อมกับหยอดหรือใช้ช้อนตักเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ลงถุงละ 20 – 30 เมล็ด ทำอย่างรวดเร็วแล้วปิดฝาถุงวัสดุเพาะเห็ด
6. ทำการเขี่ยเชื้อลงถุง 200 ถุง ก้อนวัสดุฟาง 100 ก้อน ก้อนวัสดุขี้เลื่อย 100 ก้อน แล้วนำไปบ่มในที่สะอาดมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิ 23 – 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 21 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุงพร้อมเปิดดอก
7. บันทึกผลการเปลี่ยนแปลงก้อนเชื้อเห็ดในวันที่ 21
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ขวดเชื้อเห็ดนางฟ้า ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
2. ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ห้องต่อเชื้อ โรงเรือนบ่มเชื้อเห็ด
ข้อควรระวัง
1. เชื้อเห็ดที่ดีเส้นใยต้องไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ตุ่มดอก เส้นใยสีขาวฟู
2. เชื้อเห็ดที่มีราชนิดอื่นปะปน เมื่อนำมาเขี่ยเชื้อทำให้ก้อนเชื้อเห็ดที่ได้เสีย
3. ห้องต่อเชื้อสภาพอากาศต้องนิ่ง เพราะจุลินทรีย์จะมากับฝุ่นละอองในอากาศทุกขั้นตอนปฏิบัติงาน ต้องปลอดเชื้อ การบ่มเชื้อเห็ดต้องระวังไม่ให้ถูกแสงและมีอากาศถ่ายเทดี เชื้อเห็ดจึงเจริญเติบโตดี
4. การดูแลรักษาก้อนเชื้อเห็ด
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน

1. ก้อนเชื้อเห็ดเมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้วทำการเปิดปากถุงจัดวางก้อนเห็ดตามแนวนอนที่ชั้นวางชนิด 100 ก้อน
2. เตรียมอุปกรณ์การให้น้ำ ได้แก่ กระบอกฉีดน้ำ ถังน้ำ น้ำ
3. การให้น้ำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า ต้องฉีดพ่นละอองน้ำในโรงเรือนเพาะเห็ดวันละ 3 ครั้ง เช้า เที่ยง เย็น ให้มีความชื้นสัมพัทธ์ ในโรงเรือน 80 %
4. ห้ามฉีดน้ำเข้าปากถุง ทำให้น้ำขังข้างในถุงได้ ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าเสีย
5. จัดเวรให้น้ำเห็ด
เครื่องมือ / อุปกรณ์
1. กระบอกฉีดน้ำ ถังน้ำ น้ำ ก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้า 2. โรงเรือนเพาะเห็ด
ข้อควรระวัง
1. ห้ามฉีดพ่นน้ำเข้าปากถุงก้อนเชื้อเห็ด ทำให้ก้อนเชื้อเห็ดเน่าได้
ผลการศึกษา
1. การเตรียมวัสดุและบรรจุถุงสูตรใช้ขี้เลื่อยทำได้สะดวกรวดเร็ว ใช้ฟางข้าวบรรจุถุงทำได้ช้า การผสมรำ ปูนขาว ยิปซั่ม ทำได้ลำบากเนื่องจากฟางเป็นเส้นยาว
2. การเดินของเส้นใยเห็ดหลังใส่เชื้อเห็ด วัสดุที่เป็นขี้เลื่อยเส้นใยเดินสม่ำเสมอ ก้อนเชื้อที่ใช้ฟางข้าวเส้นใยเดินไม่สม่ำเสมอส่วนถุงที่บรรจุอัดแน่นเส้นใยจะเดินเป็นปกติดี
3. เมื่อเส้นใยเดินเต็มก้อนพร้อมเปิดดอกนำเข้าโรงเรือนเปิดดอก สภาพแวดล้อมเดียวกันพบว่า เวลา 2 เดือน ก้อนเห็ดที่ใช้ขี้เลื่อย 100 ก้อน ให้ผลผลิต 30 ก.ก. ส่วนก้อนเห็ดที่ใช้ฟาง ข้าว 100 ก้อน ให้ผลผลิต 20 ก.ก.
4. ระยะเวลาให้ดอกเห็ดก้อนเห็ดที่ใช้ฟางข้าวเก็บดอกได้ 40 วัน ส่วนก้อนเห็ดที่ใช้ขี้เลื่อยสามารถเก็บได้ 60 วัน
สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ผลผลิตเห็ดนางฟ้าจากการเพาะโดยใช้วัสดุฟางข้าว ก้อนเชื้อเห็ด 1 ก้อน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 200 กรัม จากการเพาะโดยใช้วัสดุขี้เลื่อยไม้ยางพารา ก้อนเชื้อเห็ด 1 ก้อน ให้ผลผลิตเฉลี่ย 300 กรัม
2. ระยะเวลาให้ผลผลิตของก้อนเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อที่ใช้วัสดุขี้เลื่อยจะให้ผลผลิตยาวนานกว่าก้อนเชื้อที่ใช้ฟางข้าว
3. ฟางข้าวเป็นวัสดุเพาะเห็ดที่เหมาะสมของท้องถิ่นใช้แทนขี้เลื่อยเพาะเห็ดนางฟ้าได้ เนื่องจากไม่ได้ซื้อทำให้ต้นทุนน้อย ชาวบ้านสามารถใช้เพาะเห็ดไว้บริโภคหรือเป็นอาชีพเสริมได้โดยรับบริการหัวเชื้อเห็ดจากทางโรงเรียน
4. ควรมีการพัฒนาเครื่องอัดฟางบรรจุถุงเพาะซึ่งจะทำให้ก้อนเชื้อแน่นส่งผลให้เก็บผลผลิตได้นานขึ้น



เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

โครงงานการผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า



ดอกเห็ดนางฟ้าที่มีอายุพร้อมเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ





อาหารวุ้น PDA.





การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อทำในสภาพปลอดเชื้อ








เชื้อเห็ดนางฟ้าบริสุทธิ์เลี้ยงในอาหารวุ้น PDA.




หัวเชื้อเห็ดนางฟ้า



โครงงานเกษตรกรรมประเภทพัฒนาผลงาน
ชื่อโครงงาน การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า


ชื่อผู้ทำโครงงาน

1. นางสาวจินตรา บวงขุนทด
2. นางสาวนันทิยา ชาหนองแวง
3. นายสิทธิศักดิ์ โกสุม

ครูที่ปรึกษาโครงงาน นายอนันท์ กล้ารอด


ความสำคัญของโครงงาน
เห็ดนางฟ้าเป็นเห็ดที่นิยมบริโภค ใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดรสชาติดี ราคาไม่แพงมากนัก การเพาะทำได้ง่ายทำได้ทั้งปีเป็นพื้นฐานของการเพาะเห็ดชนิดต่าง ๆ ที่ทำได้ยาก สามารถใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่นเพาะได้เช่น ฟางข้าว ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนทั่ว ๆ ไป แต่ในท้องถิ่นไม่มีแหล่งจำหน่ายหัวเชื้อเห็ดนางฟ้าต้องไปซื้อที่ อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ คณะผู้จัดทำจึงได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าในอาหารวุ้นเพาะเลี้ยง จนได้เชื้อเห็ดบริสุทธิ์แล้วนำไปเลี้ยงต่อในเมล็ดข้าวฟ่างเพื่อผลิตหัวเชื้อ

จุดประสงค์
1. เพื่อศึกษาวิธีการผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า
2. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
3. ผลิตหัวเชื้อเห็ดนางฟ้า 50 ขวด เพื่อบริการนักเรียนที่เรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม
4. เพื่อสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการทำงานเป็นกลุ่ม


ข้อมูลวิชาการ
1. ศึกษาข้อมูลเห็ดนางฟ้า จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้
วงจรชีวิตเห็ดนางฟ้าภูฏาน
เห็ดนางฟ้าภูฏาน ชื่อวิทยาศาสตร์ Pleurotus angustatus เป็นเห็ดหอยนางรมชนิดหนึ่งนำเชื้อเห็ดมาจากประเทศภูฏาน วงจรชีวิตจะเหมือนกับเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้าภูฏานมีการเพาะเลี้ยงเป็นธุรกิจ ทั่วประเทศ ยกเว้นฤดูหนาวทางภาคเหนือที่เห็ดไม่ออกดอก หมวกมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 8 เซนติเมตร รูปกรวย รูปใบพาย หรือรูปพัด ผิวสีน้ำตาลอ่อนอมเทาหรือม่วงอ่อน ผิวเรียบ เนื่อหมวกสีขาว ด้านล่าง มีครีบแคบและเรียวยาวลงไปจดก้าน ครีบสีขาวมีความยาวต่างกันเป็น 3 ระดับ ก้านอยู่ไม่กึ่งกลางดอก มักค่อนไปด้านใดด้านหนึ่ง ยาว 1 – 4 เซนติเมตร เส้นผ่าศุนย์กลาง 0.3 – 0.8 เซนติเมตร สีขาว โคนเรียวเล็ก ผิวเรียบแต่เป็นสันนูนและร่องเตี้ยๆ ยาวตลอดก้าน เนื้อในก้านสีขาวฟูนุ่ม สปอร์สีขาว ผิวเรียบ ผนังบาง ขนาด 7 – 10 X 3 – 4 ไมโครเมตร เห็ดนางฟ้าภูฐานเกิดเป็นกลุ่ม มีโคนเชื่อมติดกันกลุ่มละ 3 – 10 ดอกบนขอนไม้ เป็นเห็ดที่มีผู้นิยมนำมารับประทานมาก มีรสดี ขนาดดอกใหญ่ เพาะเลี้ยงง่าย
2. ศึกษาข้อมูลการเตรียมอาหารวุ้นสำหรับเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้

