วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2552

การเจริญเติบโตเห็ดสกุลเห็ดหิ้งที่ป่าชุมชนตำบลหนองฉิม อ.เนินสง่า จ.ชัยภูมิ


การเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ด

เส้นใยเห็ดเริ่มรวมตัวกัน



เส้นใยเห็ดรวมตัวกันเป็นก้อนดอกเห็ด


ดอกเห็ดระยะเจริญเติบโต



ดอกเห็ดโตเต็มที่มีการปล่อยสปอร์


เห็ดสกุลเห็ดหิ้งพบได้ทั่วไปตามต้นไม้เนื้อแข็งที่มีชีวิตและต้นไม้ที่ตายแล้ว ในป่าชุมชนตำบลหนองฉิม อำเภอเนินสง่า จังหวัดชัยภูมิ ผู้เขียนได้ทำการสำรวจและจัดเก็บข้อมูลพบว่าเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสูง และอากาศร้อน การเจริญเป็นช่วงๆ ตามสภาพพายุฝนเข้าและมีฝนตกความชื้นสูงสังเกตได้จากวงการเจริญของดอกเห็ด เมื่อหมดฤดูฝนอากาศแห้งเห็ดจะหยุดเจริญเติบโตและตายในที่สุด แต่สภาพของดอกเห็ดจะคงอยู่ระยะหนึ่งและถูกแมลงทำลาย เห็ดชนิดนี้ชาวบ้านนำมาบริโภคโดยกินนำต้มเห็ดเป็นยาสมุนไพรแต่เห็ดต้องขึ้นบนต้นไม้ที่ไม่เป็นพิษเท่านั้น

วันอาทิตย์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2552

โรงเรือนเพาะเห็ด

โรงเรือนเพาะเห็ด

1. การเลือกทำเลสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด
1.1 เป็นที่น้ำไม่ท่วม
1.2 เป็นที่อยู่ใกล้ถนน
1.3 ไม่ควรเป็นที่โล่งเกินไป
1.4 ที่กว้างพอสมควรเพื่อการขยายกิจการในวันข้างหน้า
1.5 อยู่ใกล้ที่พัก
1.6 อยู่ใกล้แหล่งน้ำสะอาดและมีน้ำสะอาดตลอดปี
2. วัตถุประสงค์ของการสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด
2.1 เพื่อเก็บรักษาความชุ่มชื้น
2.2 ป้องกันลมโกรกและแสงแดด
2.3 สะดวกในการเข้าไปปฏิบัติงาน
2.4 ป้องกันขโมยและสัตว์อื่นๆ เข้าไปรบกวน
2.5 ใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น คำนึงถึงความประหยัด
3. แบบของโรงเรือน
3.1 แบบถาวร อายุใช้งานนานหลายปี
3.2 แบบชั่วคราว อายุใช้งาน 1 – 3 ปี


โรงเรือนเพาะเห็ด
เห็ดนางรม – นางฟ้า เจริญได้ดีในระยะเป็นดอกเห็ดในที่อากาศมีความชื้นสูงขนาด 80 % ขึ้นไปจึงจำเป็นต้องเพาะในโรงเรือนที่เก็บความชื้นได้ ถ้ามีโรงเรือนเก่าก็อาจนำมาดัดแปลงใช้เพาะได้เช่นกันภายในโรงเรือนทำเป็นชั้นหรือเป็นแผง ไม่กำหนดสูตรว่าจะต้องทำเป็นแบบใด ขอเพียงแต่ใช้วางก้อนเชื้อเห็ดได้มากถุงและเอื้อมมือเข้าไปทำงานได้สะดวกเป็นพอ ลักษณะของโรงเรือนอาจเป็นโรงเรือนขนาดใหญ่หรือเป็นโรงเล็กหลายโรง ฝา หลังคา สามารถมุงด้วยจากหรือหญ้าคาได้ไม่ต้องลงทุนทำเป็นกระเบื้อง ขอเพียงแต่ให้เก็บความชื้นได้ดี ถ้าไม่แน่ใจเรื่องความชื้น ควรใช้ผ้าพลาสติกกรุทับภายในอีกชั้นหนึ่ง โดยเฉพาะส่วนที่เป็นผนัง
โรงเรือนควรเป็นพื้นคอนกรีต อย่างน้อยก็เป็นพื้นทราย ไม่ควรเป็นพื้นดินเพราะจะทำให้แฉะได้ภายหลัง ควรมีประตูให้สามารถลำเลียงก้อนเชื้อเข้าออกได้สะดวก มีช่องระบายอากาศออกได้ ปัจจุบันนิยมทำเป็นโรงเรือนขนาดใหญ่ ทำที่วางด้วยไม้ไผ่รวกไม่ทำเป็นชั้น แต่ใช้ไม้ไผ่ประกอบเป็นรูปตัวเอหรือรูปสามเหลี่ยมทรงสูง แล้วก้อนเชื้อซ้อนขึ้นไปให้ก้อนเชื้อหันปากถุงออกทั้งสองด้านของที่วาง ชั้นแบบนี้ประหยัดเนื้อที่และประหยัดค่าทำชั้นมาก ทั้งสะดวกในการทำงานดีด้วย
การเพาะก้อนเชื้อเห็ดจำนวนน้อยหรือเป็นงานอดิเรก โดยซื้อก้อนเชื้อมาเพาะนั้นไม่จำเป็นต้องทำโรงเรือนก็ได้ อาจใช้ตู้หรือลังไม้ ใช้ผ้าพลาสติกปิดโดยรอบ นำก้อนเชื้อเข้ามาวาง ยกไปวางในที่มุมอับไม่ถูกแดดก็ใช้ได้