วิธีการเตรียมอาหารวุ้น PDA.
การเตรียมอาหารวุ้น PDA สูตรอาหารที่ใช้กันมากคือ อาหารวุ้น PDA (Potato Dextrose Agar PDA) ซึ่งสามารถเตรียมได้ง่ายและมีราคาถูก มีส่วนผสมดังนี้
มันฝรั่งปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ 200 กรัม
น้ำตาลกลูโคสหรือเดกซ์โทรส 20 กรัม
วุ้นผง 15 – 20 กรัม
น้ำกลั่นหรือน้ำฝน 1,000 กรัม
สำหรับมันฝรั่งอาจเปลี่ยนเป็นอย่างอื่นแทนได้ เช่น เมล็ดข้าว ผักต่างๆ ถั่วฝักยาว น้ำต้มผัก ข้อสำคัญส่วนผสมที่นำมาใช้เมื่อเวลาต้มไฟอ่อนๆ แล้วจะไม่ขุ่นหรือเปื่อยเละไปก่อน
1. มันฝรั่งปอกเปลือกหั่นเป็นชิ้นเล็กขนาด 1 X 1 X 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร ชั่งให้ได้น้ำหนัก 200 กรัม
2. นำมันฝรั่งไปต้มไฟอ่อน ๆ กับน้ำที่ตวงไว้ 1,000 ซีซี. ( 1 ลิตร ) เป็นเวลา 20 นาที อย่าใช้ไฟแรงจะทำให้น้ำต้มมันฝรั่งขุ่น
3. กรองเอาแต่น้ำใสมาใส่วุ้นผงที่ชั่งไว้ 15 กรัม ตั้งไฟอ่อน ๆ คอยคนอยู่เรื่อย ๆ จนวุ้นละลายใช้เวลาประมาณ 20 นาที แล้วแต่ชนิดของวุ้นที่ละลายเร็ว หรือละลายช้า ในการละลายวุ้นระวังอย่าให้ไหม้หรือวุ้นเดือดออกนอกหม้อ
4. ใส่น้ำตาลกลูโคสที่ชั่งไว้ 20 กรัม คนให้น้ำตาลละลาย ยกลงจากไฟ
5. ใช้กระบอกตวงดูถ้าปริมาณไม่ถึง 1 ลิตร ให้เติมน้ำร้อนหรือน้ำอุ่นลงไปจนครบ 1 ลิตร แล้วคนให้ทั่ว อาหารที่ผสมแล้วควรจะวัดค่าความเป็นกรดด่างของอาหาร เพื่อให้อาหารวุ้นมีค่า pH ประมาณ 5 – 6 ก่อนที่จะนำไปบรรจุหลอดแก้วทดลองหรือขวดแบน
6. กรอกวุ้นที่ได้ใส่หลอดหรือใส่ขวด อย่าให้วุ้นเปื้อนปากหลอดหรือปากขวดเอาสำลีอุดจุกแล้วเอากระดาษหุ้มมัดยางให้แน่น
7. นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ใช้เวลา 20 นาที
8. เสร็จแล้วนำออกมาทิ้งไว้ประมาณว่าวุ้นเกือบแข็งตัว ก็นำหลอดหรือขวดมาเอียงเพื่อเพิ่มเนื้อที่ผิวอย่าเอียงเร็วเกินไปเพาะจะทำให้มีหยดน้ำเกาะที่ผิววุ้นและข้างหลอดหรือข้างขวดมากเกินไป
3. ศึกษาข้อมูลการเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ในอาหารวุ้น จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้

ความหมายของการแยกเชื้อเห็ด
การแยกเชื้อเห็ดคือ การนำเอาดอกเห็ดหรือสปอร์มาเพาะให้เห็ดเจริญขึ้นเป็นเส้นใยเพื่อใช้ขยายพันธุ์ไปทำหัวเชื้อต่อไป งานในขั้นนี้จะเลี้ยงเส้นใยเห็ดบนวุ้น PDA. การแยกเชื้อเห็ดสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากสปอร์ วิธีนี้นิยมทำกันเฉพาะนักวิชาการที่ต้องการศึกษาสายพันธุ์เห็ด
และการผสมพันธุ์ โดยการแยกสปอร์เดี่ยวบนอาหารวุ้น โดยเฉพาะเห็ดที่มีดอกบาง เช่น เห็ดหูหนู ไม่นิยมทำกันในระดับฟาร์มหรือเกษตรกร
2. การแยกเชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อ ซึ่งทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อเยื่อในลำต้นเห็ดมาเลี้ยงบน อาหารวุ้น เรียกว่า วิธี “ทิชชูคัลเจอร์” ใช้กับเห็ดดอกขนาดใหญ่ และสามารถตัดเนื้อเยื่อมาเลี้ยงได้ง่ายเหมาะกับเห็ดนางรม - เห็ดนางฟ้า เป็นวิธีที่นิยมทำกันมากและได้ผลตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ

อุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกเชื้อเห็ด
1. เข็มเขี่ยเชื้อ ทำด้วยโลหะผสม ซึ่งมีคุณสมบัติที่ร้อนเร็ว เย็นเร็ว ด้ามทำด้วยอลูมิเนียม เวลาใช้ต้องฆ่าเชื้อเสียก่อน โดยการลนไฟที่ปลายลวดเข็มเขี่ยเชื้อจนร้อนแดง แล้วทิ้งไว้ให้เย็นก่อนนำไปตัดเนื้อเยื่อจากดอกเห็ด
2. ตะเกียงแอลกอฮอล์ ใช้สำหรับลนไฟฆ่าเชื้อเข็มเขี่ยและเครื่องมือในการปฏิบัติงานให้สะอาดโดยใช้เชื้อเพลิงแอลกอฮอล์ เพราะร้อนเร็วไม่มีควัน
3. ตู้เขี่ยเชื้อ เป็นตู้ที่สร้างขึ้นมาสำหรับงานด้านนี้โดยเฉพาะลักษณะของตู้เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าทึบ ด้านหน้าตัดเป็นรูปคางหมูและติดกระจกให้สามารถมองเห็นสิ่งของและปฏิบัติงานภายในได้ มีช่องตรงกลางทำเป็นประตูเปิดปิดสำหรับยกขวดเชื้อเข้าออก ด้านข้างของประตูทั้งสองเจาะรูสำหรับใช้มือล้วงเข้าไปปฏิบัติงานในตู้ได้ โดยมีผ้าทำเป็นปลอกสำหรับหุ้มมือ ป้องกันลมภายนอกพัดเข้ามาภายใน
เวลาใช้ก็ยกสิ่งของต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าไปไว้ภายในแล้วปิดช่องเสียไม่ให้ลมพัดเข้าไป แต่ด้านบนของตู้ควรมีช่องให้อากาศหรือลมร้อนระบายออกได้เล็กน้อย ก่อนใช้งานจะต้องเช็ดตู้ฆ่าเชื้อภายในให้ทั่วด้วยแอลกอฮอล์เสียก่อน บางทีอาจใช้หลอดไฟอุลตร้าไวโอเล็ตมาติดภายในตู้เวลาไม่ได้ใช้งาน ก็เป็นการฆ่าเชื้อในตู้นี้ได้อีกมาก แต่ไม่ค่อยนิยมในระดับฟาร์มเห็ดทั่วไปนักเพราะอาจมีอันตรายได้
การเพาะเลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์จากเนื้อเยื่อภายในก้านดอก

วิธีนี้เหมาะสำหรับเห็ดที่มีก้านใหญ่ และเห็ดที่ไม่มีเปลือกหุ้มดอกอ่อน เช่น เห็ดตับเต่าขาว เห็ดตีนแรด ซึ่งเป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่มาก เห็ดบางชนิดมีก้านดอกใหญ่ก็จริง แต่ภายในก้านดอกจะมีแมลงเข้าไปเจาะไชกินจนพรุนก็ไม่ควรใช้วิธีนี้ เห็ดฟางเพาะเลี้ยงด้วยวิธีการนี้ก็ได้ผลดีและนิยมทำกันมาก วิธีทำเมื่อคัดเลือกดอกเห็ดตามลักษณะที่ต้องการแล้ว วางในจานแก้ว ใช้มีดที่ฆ่าเชื้อแล้วผ่าเห็ดเป็น 2 ส่วน ใช้ เข็มเขี่ยเชื้อที่ฆ่าเชื้อแล้วกรีดเนื้อเห็ดตรงกลางก้านดอก เป็นชิ้นเล็ก ๆ แล้วตักขึ้นถ่ายใส่จานอาหารหรือ ขวดอาหารสำหรับเพาะเลี้ยงเชื้อ ข้อควรระวังคือความสะอาด ทุกครั้งต้องใช้เข็มเขี่ยเชื้อที่บริสุทธิ์จริง ๆ
4. ศึกษาข้อมูลการทำหัวเชื้อเห็ด จากใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด ครูผู้สอนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ข้อมูลที่ได้

การเลี้ยงเชื้อเห็ดกับเมล็ดข้าวฟ่าง

หัวเชื้อเห็ดเป็นสิ่งจำเป็นในการเพาะเห็ดทุกชนิด ธุรกิจเชื้อเห็ดนอกจากจะมีการทำก้อนเชื้อเห็ดขาย
การเพาะให้เกิดดอก อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญคือการผลิตหัวเชื้อเห็ดขาย เมื่อมีการผลิตก้อนเชื้อมากเท่าใดจำนวนหัวเชื้อเห็ดก็ต้องมีการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย
การทำหัวเชื้อเห็ดมีขั้นตอนที่ง่ายขึ้นกว่าการเพาะเนื้อเยื่อ โอกาสที่เชื้อจะเสียมีน้อยลงเพราะเส้นใยเห็ดเริ่มอยู่ในสภาพที่ใกล้เคียงกับวัสดุหมักในธรรมชาติมากขึ้น วัสดุที่จะนำมาใช้ทำหัวเชื้อเห็ดส่วนใหญ่คือเมล็ดพืช ซึ่งเป็นวัสดุที่หาง่าย เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง เมล็ดข้าวโพด เมล็ดข้าวเปลือก แต่ที่นิยมและเป็นที่ยอมรับในปัจจุบันคือเมล็ดข้าวฟ่างเท่านั้น