การทำความสะอาดโรงเรือนเพื่อเตรียมการเพาะเห็ด
หลังจากที่เก็บผลผลิตหมดแล้ว ให้นำก้อนเชื้อเห็ดออกจากชั้นเพาะเห็ดให้หมด ทำการล้างชั้นเพาะเห็ด โรงเรือนเพาะเห็ด ด้วยผงซักฟอกแล้วล้างด้วยน้ำจนสะอาด ปล่อยทิ้งให้แห้ง 2 – 3 วัน จึงทำการอบไอน้ำร้อนที่อุณหภูมิ 70 – 80 องศาเซลเซียส นาน 3 ช.ม. เพื่อฆ่าเชื้อราและศัตรูเห็ดที่หลงเหลืออยู่ หากปล่อยโรงเรือนทิ้งไว้นานเกินไป เมื่อจะทำการเพาะเห็ดครั้งใหม่ให้ทำความสะอาดและอบไอน้ำร้อนเสียก่อน จึงนำก้อนเชื้อเห็ดเข้าไปทำการเปิดดอก


วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด

วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ด
วัสดุที่ใช้ในการเพาะเห็ดนางฟ้า – นางรม การเพาะเห็ดนางฟ้า – นางรม สามารถเพาะได้ด้วยวิธีง่ายๆ โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรอย่างมากมายหลายชนิด นำมาใช้เป็นวัตถุดิบเพาะได้ อาจใช้วัตถุดิบเดี่ยวๆ หรือผสมกันหลายๆ อัตราส่วนเป็นวัสดุเพาะเช่นฟาง ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว ไส้นุ่น เศษใบไม้ใบหญ้า หรือแม้แต่วัสดุที่ใช้เพาะเห็ดอื่นๆ แล้วก็สามารถนำมาเพาะเห็ดนางรมนางฟ้าได้
นอกจากนี้เราอาจเติมสารอาหารลงไปคลุกเคล้าผสมด้วยเพื่อเพิ่มปริมาณอาหารให้มากขึ้น อาหารเสริมก็มีรำละเอียด รำหยาบ กากถั่วป่น ในอัตราประมาณ 3 – 10 % โดยน้ำหนักก็ได้
การเติมสารเคมีบางชนิดในรูปของเกลืออนินทรีย์ เช่นแมกนีเซียมซัลเฟต แอมโมเนียมซัลเฟต ยิปซั่ม ปุ๋ยดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟตลงไปในกองปุ๋ยหมัก เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อเห็ดนั้น แม้ว่าโดยหลักการแล้วเห็ดไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ไดโดยตรง แต่เมื่อเติมปุ๋ยเหล่านี้ลงไปในกองปุ๋ยหมัก จุลินทรีย์จำพวกบัคเตรีหลายชนิดจะเจริญได้ดีขึ้นและบางส่วนของปุ๋ยได้กลายเป็นอินทรีย์วัตถุในตัวของบัคเตรี ซึ่งเห็ดจะสามารถนำไปใช้ในภายหลังได้
เห็ดที่เพาะในท่อนไม้ได้ สามารถนำมาพัฒนาเพาะในถุงให้ผลผลิตดีและเป็นที่นิยมกันมาก โดยใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะ ขี้เลื่อยที่หาง่ายในปัจจุบันได้แก่ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้ก้ามปูหรือไม้ฉำฉา บางชนิดต้องปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมหรือต้องเพาะในที่มีอากาศเย็น เช่นเห็ดหอม ขี้เลื่อยของไม้บางชนิดมียาง จำเป็นต้องหมักกับน้ำและปูนขาวไว้ 4 – 5 วัน ก่อนที่จะนำมาใช้ขี้เลื่อยของไม้บางชนิดเช่นไม้ยางพาราถึงแม้จะมีน้ำยางแต่ก็นำมาใช้ได้เลยไม่ต้องผ่านการหมักนาน ก่อนนำขี้เลื่อยมาใช้ควรหมักน้ำไว้ 1 – 2 คืน จะดีกว่าใช้ขี้เลื่อยแห้ง
เนื่องจากในขี้เลื่อยมีอาหารน้อย จึงนิยมเพิ่มอาหารเสริมจำพวกคาร์โบไฮเดรท เช่น น้ำตาล แป้งข้าวเจ้าหรือแป้งข้าวโพด หรือแป้งข้าวเหนียว จำพวกโปรตีน เช่น รำละเอียด กากถั่ว และบางแห่งใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ช่วย เช่น ปุ๋ยไนโตรเจน ปุ๋ยฟอสเฟตในรูปของหินฟอสเฟตหรือปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟตเป็นต้นและดีเกลือซึ่งช่วยในการย่อยอาหารของเห็ด บางแห่งใช้ยิปซัมซึ่งช่วยในการปรับความเป็นกรดหรีอด่างในวัสดุเพาะนอกจากนี้ ยังให้ธาตุแคลเซี่ยมแก่เห็ดด้วยทำให้เส้นใยแข็งแรงส่วนใหญ่จะใช้ปูนขาว สูตรอาหารจะแตกต่างกันไปการเพิ่มสูตรอาหารจะทำให้ค่าใช้จ่ายสูงขึ้น เหมาะสำหรับการเพาะเห็ดที่มีราคาเช่น เห็ดหอม เห็ดหมื่นปีหรือเห็ดหลินจือ แต่ควรใช้อาหารเสริมวิทยาศาสตร์แต่น้อย เพราะถ้าใช้มากปุ๋ยจะมีความเข้มข้น มีผลทำให้เส้นใยเจริญเติบโตช้าหรือหยุดชะงัก สูตรอาหารที่นิยมใช้กันมีดังต่อไปนี้