ขั้นตอนการปฏิบัติการผลิตหัวเชื้อเห็ด
นำเมล็ดข้าวฟ่างมาต้มจนสุกนิ่มพอดีอย่าให้ถึงกับเละ เพราะถ้าเละมากเมื่อกรอกใส่ขวดมักจะเกิดการแฉะก้นขวด และมีโอกาสที่เชื้อราต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อต้มจนสุกพอดีและได้จำนวนตามที่ต้องการแล้ว
จึงนำไปใส่ตระแกรงกรองเอาน้ำออกให้หมด ถ้าหากเมล็ดข้าวฟ่างแฉะมากควรเกลี่ยกระจายผึ่งแดดพอแห้ง ก่อนนำมากรอกใส่ขวด หากนำเอาขี้เลื่อยที่แห้งสนิทและร่อนแล้วจำนวนเล็กน้อยค่อย ๆ ผสมลงไปคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วร่อนเอาขี้เลื่อยออกครั้งหนึ่งก่อนกรอกลงขวด ก็จะทำให้เมล็ดข้าวฟ่างกรอกลงขวดได้ง่ายขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหาเมล็ดข้าวฟ่างแฉะได้อีกด้วย อย่างไรก็ตามหากมีความชำนาญในการต้มเมล็ดข้าวฟ่างแล้วก็ไม่จำเป็นต้องใช้ขี้เลื่อยผสมเลยก็ได้ ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันหัวเชื้อเห็ดไม่นิยมผสมขี้เลื่อยมักใช้เมล็ดข้าวฟ่างล้วน ๆ
การกรอกเมล็ดข้าวฟ่าง จะกรอกลงไปเพียงครึ่งขวดหรือประมาณ 2 ใน 3 ของขวด เพื่อช่วยให้เส้นใยเจริญได้รวดเร็ว การกรอกเมล็ดข้าวฟ่างใส่ขวดควรใช้กรวยสวมปากขวดจะช่วยให้กรอกได้ง่ายขึ้นและเพื่อป้องกันไม่ให้เมล็ดข้าวฟ่างเปื้อนปากขวด ถ้าหากเปื้อนปากขวดก็ควรเช็ดปากขวดให้สะอาดและแห้ง
ใช้สำลีอุดปากขวดให้แน่นพอดี ไม่ให้หลวมหรือคับเกินไปใช้กระดาษหุ้มทับสำลีอีกชั้นหนึ่งแล้วรัดด้วยยางเพื่อป้องกันสำลีเปียกเวลานึ่ง นำขวดเชื้อไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดันให้มีความดัน 15 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว นาน 25 นาที นึ่งเสร็จแล้วจึงนำออกมาปล่อยให้เย็นสนิท เพื่อรอการนำเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่เลี้ยงในอาหารวุ้นมาถ่ายใส่ต่อไป

การคัดเลือกเชื้อเห็ดขยายพันธุ์และการถ่ายเชื้อเห็ดจากอาหารวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟฟ่าง

อายุของเชื้อเห็ดที่เหมาะสมในการนำไปใช้
เชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนอาหารวุ้นเมื่อมีการเจริญเต็มผิวหน้าวุ้นก็ยังเป็นเชื้อที่อ่อนอยู่ ไม่ควรนำไปใช้ แต่ถ้าทิ้งไว้หลายวันแล้วเชื้อยังไม่ลามเต็มผิวหน้าวุ้น ซึ่งแสดงว่าเส้นใยเดินผิดปกติ เพราะอาจมีเชื้ออื่นปะปนอยู่ ก็ไม่ควรนำมาใช้เช่นกัน ระยะของเชื้อที่เหมาะจะนำมาใช้คือระหว่าง 7 – 10 วัน ไม่ควรเก็บไว้นานกว่านี้เพราะจะเหนียวแก่อ่อนตัวลง ถ้าเชื้อหมดอายุต้องเริ่มต้นเขี่ยเนื้อเยื่อจากดอกเห็ดใหม่เหมือนวิธีแรก

การถ่ายเชื้อเห็ดจากอาหารวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟ่าง
ขวดเมล็ดข้าวฟ่างที่นึ่งเรียบร้อยแล้ว จะยังเป็นเพียงเมล็ดพืชที่ต้มแล้วเท่านั้นถ้ายังไม่ใส่เชื้อเห็ดลงไป เราจึงต้องเอาเชื้อเห็ดจากขวดอาหารวุ้นที่ได้คัดเลือกและเตรียมไว้แล้ว นำมาถ่ายเชื้อหรือต่อเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่างเสียก่อนจึงนำไปใช้ได้
การเขี่ยเชื้อจากอาหารวุ้นลงในขวดเชื้อ การปฏิบัติก็ทำเช่นเดียวกันกับการทำอาหารวุ้น คือต้องทำภายในตู้เขี่ยเชื้อ โดยเลือกขวดเชื้อที่เส้นใยเจริญเต็มผิวหน้าวุ้นใหม่ ๆ ใช้เข็มเขี่ยลนไฟให้ร้อนแดง ตัดเอาอาหารวุ้นที่มีเส้นใยติดมาด้วยให้ชิ้นมีขนาด 1 ตารางเซนติเมตร ถ้าชิ้นเล็กไปอาจจะแห้งเสียก่อนที่เชื้อจะเจริญออกมา ทำนองเดียวกันถ้าชิ้นโตเกินไปก็อาจทำให้คับปากขวด ทำให้ทำงานไม่สะดวก นำวุ้นวางลงในขวดตรงกลางเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้วิธีเอนขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างเอนกระจายลงแบนราบเล็กน้อย แล้วจึงวางวุ้นลงไปตรงกลาง พอตั้งขวดเมล็ดข้าวฟ่างก็จะกลบชิ้นวุ้นตรงกลางขวดพอดี
การวางเชื้อวุ้นในเมล็ดข้าวฟ่างลักษณะดังกล่าว เส้นใยเห็ดจะเจริญเป็นวงกลมกระจายกันได้ทั่วทั้งขวด เป็นวิธีที่นิยมมากกว่าการวางวุ้นลงด้านบนของเมล็ดข้าวฟ่าง ซึ่งเส้นใยเห็ดจะเจริญลามมาจากด้านบนลงมาใช้สำลีอุดปากขวดเช่นเดิม แล้วใช้กระดาษปิดทับรัดด้วยยางทำเช่นนี้ทุกขวด ตามจำนวนที่ต้องการ
นำขวดเชื้อไปวางเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ เพื่อรอให้เส้นใยเจริญเต็มขวด อาจนำไปวางในห้องที่มืดก็ได้เพราะมีรายงานว่าเห็ดนางฟ้า เห็ดนางรม เจริญเติบโตได้ดีในขณะที่ไม่มีแสง ประมาณ 8 – 12 วัน เส้นใยก็จะเจริญเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง เชื้อที่เส้นใยเจริญเต็มขวดใหม่ ๆ อยู่ในระยะที่แข็งแรงมากเหมาะที่จะนำไปใช้งาน ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป เพราะจะทำให้ความแข็งแรงลดลงเรียกว่าเชื้อแก่ และยิ่งเก็บไว้นานนอกจากมีโอกาสที่เชื้อจะมีเชื้อปนได้ง่าย เชื้อจะเหนียวมากขึ้น การตัดหรือถ่ายเชื้อเมื่อเวลาใช้ก็ทำได้ไม่ค่อยสะดวก
หัวเชื้อชนิดนี้สามารถที่จะนำไปใช้จำหน่ายให้แก่ผู้ที่ต้องการนำไปลงในก้อนเชื้อได้ทันทีหรืออาจนำมาใช้ใส่ลงในก้อนเชื้อภายในฟาร์มเองก็ได้ การเพิ่มหรือขยายหัวเชื้อในเมล็ดข้าวฟ่าง ก็มีหลักการเดียวกันกับการเพิ่มจำนวนเชื้อบนอาหารวุ้น คือไม่จำเป็นต้องใช้เชื้อวุ้นมาเขี่ยใส่เพื่อให้ได้จำนวนมาก ๆ เพียงแต่ใช้หัวเชื้อจากขวดที่เส้นใยเจริญเต็มที่แล้ว ถ่ายใส่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ประมาณขวดละ 20 – 30 เมล็ด โดยใช้ช้อนที่มีปากแคบและด้ามยาว ตักหรือเทออกมาจากขวดที่มีเส้นใยเจริญเต็มแล้วลงในขวดเมล็ดข้าวฟ่าง ได้ตามจำนวนที่ต้องการ แต่ต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อเช่นกันและที่สำคัญต้องไม่ต่อเชื้อมากรุ่นเกินไปเพราะจะทำให้เชื้ออ่อนลงได้ ถ้าหากเห็นว่าเชื้อเริ่มอ่อนลงแล้ว ก็ควรเอาเชื้อจากอาหารวุ้นมาถ่ายใส่ใหม่ ทำเช่นนี้เราก็จะได้หัวเชื้อที่อยู่ในสภาพแข็งแรง
การรักษาความสะอาดในการผลิตหัวเชื้อเห็ด
การรักษาความสะอาดในการผลิตหัวเชื้อ ส่วนผสมที่ใช้เป็นอาหารในการผลิตหัวเชื้อจำพวกกากพืช ควรคัดเลือกเฉพาะที่ไม่มีเชื้อโรคติดมา เช่น ฟางไม่ควรมีเชื้อราในดินติดมาด้วย ที่สำคัญคือเชื้อราเพราะจะไประบาดในแปลงได้ นอกจากนี้ ก็อาจพบราเขียวและราดำบางชนิด ซึ่งถ้าพบควรคัดทิ้งเสียควรใช้วัสดุที่ใหม่และสะอาด
วัสดุที่ใช้เพาะเลี้ยงมีส่วนผสมแตกต่างกันไปที่ใช้กันมากได้แก่ ฟางข้าว เมล็ดข้าวฟ่าง ข้าวโพดป่น ขี้เลื่อย ผสมกับอาหารเสริมจำพวกรำข้าว น้ำตาล และปุ๋ยมูลสัตว์ ซึ่งจะต้องผ่านการฆ่าเชื้อให้บริสุทธิ์ก่อนที่จะใส่เชื้อบริสุทธิ์ลงไป หัวเชื้อที่มีจำหน่ายในท้องตลาดส่วนมากมีการนึ่งฆ่าเชื้อ ที่ไม่ได้ใช้ความดันไอน้ำและเวลานึ่งที่เพียงพอ ความร้อนจึงฆ่าเชื้อได้ไม่หมด อาหารผสมจึงมีเชื้อชนิดอื่นปะปนหลังจากนึ่ง ฆ่าเชื้อแล้ว ทำให้หัวเชื้อเสียเร็ว ในการนึ่งแต่ละครั้งจำนวนอาหารผสมในภาชนะ ที่นำมานึ่งฆ่าเชื้อนั้นมีจำนวนมาก ความร้อนที่ใช้นึ่งและระยะเวลาที่ใช้ในการนึ่งไม่ได้สัดส่วนกัน ถ้านึ่งครั้งละมาก ๆ ก็จะต้องคำนึงถึงเรื่องนี้ด้วยและแก้ไขปรับปรุงให้มีความดันสูงและระยะเวลานานขึ้น สำหรับผู้ที่เตรียมอาหารเพียง เล็กน้อย ควรใช้หม้อนึ่งความดันไอที่มีความร้อน 15 ปอนด์เป็นเวลา 30 นาที ถ้าการนึ่งด้วยความร้อนและระยะเวลาไม่เพียงพอจะทำให้เกิดปัญหาหัวเชื้อไม่บริสุทธิ์อยู่เสมอ
ในโรงเรือนที่ผสมหัวเชื้อจะต้องสะอาด ต้องทำความสะอาดทุกครั้งที่ทำงานเสร็จ หัวเชื้อที่ไม่บริสุทธิ์ต้องทำลายและอย่าทิ้งให้เป็นแหล่งสะสมในบริเวณใกล้เคียงกับที่เพาะเชื้อเห็ด

วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
3. จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์เตรียมอาหารวุ้น วัสดุอุปกรณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การทำหัวเชื้อเห็ด
5. กำหนดแผนการปฏิบัติงาน
6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน
7. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน


แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการกิจกรรม
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1
1.ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2

2
2.ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
2

3
3.จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
2

4
4.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์เตรียมอาหารวุ้น วัสดุอุปกรณ์การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การทำหัวเชื้อเห็ด
4

5-7
5.กำหนดแผนการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานตามขั้นตอน
6

8
6. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน
4


ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้ ทักษะและประสบการณ์การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการทำงานเป็นกลุ่ม
เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
2. ผลิตหัวเชื้อเห็ดนางฟ้า 50 ขวด เพื่อบริการนักเรียนที่เรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม
3. ได้รับความชื่นชมจากครูและผู้ปกครอง

เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.


ความเห็นของครูที่ปรึกษา
เป็นโครงงานที่น่าสนใจนักเรียนจะได้เกิดทักษะเพิ่มเติมจากการเรียนปกติ ให้สมาชิกตั้งใจทำโครงงานเมื่อเกิดปัญหาให้ปรึกษาครู


รายงานโครงงานเกษตรกรรม
ชื่อโครงงาน การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า


ชื่อผู้ทำโครงงาน
1. นางสาวจินตรา บวงขุนทด
2. นางสาวนันทิยา ชาหนองแวง
3. นายสิทธิศักดิ์ โกสุม

ชื่อครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด

บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานการผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า
1. ศึกษาวิธีการผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า
2. เพื่อเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพ
3. ผลิตหัวเชื้อเห็ดนางฟ้า 50 ขวด เพื่อบริการนักเรียนที่เรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม
4. เพื่อสร้างเสริมทักษะและประสบการณ์การผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้า ตลอดจนการทำงานเป็นกลุ่ม
จากการศึกษาเอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด ใบความรู้ หนังสือเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา พบว่าเห็ดนางฟ้าเป็นสิ่งมีชีวิตประเภทเชื้อราที่มีขนาดใหญ่ อาหารที่เห็ดใช้เพื่อการเจริญเติบโตและสร้างเส้นใย ได้จากสารอินทรีย์ที่เห็ดเกาะอาศัยอยู่ เส้นใยเห็ดที่มากขึ้นแล้วรวมตัวกันอัดแน่นจะกลายเป็นดอกเห็ด เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะมีการสร้างสปอร์เพื่อขยายพันธุ์ต่อไป ซึ่งการขยายพันธุ์เห็ดอีกแบบหนึ่งคือการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะทำให้เห็ดไม่มีการกลายพันธุ์ในการทำโครงงานครั้งนี้ใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ผลการดำเนินงานได้ทำการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าโดยใช้เนื้อเยื่อภายในก้านดอกเลี้ยงในอาหารวุ้นที่มีส่วนผสมของมันเลือดเป็นวัสดุ เป็นเวลา 14 วัน ซึ่งจะได้เชื้อเห็ดบริสุทธิ์จากนั้นนำเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ไปเลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่านการฆ่าเชื้อ ที่อุณหภูมิ 121 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 นาที ทำการเพาะเลี้ยงในสภาพปลอดเชื้อก็จะได้หัวเชื้อเห็ดนางฟ้า จำนวน 50 ขวด


วิธีการดำเนินงาน
1.การเตรียมอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมได้แก่ มันเลือด น้ำตาลกลูโคส ผงวุ้น น้ำ ขวดแบน สำลี
กระดาษ ยางรัด มีด หม้อ ทับพี เตาแกส ถังแกส หม้อนึ่งความดัน
2. ปอกเปลือกมันเลือดแล้วหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 1 ลบ. เซนติเมตร จำนวน 200 กรัม
3. นำไปต้มไฟอ่อน ๆ กับน้ำ 1 ลิตร เวลา 20 นาที
4. กรองเอาแต่น้ำใสมาใส่ผงวุ้น 15 กรัม ที่ชั่งไว้ตั้งไฟอ่อน ๆ คนให้ทั่วจนวุ้นละลายใช้เวลา 20 นาที ใส่น้ำตาลกลูโคส 20 กรัม คนให้ละลายเข้ากันตวงปริมาณดูถ้าไม่ครบ 1 ลิตร ให้เติมน้ำร้อนจนครบ 1 ลิตร คนให้เข้ากัน
5. นำอาหารวุ้นที่ได้บรรจุลงในขวดแบน ¼ ของขวดปิดปากขวดด้วยสำลีกระดาษปิดทับยางรัดอีกครั้ง
ให้ได้ 10 ขวด
6. นำไปนึ่งในหม้อนึ่งความดันให้ได้ 15 ปอนด์ / ตร.นิ้ว เป็นเวลา 20 นาที
7. เมื่อครบกำหนดเวลาให้นำขวดอาหารวุ้นออกจากหม้อนึ่งความดันวางลงบนพื้นที่เอียงเพื่อทำให้ปริมาณ ผิวหน้าวุ้นมากขึ้นปล่อยไว้ให้เย็นแข็งตัว เพื่อนำไปใช้งานต่อไป

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. มันเลือด น้ำตาลกลูโคส ผงวุ้น น้ำ ขวดแบน สำลี กระดาษ ยางรัด มีด หม้อ ทับพี เตาแกส ถังแกส หม้อนึ่งความดัน

ข้อควรระวัง
1. การบรรจุอาหารวุ้นลงขวดพยามยามอย่าให้เปรอะเปื้อนคอขวดหรือปากขวด จะทำให้เชื้อราชนิดอื่นในอากาศที่ไม่ต้องการเจริญลามเข้าไปในขวดได้
2. อย่าลดความดันโดยการเปิดรูระบายไอน้ำออกทันทีจะทำให้อาหารวุ้นเดือดขึ้นมาเปียกจุกสำลีต้องค่อย ๆ ลดความดันลง


2. การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้า
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมได้แก่ ดอกเห็ดนางฟ้าที่สมบูรณ์ไม่แก่เกินไปดอกยังไม่ปล่อย สปอร์ เป็นดอกสะอาดและใหม่ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอร์ ตู้เขี่ยเชื้อ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ขวดอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. ทำการฆ่าเชื้อภายในตู้เขี่ยเชื้อด้วยแอลกอฮอร์เช็ดให้ทั่วและทำการฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ทุกอย่างด้วย แอลกอฮอร์ก่อนนำเข้าตู้เขี่ยเชื้อ รวมทั้งฆ่าเชื้อที่มือด้วย
3. เอาเข็มเขี่ยเชื้อลนไฟจนปลายเข็มแดงทิ้งไว้ให้เย็นขณะที่รอเข็มเย็น ใช้มืออีกข้างและนิ้วส่วนที่เหลือจากจับเข็มเขี่ยเชื้อจับดอกเห็ดขึ้นมาฉีก จากขอบดอกลงมาตามแนวยาวให้ดอกแยกออกเป็น 2 ซีก ต้องระวังไม่ให้สิ่งใดๆ สัมผัสส่วนของดอกที่ฉีกออกได้แก่ ก้านดอก ส่วนกลางดอก
4. บริเวณเนื้อเยื่อที่เพิ่งฉีกออกใหม่ๆ ใช้เข็มเขี่ยตัดเนื้อเยื่อดอกเห็ดออกเป็นชิ้นเล็กๆ ตรงบริเวณก้านดอกกับหมวกดอกซึ่งเป็นส่วนสมบูรณ์ที่สุด
5. เมื่อได้เนื้อเยื่อแล้ววางดอกเห็ดที่มือข้างที่จับลงเปลี่ยนมาจับขวดอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ แทนใช้มือจับขวดอาหารวุ้นให้ก้นขวดอยู่ในอุ้งมือจากนั้นใช้นิ้วก้อยกับฝ่ามือที่จับเข็มเขี่ยจับเอาจุกสำลีที่ปากขวดดึงออกนำปากขวดลนไฟกับตะเกียงแอลกอฮอร์
6. นำเอาเนื้อเยื่อเห็ดสอดเข้าไปในขวด วางบนผิวกลางอาหารวุ้นลนไฟที่คอปากขวดอีกครั้งแล้วปิดจุกสำลีเช่นเดิม นำขวดเชื้อเห็ดไปเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องปกติ ประมาณ 10 วัน เส้นใยเดินเต็มหน้าอาหารวุ้น
7. ปฏิบัติเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ด 5 ขวด พร้อมจดบันทึกการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อเห็ดบนอาหารวุ้น

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ดอกเห็ดนางฟ้าที่สมบูรณ์
2. ขวดอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี
ข้อควรระวัง
1. การปฏิบัติงานวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดต้องผ่านการฆ่าเชื้อและต้องมั่นใจว่าทุกขั้นตอนในการปฏิบัติงานปลอดเชื้อ
2. ดอกเห็ดต้องสมบูรณ์ สะอาดและใหม่