สูตรที่ 1 (สำหรับเห็ดที่มีราคาถูก เช่น เห็ดนางรม)

ขี้เลื่อย 100 ก.ก.
รำละเอียด 3 – 5 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ดีเกลือ 0 – 2 ก.ก.
น้ำ 60 – 70 %

สูตรที่ 2 (สำหรับเห็ดที่มีราคา เช่น เห็ดหอม)

ขี้เลื่อย 100 ก.ก.
รำละเอียด 3 – 5 ก.ก.
น้ำตาล 1 – 3 ก.ก.
แป้งข้าวเหนียว 1 – 2 ก.ก.
ยิปซัม 0.5 – 1 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
น้ำ 60 – 70 %
หมายเหตุ สูตรนี้จะใช้แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวโพด แทนแป้งข้าวเหนียวก็ได้ และจะใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีโปรตีนสูงใส่เสริมก็ได้เล็กน้อย เช่นกากถั่วเหลืองแต่ต้องใช้ปริมารไม่ควรเกิน 1 – 5 % การเพิ่มสารอาหารจำพวกนี้หากมากเกินไปจะมีข้อเสียที่มีราปนเปื้อนเกิดขึ้นสูง ทำให้ก้อนเห็ดเสียได้ง่าย


สูตรที่ 3


ขี้เลื่อย 100 ก.ก.
ปุ๋ยยูเรีย 1 ก.ก.
น้ำตาล 1 – 3 ก.ก.
ปูนขาว 1 ก.ก.
ดีเกลือ 0.2 ก.ก.
ปุ๋ยฟอสเฟต 1 ก.ก.
น้ำ 60 – 70 %
สูตรนี้ควรหมักขี้เลื่อยกับน้ำและปุ๋ยยูเรียไว้ก่อน และถ้าเป็นขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณที่ไม่ทราบว่าเป็นขี้เลื่อยไม้อะไรบ้าง ควรจะหมักขี้เลื่อยและมีการกลับกอง 2 – 3 อาทิตย์ต่อครั้ง ใช้เวลาหมักประมาณ 1 – 2 เดือน จึงนำมาใช้จะทำให้เส้นใยเดินดีเพราะขี้เลื่อยเปื่อยบ้างแล้ว อีกประการหนึ่งปุ๋ยยูเรียจะให้ กาซแอมโมเนียซึ่งเป็นอันตรายต่อเส้นใยเห็ด ควรหมักไว้จนไม่มีกลิ่นจึงนำมาใช้