1. การทำหัวเชื้อเห็ด
1.การเตรียมเมล็ดข้าวฟ่างสำหรับทำหัวเชื้อเห็ด
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. นำวัสดุ อุปกรณ์ เตรียมให้พร้อม เพียงพอสำหรับการทำหัวเชื้อจำนวน 60 ขวด ซึ่งได้แก่ขวดแบน เมล็ดข้าวฟ่าง หม้อต้ม ทัพพี หม้อนึ่งความดัน เตาแกส ถังแกส สำลี กระดาษ ยางรัด กรวย
2. นำเมล็ดข้าวฟ่างมาต้มจนสุก นิ่ม อย่าให้ถึงกับเละถ้าเละเมื่อกรอกใส่ขวดจะเกิดการแฉะที่ก้นขวด มีโอกาสที่เชื้อราต่างๆ เกิดขึ้นได้ง่าย
3. นำเมล็ดข้าวฟ่างที่ต้มแล้วใส่ตะแกรงกรองเอาน้ำออกให้หมด นำไปผึ่งแดดพอแห้ง
4. กรอกเมล็ดข้าวฟ่างลงขวดโดยใช้กรวย ให้ได้ปริมาณ 2/3 ของขวด ขณะกรอกต้องพยายามไม่ให้เปื้อน ปากขวด จากนั้นใช้สำลีอุดปากขวดให้แน่นพอดี กระดาษหุ้มทับสำลีอีกชั้นหนึ่งแล้วรัดด้วยยาง
5. นำขวดเมล็ดข้าวฟ่างไปนึ่งด้วยหม้อนึ่งความดันให้มีความดันไอน้ำ 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว นาน 25 นาที แล้วนำออกมาปล่อยให้เย็น เพื่อรอการนำเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในอาหารวุ้นมาถ่ายใส่ในวันรุ่งขึ้นต่อไป
6. ทำการเตรียมเมล็ดข้าวฟ่างสำหรับทำหัวเชื้อเห็ด 60 ขวด

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ขวดแบน เมล็ดข้าวฟ่าง หม้อต้ม ทัพพี หม้อนึ่งความดัน เตาแกส ถังแกส สำลี กระดาษ ยางรัด กรวย

ข้อควรระวัง

1. ไม่ควรต้มเมล็ดข้าวฟ่างจนเละเพราะจะทำให้เกิดการแฉะที่ก้นขวด อันเป็นสาเหตุการเกิดเชื้อราได้ง่าย

1. ทำการเตรียมวัสดุอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน ได้แก่ ขวดเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่เลี้ยงในอาหารวุ้น เห็ดนางฟ้า ขวดเมล็ดข้าวฟ่าง ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี
2. ทำการฆ่าเชื้อภายในตู้เขี่ยเชื้อ โดยใช้สำลีชุบแอลกอฮอร์เช็ดให้ทั่ว ฆ่าเชื้อวัสดุอุปกรณ์ทุกชนิดแล้วนำเข้า ตู้เขี่ยเชื้อ ทำความสะอาดมือแล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ
3. ทำการคัดเลือกขวดเชื้อเห็ดที่เส้นใยเจริญเต็มผิวหน้าวุ้นใหม่ๆ 1 ขวด เช็ดด้วยแอลกอฮอร์ ฆ่าเชื้อ นำเข้าตู้เขี่ยเชื้อ ดึงจุกสำลีปากขวดออกพร้อมกับลนไฟปากขวดให้ร้อน
4. ใช้เข็มเขี่ยเชื้อลนไฟให้ร้อนจนแดง ปล่อยให้เย็นสอดเข้าไปในขวด ตัดเอาอาหารวุ้นที่มีเส้นใยติดมาด้วยให้ชิ้นขนาด 1 ตารางเซนติเมตร ดึงจุกสำลีปากขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก ลนไฟปากขวดให้ร้อน ใช้เข็มเขี่ยเชื้อ นำชิ้นอาหารวุ้นที่มีเส้นใยเห็ด วางลงในขวดตรงกลางเมล็ดข้าวฟ่าง โดยเอนขวดให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายลง แบนราบเล็กน้อยแล้วจึงวางวุ้น ตรงกลางพอตั้งขวดเมล็ดข้าวฟ่างก็จะกลบชิ้นวุ้นตรงกลางขวดพอดี ทำการลนไฟที่ปากขวดเชื้อเห็ดและขวดเมล็ดข้าวฟ่างให้ร้อนแล้วปิดจุกสำลี
5. ปฏิบัติการถ่ายเชื้อเห็ดลงในเมล็ดข้าวฟ่าง 60 ขวด พร้อมสังเกตบันทึกผลการเปลี่ยนแปลง 10 วัน

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ขวดเชื้อเห็ดบริสุทธิ์ที่เลี้ยงในอาหารวุ้น เห็ดนางฟ้า ขวดเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
2. ตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี

ข้อควรระวัง
1. เชื้อเห็ดบนอาหารวุ้นที่ตัดต้องมีขนาด 1 ตารางเซนติเมตร ถ้าเล็กไปอาจแห้งเสียก่อนที่เชื้อจะเจริญเติบโต ถ้าชิ้นโตเกินไปทำให้คับปากขวด ไม่สะดวกในการทำงาน
2. ต้องวางชิ้นเชื้อเห็ดตรงกลางเมล็ดข้าวฟ่าง จะทำให้การเจริญเติบโตเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ
ผลการศึกษา
จากการทำโครงงานผลิตเชื้อเห็ดนางฟ้าทำให้ทราบว่ามีขั้นตอนดังนี้
1. เตรียมอาหารวุ้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้าในอาหารวุ้นจะได้เชื้อเห็ดบริสุทธิ์
2. ผลิตหัวเชื้อเห็ดโดยนำเชื้อเห็ดบริสุทธิ์เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่างที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
ในขั้นตอนที่ 1 เตรียมอาหารวุ้นไม่มีขวดเสียจากการทำลายของจุลินทรีย์
ในขั้นตอนที่ 2 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเห็ดนางฟ้ามีขวดเสีย 3 ขวด จากการทำลายของราดำ 2 ขวด และราแดง 1 ขวด ลักษณะการทำลายเชื้อราดังกล่าวติดมากับชิ้นส่วนเนื้อเยื่อเห็ด หลังเพาะเลี้ยงได้ 10 วัน เส้นใยเจริญเติบโตดีมีสีขาวฟู เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 8 ซ.ม. เชื้อเห็ดนางฟ้าเจริญเติบโตได้ดีในอาหารวุ้นที่มีมันเลือดเป็นส่วนผสม
ในขั้นตอนที่ 3 ผลิตหัวเชื้อเห็ดนางฟ้า มีขวดเสีย 5 ขวดจากการทำลายของราดำและราเขียว อาจเป็นเพราะขณะปฏิบัติงานรักษาความสะอาดไม่ดีพอ หลังถ่ายเชื้อได้ 10 วันจะสังเกตเห็นเส้นใยเห็ดเจริญเติบโต เป็นวงกลมรอบก้อนวุ้นที่ใส่ลงไปคาดว่าประมาณ 21 วันเส้นใยเห็ดจะเต็มเมล็ดข้าวฟ่างในขวด

สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ในการทำโครงงานได้เชื้อเห็ดนางฟ้าที่มีคุณภาพตามเป้าหมายที่วางไว้จำนวน 50 ขวด เชื้อเห็ดที่ได้ไม่มีการกลายพันธุ์เนื่องจากเกิดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
2. ในการผลิตเชื้อเห็ดเกิดความเสียหายจากเชื้อราหลายชนิด เช่นราดำ ราเขียว ราแดง ราเหลือง ซึ่งจุลินทรีย์พวกนี้มีอยู่ทั่วไปในอากาศ เราสามารถป้องกันได้โดยให้ทุกขั้นตอนการผลิตต้องสะอาดและปลอดเชื้อ
3. ผู้จัดทำโครงงานเกิดทักษะและประสบการณ์มากขึ้น มีความภูมิใจในผลงานสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพได้

เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการผลิตเชื้อเห็ด. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.

วันพุธที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โครงงานการทดลองเพาะเห็ดตีนแรดโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ

ก้อนเชื้อเห็ดตีนแรดพร้อมลงแปลง





จัดเรียงก้อนเชื้อเห็ดลงแปลงเพาะ



ใช้ผ้าสแลนด์คลุมแปลงเพาะเห็ดตีนแรด



การเจริญของเส้นใยเห็ดตีนแรดในแปลงเพาะ




ดอกเห็ดระยะเริ่มแรก




ดอกเห็ดตีนแรดเมื่อโตเต็มที่
โครงงานเกษตรกรรมประเภทศึกษาค้นคว้าทดลอง
ชื่อโครงงาน การทดลองเพาะเห็ดตีนแรดโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ

ชื่อผู้ทำโครงงาน

นายจิรวุฒิ เศรษฐดา
นายศวิตร ทองสันเทียะ
นายคมกฤษ นามกิ่ง
นางสาวเรณู ศิรินอก

ครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด
ความสำคัญของโครงงาน
เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดที่พบได้ทั่วไปในท้องถิ่นอำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ เห็ดตีนแรดจะเกิดขึ้นในฤดูฝน พบในสภาพพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หน้าดินไม่ถูกทำลาย มักพบตามหัวไร่ปลายนาและป่าสงวนโคกใหญ่ของอำเนินสง่า บริเวณใดที่เคยพบเห็ดชนิดนี้ก็มักจะพบทุกปีเนื่องจากมีการปล่อยสปอร์ไว้ ชาวบ้านนิยมบริโภคเนื่องจากรสชาติดี ทำอาหารได้หลายชนิด เห็ดมีดอกขนาดใหญ่น้ำหนักกอละประมาณ 500 – 800 กรัม ซื้อขายกันในท้องถิ่นราคา ก.ก. ละ 100 บาท
คณะผู้จัดทำโครงงานเห็นว่าเป็นเห็ดธรรมชาติที่น่าสนใจในการทดลองเพาะให้เกิดดอกเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายและภาคเรียนที่ผ่านมาคณะผู้จัดทำได้ทำโครงงานผลิตหัวเชื้อเห็ดตีนแรดได้ผลมาแล้ว ภาคเรียนนี้จึงได้ทดลองนำมาเพาะเพื่อให้เกิดดอกเห็ด

จุดประสงค์
1. ศึกษาวงจรชีวิตเห็ดตีนแรด
2. ทดลองเพาะเห็ดตีนแรดจำนวน 100 ก้อน แบบเพาะลงดินเพื่อเลียนแบบธรรมชาติ
3. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์การเพาะเห็ดธรรมชาติที่มีในท้องถิ่นโดยเลียนแบบธรรมชาติตลอดจนเกิดประสบการณ์ การทำงานเป็นกลุ่ม

ข้อมูลวิชาการ
1. วงจรชีวิตเห็ดตีนแรด
1. เห็ดตีนแรด วงศ์ Tricholomataceae ชื่อวิทยาศาสตร์ Tricholoma crassum เห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดที่มีขนาดใหญ่ ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดจั่น ภาคกลางเรียกว่า เห็ดตับเต่าขาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่าเห็ดตีนแรด ดอกเห็ดมีสีขาวหม่นหรือสีเหลืองนวล หมวกรูปครึ่งวงกลมหรือรูปกะทะคว่ำ ผิวเรียบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 25 ซ.ม. ดอกอ่อนมีขอบม้วนงอเข้า ดอกแก่แบนลง ก้านดอกยาว 6 – 15 ซ.ม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 –2.5 ซ.ม. โคนโป่งเป็นกระเปาะใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 ซ.ม. สีขาวนวล ชอบขึ้นตามโคนไม้ผุเป็นกลุ่ม โคนติดกัน กลุ่มละ 3 – 7 ดอก รับประทานได้มีรสหวาน กลิ่นหอม มีความเหนียวเหมือนเห็ดโคน

2. การทำก้อนเชื้อเห็ด
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
วัสดุที่ใช้เพาะเห็ด สามารถเพาะได้ด้วยวิธีง่าย ๆ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทาง การเกษตรที่มีอยู่มากมายหลายชนิด นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพาะได้ อาจใช้วัตถุดิบเดี่ยว ๆ หรืออาจใช้วัตถุดิบผสมกันหลาย ๆ อัตราส่วนเป็นวัสดุเพาะ เช่น ฟาง ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ไส้นุ่น เศษใบไม้ใบหญ้า
นอกจากนี้เราอาจเติมอาหารเสริมลงไปคลุกเคล้าผสมด้วย เพื่อเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น อาหารเสริมก็มี รำละเอียด รำหยาบ กากถั่วป่น ในอัตราประมาณ 3 – 10 % โดยน้ำหนัก
การเติมสารเคมีบางชนิดในรูปของเกลืออนินทรีย์ เช่น แมกนีเซียมซัลเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต ยิปซั่ม และปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟต ลงไปในกองปุ๋ยหมักเพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเห็ดนั้นแม้ว่าโดยหลักการแล้วเห็ดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยตรง แต่เมื่อเติมปุ๋ยเหล่านี้ลงไปในกองปุ๋ยหมักแล้วจุลินทรีย์จำพวกแบคทีเรียหลายชนิดจะเจริญได้ดีขึ้นและบางส่วนของปุ๋ยได้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุในตัวของแบคทีเรีย ซึ่งเห็ดสามารถนำไปใช้ได้ในภายหลัง

การเตรียมวัสดุเพาะเห็ด
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการทำก้อนเชื้อเห็ดมีดังต่อไปนี้
1. วัสดุเพาะ โดยทั่วไปจะใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อน ฟางข้าว ชานอ้อย
2. ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 7 x 12 นิ้ว หรือ ขนาด 8 x 12 นิ้ว
3. คอถุงพลาสติก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ½ นิ้ว
4. สำลี ยางรัด
5. หม้อนึ่งเชื้อเห็ด
6. โรงเรือนบ่มเส้นใย
7. โรงเรือนเปิดดอก

สูตรอาหารก้อนเชื้อเห็ด
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ( ไม่ต้องหมัก ) 100 ก.ก.
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะประมาณ 60 – 65 %

ขั้นตอนการผลิตก้อนเชื้อเห็ด
1. นำส่วนผสมข้างต้นผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมปรับความชื้นประมาณ 60 – 65 %
โดยการเติมน้ำลงไปพอประมาณ
2. ใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่น แล้วสังเกตว่าถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วมือแสดงว่าเปียกไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้ง ) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 – 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกันเป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำ ลงไปอีก
3. เมื่อผสมคลุกเคล้าส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ให้บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อนน้ำหนัก 8 – 10 ขีด บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดและทุบให้แน่นพอประมาณ ใส่คอถุง จุกสำลี ปิดทับด้วยกระดาษ รัดด้วยยาง
4. นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศา เซลเซียส ใช้เวลา 2 - 3 ชั่วโมง
5. นำถุงออกมาพักให้เย็นในที่สะอาด เปิดจุกสำลี ต่อเชื้อที่ต้องการลงไปตรงคอถุง
6. นำถุงเชื้อเห็ดไปบ่มไว้ในที่สะอาด มีอากาศถ่ายเทสะดวก จนกระทั่งเส้นใยเห็ดเดินเต็มถุงซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด
7. เมื่อเส้นใยเดินเต็มถุงแล้ว คัดเอาเฉพาะถุงที่ไม่มีการปนเปื้อน มาเปิดในโรงเรือนเปิดดอก เพื่อให้เกิดดอกเห็ดต่อไป ภายในโรงเรือนต้องสะอาด มีการถ่ายเทอากาศดี มีแสงสว่างพอสมควรและเก็บความชื้นได้ดีพอสมควร ความชื้นสัมพัทธ์ภายในโรงเรือนประมาณ 70 % ขึ้นไป
การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะเห็ด
การสเตอริไรส์
การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้เป็นการฆ่าเชื้อศัตรูเห็ดให้ตายหมดอย่างสิ้นเชิง ปกติจะใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้นไม่สามารถใช้หม้อนึ่งลูกทุ่งได้โดยนึ่งที่ความดันไอน้ำ 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว เวลา 15 นาที ขึ้นไป แต่ถ้าจำนวนก้อนเชื้อมีมาก ก็ต้องนึ่งใช้เวลานานกว่านี้ เช่น ถ้านึ่งขวดอาหารวุ้นใช้เวลา 15 นาที ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ถ้านึ่งหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างต้องใช้เวลา 25 – 30 นาที ที่ความดัน 15 ปอนด์ / ตารางนิ้ว

การพาสเจอร์ไรส์
ในการเพาะเห็ดเราจะพาสเจอร์ไรส์อาหาร ปุ๋ยหมักหรือก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อและเห็ดอื่น ๆ ที่จะเป็นศัตรูต่อเห็ด ซึ่งรวมทั้งแมลงและสัตว์เล็ก ๆ ในถุงวัสดุเพาะ โดยการใช้หม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งแบบดัดแปลงหรือหม้อนึ่งความดันแบบต่าง ๆ โดยการต้มน้ำให้เดือดขึ้นเป็นไอไปฆ่าเชื้อก้อนเชื้อที่วางไว้ด้านบน การฆ่าเชื้อจะใช้ความร้อน 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ชั่วโมง
หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง
หม้อนึ่งชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลางเป็นเครื่องมืที่ราคาถูกทำขึ้นเองได้ นิยมใช้ถังน้ำมันหรือถังจารบีขนาด 200 ลิตร แต่หนากว่าและมีฝาแยกออกมาเป็นอิสระพร้อมเข็มขัดรัดฝา ใช้ยางหุ้มปากถังแทนประเก็นเพื่อให้สามารถปิดได้สนิท ตรงกลางฝาเจาะรูด้วยตะปูขนาด 3 นิ้ว เพื่อทำเป็นที่ระบายไอน้ำ ก้นถังทำเป็นตะแกรงรองวัสดุนึ่ง ให้สามารถยกเข้าออกได้สำหรับใช้วางก้อนเชื้อไม่ให้เปียกน้ำโดยทำให้สูงจากก้นถังประมาณ 20 ซ.ม.
การนึ่งก็ปฏิบัติเช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันแบบทั่วไปคือ ใส่น้ำลงไปจนปริ่มตะแกรง แต่ก่อนนำ
ก้อนเชื้อลงวางเรียงควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรอบ ๆ ขอบถังเสียก่อนเพื่อไม่ให้ถุงพลาสติกจากก้อนเชื้อ
ละลายติดกับหม้อนึ่งเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด เมื่อวางก้อนเชื้อจนเต็มแล้วปิดฝาและรัดสายรัดให้แน่น ต้มน้ำให้เดือดจนไอน้ำพุ่งออกมาจากรูที่เจาะตรงกลางฝาอย่างสม่ำเสมอแล้วนึ่งไปนานประมาณ 3 ชั่วโมง เชื้อเพลิง ที่นำมาใช้ทำความร้อนให้กับหม้อนึ่งชนิดนี้ อาจใช้ไม้ฟืนหรือแกลบก็ได้โดยการทำเตาแบบเตาเศรษฐกิจ การนึ่งก้อนเชื้อเห็ดจำนวนมากต้องระมัดระวังและแน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง
หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อเห็ดจากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป

3. การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1. ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1.1 ต้องมีความบริสุทธิ์ในสายพันธุ์
1.2 เส้นใยเชื้อเห็ดเดินขาวเต็มขวด
1.3 เชื้อเห็ดไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป
1.4 อาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดมีคุณภาพดีและเหมาะสม
1.5 ไม่มีเชื้อราอื่นปะปน
2. การเลือกซื้อเชื้อเห็ด
2.1 เชื้อเห็ดอยู่ในภาชนะที่สะอาดเหมาะสม สภาพเรียบร้อย
2.2 เชื้อเห็ดมีเส้นใยขาวฟูเดินเต็มขวด
2.3 เชื้อเห็ดบริสุทธิ์ไม่มีเชื้อราอื่นเจือปน
2.4 เชื้อเห็ดไม่มีความชื้นมากเกินไปโดยดูจากน้ำที่เกิดขึ้นในภาชนะที่บรรจุ
2.5 อายุเหมาะสมในการนำไปเพาะไม่แก่ ไม่อ่อนเกินไป

การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงในถุงวัสดุเพาะ ( ถุงก้อนเชื้อ ) ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ยังถือว่าเป็นเพียงก้อนเชื้อเปล่า ๆ หรือเป็นเพียงถุงขี้เลื่อยธรรมดา เท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้เพาะเอาดอกได้ จนกว่าจะมีการนำเอาหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างที่ทำขึ้นหรือ ซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้เสียก่อน
หัวเชื้อที่ดีนั้น ควรเป็นหัวเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มขวดใหม่ ๆ ไม่มีเชื้อราสีต่าง ๆ ปน ไม่เป็น เชื้อแก่จนเส้นใยย่อยตัวเองเป็นน้ำสีเหลือง ตามปกติการถ่ายเชื้อจากขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างนั้น จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการแยกเนื้อเยื่อ หรือการถ่ายเชื้อจากวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟ่าง คือต้องปฏิบัติภายในตู้เขี่ยเชื้อ แต่เนื่องจากการทำก้อนเชื้อจำนวนมากอาจมีจำนวนหลายหลายร้อยหรือหลายพันก้อนต่อครั้ง ก้อนเชื้อยังมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมทำในตู้เขี่ยเชื้อและเชื่อว่าหัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้าวฟ่างนั้นมีสภาพแวดล้อมของอาหารที่ใกล้เคียงกับเส้นใยเห็ดบนวัตถุธรรมชาติ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าที่เจริญบนวุ้น การถ่ายเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงในถุงก้อนเชื้อ จึงไม่จำเป็นต้องทำในตู้เขี่ยเชื้อ เพียงแต่ควรเป็นที่สะอาดและลมสงบ ส่วนใหญ่จะทำในห้องกั้นพิเศษสำหรับเขี่ยเชื้อโดยตรงเพื่อที่จะป้องกันลมและรักษาความสะอาดได้ง่าย
การปฏิบัติ วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถวให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เปิดเอากระดาษที่หุ้มสำลีออก แต่ยังไม่ต้องเปิดจุกสำลีและระวังไม่ให้สำลีหลุดออกจากคอขวด ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำเอาขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่คัดเลือกไว้แล้ว ใช้มือเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายดีเสียก่อน ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออก นำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ ในช่วงนี้ถ้าเมล็ดข้าวฟ่างในขวดยังไม่ร่วน จะใช้ช้อนตักเข้าไปในขวดเพื่อเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างในขณะที่ปากขวดยังลนไฟอยู่ มืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10 – 20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันที ใช้กระดาษปิดทับรัดด้วยยาง เมื่อทำได้ 3 – 4 ถุงควรลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์อีกครั้งหัวเชื้อที่เปิดขวดออกมาแล้วควรใช้ให้หมดหากมีเหลือไม่ควรนำมาใช้ต่อไปอีก เพราะเชื้ออาจเสียได้ เฉลี่ยแล้วหัวเชื้อ 1 ขวด จะใช้เขี่ยเชื้อลงถุงได้ประมาณ 50 – 60 ถุง หรือบางแห่งอาจได้ 25 – 30 ก้อน ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญดีและเสียน้อย

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลานานประมาณ 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของเห็ด เช่นเห็ดนางรม เห็ดนางฟ้า ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ มีรายงานจากบางฟาร์มว่าเห็ดนางรมในระยะบ่มเชื้อจะเจริญได้ดีในห้องที่ไม่มีลมโกรกและมีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้าภูฐานโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติ เห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ระยะบ่มที่มาตรฐานคือประมาณ 22 – 28 วัน ยกเว้นฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15 – 20 วัน เท่านั้นก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ดจะเจริญลามอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจเกิดจากมีเชื้อราต่าง ๆ ขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสียลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกันควรคัดออกทิ้งไป

วิธีดำเนินการ
1. ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการผลิตเชื้อเห็ด หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2. ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
3. จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4. จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์การทำก้อนเชื้อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การถ่ายเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ
5. กำหนดแผนการปฏิบัติงาน
6. ปฏิบัติงานตามขั้นตอน
1. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน

แผนปฏิบัติงาน
สัปดาห์ที่
รายการกิจกรรม
จำนวนคาบ
หมายเหตุ
1
1.ศึกษาข้อมูลจาก ใบความรู้ เอกสารประกอบการเรียนการเพาะเห็ด หนังสือการเพาะเห็ด ครูที่ปรึกษา
2
นอกเวลาเรียน
1
2.ศึกษาวิธีการเขียนโครงงาน
2
นอกเวลา
1
3.จัดทำโครงงานเสนอครูที่ปรึกษา
4
นอกเวลา
1
4.จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ เช่น วัสดุอุปกรณ์ทำก้อนเชื้อเห็ด วัสดุอุปกรณ์การถ่ายเชื้อเห็ดลงวัสดุเพาะ
4
นอกเวลา
2 - 19
5.กำหนดแผนการปฏิบัติงานและปฏิบัติงานตามขั้นตอน
18
นอกเวลา
20
6. ประเมินผลและเขียนรายงานโครงงาน
3
นอกเวลา

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ได้ความรู้วงจรชีวิตเห็ดตีนแรด
2. ได้ทักษะประสบการณ์เพาะเห็ดตีนแรดเช่นลักษณะธรรมชาติ สภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมในการชักนำให้เกิดดอกเห็ด
3. ได้ผลผลิตเห็ดตีนแรด
4. ได้รับความชื่นชมจากครู ผู้ปกครอง และความสามัคคีในกลุ่ม

เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.

ความเห็นครูที่ปรึกษา
นักเรียนเลือกทำโครงงานเพาะเห็ดตีนแรดเป็นการนำหัวเชื้อเห็ดที่ได้จากภาคเรียนที่แล้วมาทดลองเพาะให้เกิดดอก เป็นความคิดริเริ่มที่ดีโครงงานนี้ถ้าประสบความสำเร็จแสดงว่านักเรียนสามารถทำเห็ดตีนแรดได้ครบวงจรครูขอให้นักเรียนมีความมุ่งมั่นในการทำงานเมื่อมีปัญหาให้ปรึกษาครู

รายงานโครงงานเกษตรกรรม
ชื่อโครงงาน การเพาะเห็ดตีนแรดโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ

ชื่อผู้ทำโครงงาน
นายจิรวุฒิ เศรษฐดา
นายศวิตร ทองสันเทียะ
นายคมกฤษ นามกิ่ง
นางสาวเรณู ศิรินอก

ชื่อครูที่ปรึกษา นายอนันท์ กล้ารอด

บทคัดย่อ
จุดมุ่งหมายของการทำโครงงานการเพาะเห็ดตีนแรดโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติ
1. เพื่อศึกษาวงจรชีวิตเห็ดตีนแรด
2. ทดลองเพาะเห็ดตีนแรด 100 ก้อน โดยเพาะลงดินเลียนแบบธรรมชาติ
3. เพื่อสร้างเสริมประสบการณ์เพาะเลี้ยงเห็ดธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น ตลอดจนประสบการณ์การทำงานเป็นกลุ่ม
เห็ดตีนแรดเป็นเห็ดดอกใหญ่ รสชาติดี ราคาแพง เก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน ประมาณ 14 วัน บริเวณที่พบเห็ดตีนแรดในธรรมชาติปกติจะขึ้นได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ดินอุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง อากาศร้อนอบอ้าว พบในฤดูฝนเป็นแหล่งที่เคยมีเห็ดตีนแรดขึ้นมาก่อนเนื่องจากจะมีสปอร์ของเห็ดร่วงหล่นอยู่
จากการทดลองเพาะเห็ดตีนแรดโดยวิธีเลียนแบบธรรมชาติชักนำให้เกิดดอก หลังจากเตรียมแปลงเพาะรองพื้นแปลงด้วยอินทรีย์วัตถุ จัดวางก้อนเชื้อเห็ดที่เส้นใยเดินเต็มก้อนแล้ว หลังใส่หัวเชื้อมาประมาณ 60 วัน จำนวน 100 ก้อน ดินกลบเล็กน้อย ฟางคลุมแปลง ข้างบนทำโครงไม้ไผ่คลุมด้วยพลาสติกสแลนด์ พลางแสง 80 % ชักนำให้เกิดดอกเห็ดโดยการรักษาความชื้นให้พอเหมาะ อุณหภูมิร้อนอบอ้าว ประมาณ 60 วัน จะเกิดดอกเห็ดขึ้น ดอกเห็ดมีขนาดโตผิดธรรมชาติมาก น้ำหนัก กอละประมาณ 3 ก.ก. ซึ่งปกติมี น้ำหนัก 500 – 800 กรัม

วิธีดำเนินการ
1. การเตรียมก้อนเชื้อเห็ด
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ในการเพาะเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ยิปซั่ม ปูนขาว
ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี กระดาษ ยางรัด ให้เพียงพอสำหรับการผลิตก้อนเชื้อเห็ด 100 ก้อน
2. ทำการผสมวัสดุเพาะเห็ดตามสัดส่วนดังนี้
ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 ก.ก. ( ไม่ต้องหมัก )
รำละเอียด 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ยิปซั่ม 2 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปรับความชื้นในวัสดุเพาะ 60 – 65 % ทดสอบโดยการใช้มือกำขี้เลื่อยขึ้นมาบีบให้แน่นแล้วสังเกต
ถ้ามีน้ำซึมออกมาตามร่องนิ้วแสดงว่าเปียกไปให้เติมขี้เลื่อยแห้งลงไป ถ้าไม่มีน้ำซึมออกขี้เลื่อยรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2 ใน 3 ส่วน แสดงว่าใช้ได้ ( ความชื้น 60 – 65 % ) แต่ถ้าแบมือออกแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวกัน เป็นก้อนแสดงว่าแห้งไปให้เติมน้ำอีก
3. บรรจุขี้เลื่อยลงถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8 x 12 นิ้ว บรรจุ 2 ใน 3 ของถุงกดทุบให้แน่นพอประมาณใส่คอถุงแล้วปิดฝาถ้าไม่มีฝาปิด ใช้จุกสำลีอุดปิดทับด้วยกระดาษแล้วรัดยาง
4. ทำการผลิตก้อนเชื้อเห็ดจำนวน 100 ก้อน
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. วัสดุในการทำก้อนเชื้อเห็ดได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา รำละเอียด ปูนขาว ยิปซั่ม ดีเกลือ สารภูไมท์ น้ำ
2. อุปกรณ์ได้แก่ ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 8x12 นิ้ว คอถุง ฝาปิดคอถุง สำลี ยางรัด ถังนึ่งก้อนเชื้อเห็ด จอบ

ข้อควรระวัง
1. วัสดุเพาะเห็ดต้องใหม่และไม่เสื่อมคุณภาพ
2. อุปกรณ์ทุกชนิดต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน เช่น ถังนึ่งฆ่าเชื้อ
3. ส่วนผสมวัสดุเพาะต้องไม่เปียกแฉะ ถ้าความชื้นมากเกินไปทำให้เส้นใยเห็ดไม่เดิน
4. การอัดวัสดุเพาะแน่นเกินไปทำให้ถุงแตกได้
5. การบรรจุวัสดุเพาะเห็ดลงถุงไม่แน่นทำให้เส้นใยเห็ดเดินไม่ดี

2. การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะ
ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์การนึ่งฆ่าเชื้อได้แก่ เตา ถังนึ่ง ชั้นวาง ถุงวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิดถัง ไม้ฟืน ถัง น้ำ
2. ใส่น้ำในถังนึ่ง 25 ซ.ม. แล้วใส่ชั้นวาง วางถุงวัสดุเพาะบนชั้นวางเป็นชั้น ๆ จนเต็มถังแล้วปิดฝาอย่าให้แน่นจนเกินไป ก่อนวางถุงวัสดุเพาะด้านในของถัง ต้องบุด้วยกระดาษหนังสือพิมพ์ก่อน
3. ทำการก่อไฟโดยใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงต้มน้ำให้เดือด เริ่มจับเวลาตั้งแต่น้ำเดือดเป็นไอพุ่งออกมา เป็นเวลา 3 ช.ม. ( อุณหภูมิ 100 เซลเซียส เป็นเวลา 3 ช.ม. )
4. เมื่อครบ 3 ช.ม. นำถุงวัสดุเพาะเห็ดออกวาง ในที่อากาศถ่ายเทได้ดีปล่อยให้เย็นเพื่อรอใส่เชื้อเห็ด ในรุ่งขึ้นต่อไป

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เตา ถังนึ่ง ชั้นวางวัสดุเพาะเห็ด ฝาปิด ฟืน ถัง น้ำ
2. ถุงวัสดุเพาะเห็ด

ข้อควรระวัง
1. ห้ามปิดฝาถังแน่นเกินไปเพราะถ้าไอน้ำร้อนออกไม่ได้ทำให้ถังระเบิดได้
2. การจับเวลา 3 ช.ม. ต้องเริ่มจับตั้งแต่น้ำเดือดเป็นต้นไปและให้น้ำเดือดต่อเนื่อง
3. การใส่น้ำต้องให้ได้ 25 ซ.ม. เพราะน้ำเดือด 1 ช.ม. ปริมาณน้ำลดลงไป 5 ซ.ม.
4. ด้านในของถังต้องบุด้วยกระดาษให้หนา เพื่อป้องกันถุงวัสดุเพาะเปื่อยเนื่องจากความร้อน
3. การเขี่ยเชื้อเห็ดลงถุงวัสดุเพาะ

ขั้นตอนและการปฏิบัติงาน
1. เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม ได้แก่ ขวดเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง เห็ดตีนแรด 5 ขวด ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ตะเกียงแอลกอฮอล์ แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สำลี
2. คัดเลือกเชื้อเห็ดที่ ซึ่งมีลักษณะดังนี้ เส้นใยสีขาวฟูเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง
ไม่มีราเขียว ราเหลือง ราแดงปะปน ไม่มีการรวมตัวของเส้นใยเห็ดเป็นก้อนหรือตุ่มดอก ขวดเชื้อเห็ดอยู่ในสภาพไม่สกปรก
3. ทำความสะอาดห้องต่อเชื้อนำถุงวัสดุเพาะเห็ดที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว อุปกรณ์ทุกชิ้นทำความสะอาดและฆ่าเชื้อด้วยแอลกอฮอร์ ปิดประตูหน้าต่างให้ห้อง อยู่ในสภาพอากาศนิ่ง
4. ใช้แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อที่มือช้อนตักทองเหลือง ดึงจุกสำลีขวดเชื้อเห็ดออก ลนไฟที่ปากขวดยกขึ้นเหนือเปลวไฟ ใช้ช้อนคนเมล็ดข้าวฟ่างให้กระจายกัน
5. เปิดฝาปิดถุงวัสดุเพาะเห็ดพร้อมกับหยอดหรือใช้ช้อนตักเชื้อเห็ดที่เลี้ยงในเมล็ดข้าวฟ่าง ลงถุงละ 20 – 30 เมล็ด ทำอย่างรวดเร็วแล้วปิดฝาถุงวัสดุเพาะเห็ด
6. ทำการเขี่ยเชื้อลงถุง 100 ถุง แล้วนำไปบ่มในที่สะอาดมีอากาศถ่ายเทสะดวก อุณหภูมิ 23 – 28 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 50 – 60 วัน เส้นใยจะเดินเต็มถุงพร้อมเปิดดอก
7. บันทึกผลการเปลี่ยนแปลงก้อนเชื้อเห็ดในวันที่ 1 – 60

เครื่องมือและอุปกรณ์
1. ขวดเชื้อเห็ดตีนแรด ถุงวัสดุเพาะเห็ดที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
2. ตะเกียงแอลกอฮอร์ แอลกอฮอร์ฆ่าเชื้อ สำลี ช้อนทองเหลืองด้ามยาว ห้องต่อเชื้อ โรงเรือนบ่มเชื้อเห็ด

ข้อควรระวัง
1. เชื้อเห็ดที่ดีเส้นใยต้องไม่รวมตัวกันเป็นก้อน ตุ่มดอก เส้นใยสีขาวฟู
2. เชื้อเห็ดที่มีราชนิดอื่นปะปน เมื่อนำมาเขี่ยเชื้อทำให้ก้อนเชื้อเห็ดที่ได้เสีย
3. ห้องต่อเชื้อสภาพอากาศต้องนิ่ง เพราะจุลินทรีย์จะมากับฝุ่นละอองในอากาศทุกขั้นตอนปฏิบัติงาน ต้องปลอดเชื้อ การบ่มเชื้อเห็ดต้องระวังไม่ให้ถูกแสงและมีอากาศถ่ายเทดี เชื้อเห็ดจึงเจริญเติบโตดี
4. การเพาะเห็ดตีนแรดลงแปลง
1. เลือกพื้นที่ทำแปลงเพาะต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม ทำแปลงขนาด 1 X 2 ม.
2. ลงอินทรีย์วัตถุเช่นใบไม้แห้ง วัชพืช ปุ๋ยคอก ดินกลบรดน้ำให้ชุ่ม หมักไว้เป็นเวลา 2 เดือน เป็นการรองปุ๋ยก้นแปลง
3. นำก้อนเชื้อเห็ดตีนแรดที่เส้นใยเดินเต็มแล้วเอาถุงพลาสติกออก จัดเรียงลงแปลงเพาะจำนวน 100 ก้อน ใช้ดินกลบเล็กน้อยเอาฟางคลุมแปลงเพาะ ทำโครงไม้ไผ่ข้างบนคลุมด้วย ผ้าสแลนด์พลางแสง 80% ใช้ฟางคลุมทับผ้าสแลนด์เพื่อรักษาความชื้น
4. รดน้ำให้ชื้นอยู่เสมออย่า ให้แฉะสังเกตการเปลี่ยนแปลง

ผลการศึกษา
1. วัสดุเพาะเห็ดใช้สูตรผสมที่ใช้กับเห็ดทั่ว ๆ ไป หลังนึ่งฆ่าเชื้อแล้วใส่เชื้อเห็ดตีนแรดลงถุงวัสดุเพาะ เชื้อเห็ดใช้เวลาประมาณ 60 วัน จึงเดินเต็มถุงพร้อมเปิดดอก ลักษณะเส้นใยขาวฟูแข็งแรง เชื้อเห็ดเดินช้าเนื่องจากอากาศหนาว ( พ.ย. – ธ.ค. 46 )
1. การเตรียมแปลงเพาะได้เลียนแบบธรรมชาติโดยทำปุ๋ยหมักรองพื้นแปลง โดยทำไว้ประมาณ 60 วันก่อนลงก้อนเชื้อเห็ด ซึ่งทำในวันเดียวกันกับใส่เชื้อก้อนเห็ด ( พ.ย. – ธ.ค. 46 )
2. เมื่อนำก้อนเชื้อเห็ดที่เชื้อเดินเต็มถุงลงแปลงโดยเอาถุงพลาสติกออก ใช้ดินกลบเล็กน้อยเอาฟางคลุมแปลง พร้อมกับรดน้ำให้ความชื้นสม่ำเสมอ ( ม.ค. – ก.พ. 47 ) ต้นเดือนมกราคมอากาศหนาวมาก สังเกตพบเส้นใยขยายตัวน้อยมาก ช่วง กลาง – ปลาย เดือนมกราคม อากาศเริ่มร้อนขึ้นทำให้เส้นใยขยายตัวเป็นสีขาวฟูลุกลามไปทั่วก้อนเห็ดทั้งแปลงรวมไปถึงปุ๋ยหมักที่อยู่ข้างล่างแปลง กุมภาพันธ์อากาศร้อน ช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เส้นใยเห็ดที่เคยขาวฟูค่อย ๆ ลดไปปลายเดือนกุมภาพันธ์ สังเกตพบมีก้อนเห็ดเล็ก ๆ เกิดขึ้น หลังจากนั้นมีเห็ดตีนแรดเกิดขึ้น 5 กอ และโตเต็มที่ในเวลาประมาณ 7 วัน ดอกเห็ดมีขนาดใหญ่มากสูง 30 – 35 ซ.ม. แต่ละกอมีประมาณ 15 – 20 ดอก น้ำหนักเฉลี่ยกอละ 3 ก.ก.

สรุปและข้อเสนอแนะ
1. ก้อนเชื้อเห็ดตีนแรดเส้นใยมีการเจริญเติบโตที่ช้ามากอย่างน้อย 60 วันจึงเดินเต็มถุงถ้าอากาศหนาวจะช้ากกว่านี้
2. แปลงเพาะเห็ดที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ความชื้นพอเหมาะ อุณหภูมิที่สูงร้อนอบอ้าว จะชักนำให้เส้นใยเจริญเติบโตได้ดีและเกิดดอกเห็ด อินทรีย์วัตถุสูงทำให้เห็ดดอกใหญ่ น้ำหนักมาก
3. การเพาะเห็ดครั้งนี้เก็บผลผลิตได้รุ่นเดียวเนื่องจากต้นเดือนมีนาคม สอบปลายภาคและปิดเทอม ทำให้ไม่ทราบผลผลิตที่แท้จริงมีจำนวนเท่าใด
4. แปลงเพาะไม่ควรเป็นที่ลุ่มจะทำให้น้ำขังจากการสังเกตพบว่าถ้ารดน้ำเปียกมากทำให้เส้นใยไม่เจริญเติบโตและก้อนเชื้อเห็ดเน่า

เอกสารอ้างอิง
อนันท์ กล้ารอด. เอกสารประกอบการเรียนวิชาการเพาะเห็ดด้วยวัสดุผสม. ชัยภูมิ : โรงเรียนเนินสง่าวิทยา. , 2546.
อนงค์ จันทร์ศรีกุล. เห็ดเมืองไทยเทคโนโลยีการเพาะเห็ด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2542
บรรณ บูรณชนบท. การเพาะเห็ดนางรม – นางฟ้า. นนทบุรี : สำนักพิมพ์ฐานเกษตรกรรม. , 2541.
จุลจักร โนพันธ์. โครงงานเกษตรกรรม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช. , 2540.