วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ดอกเห็ด


ส่วนประกอบของดอกเห็ด

เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตจำพวกเห็ดรา Fungi มีการเจริญเติบโตแบบเส้นใย จากนั้นเส้นใยรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนเป็นตุ่มดอกเห็ด แล้วเจริญเติบโตมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อเห็ดโตเต็มที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังนี้

วงจรชีวิตของเห็ด

วงจรชีวิตของเห็ดมี 2 แบบ




วงจรชีวิตเห็ดแบบไม่ต้องผสม (Homothallic)
วงจรชีวิตเห็ดที่เริ่มจากสปอร์แบบนี้ แต่ละสปอร์สามารถเจริญเป็นดอกเห็ดจนครบวงจรชีวิตได้เอง เริ่มต้นด้วยแต่ละสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยเรียกว่าเส้นใยระยะที่ 1 เส้นใย ระยะที่ 1 จะมีจำนวนนิวเคลียสเพียง 1 นิวเคลียสในแต่ละเซลล์ เมื่อเส้นใยระยะที่ 1 เจริญอยู่ระยะหนึ่งก็จะมีการพัฒนาตัวเองให้กลายเป็นเส้นใยระยะที่ 2 ซึ่งมีนิวเคลียส 2 นิวเคลียสในแต่ละเซลล์ เส้นใยระยะที่ 2 นี้เองที่จะรวมกันเป็นกลุ่มก้อนเล็กๆ แล้วค่อยๆ เจริญเติบโตจนเป็นดอกเห็ดที่สามารถสร้างสปอร์ได้อีก สปอร์ของดอกเห็ดแต่ละสปอร์ก็จะสามารถเจริญเป็นดอกเห็ดต่อไปอีกหมุนเวียนเป็นวงจรดังกล่าวมาแล้ว


วงจรชีวิตเห็ดแบบต้องผสมHeterothallic
เห็ดบางชนิดสร้างสปอร์แตกต่างจากแบบแรก คือ แต่ละสปอร์ไม่สามารถเจริญเป็นดอกเห็ด คงเจริญเป็นได้เฉพาะเส้นใย ซึ่งเราเรียกว่าเส้นใยหมัน เส้นใยหมันก็คือเส้นใย ระยะที่ 1 ซึ่งไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้เป็นเส้นใยระยะที่ 2 การเกิดเส้นใยระยะที่ 2 จึงต้องอาศัยการผสมเส้นใยที่เจริญเป็นเส้นใยในระยะที่ 1 การผสมเส้นใยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเส้นใยระยะที่ 1 ที่จะมาผสมกันนั้นจะต้องเป็นเส้นใยจาก สปอร์อื่นที่จะรวมเข้ากันได้เท่านั้น (Compatible) เมื่อเส้นใยทั้งสองรวมกันแล้วก็จะมีการพัฒนาเส้นใยเป็นเส้นใยระยะที่ 2 ซึ่งจะเจริญเติบโตรวมเป็นกลุ่มก้อนดอกเห็ดต่อไป

เห็ดเกิดขึ้นได้อย่างไร



เห็ด(mushrooms)

เห็ด (Mushrooms) เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มหนึ่ง ในปัจจุบัน เห็ดจัดจำแนกไว้ในอาณาจักรรา (Kingdom Fungi หรือ Eumycota) แตกต่างจากการจัดจำแนกในอดีตที่จัดเห็ดราเป็นพืชชั้นต่ำที่ไม่มีคลอโรฟิลล์ (chlorophyll) เหมือนอย่างพืช จึงไม่สามารถใช้แสงแดดมาสังเคราะห์อาหารได้อย่างพืช ราได้รับอาหารจากการดูดซึมอาหารที่ย่อยสลายแล้วด้วยเอนไซม์ เห็ดเป็นราขนาดใหญ่ซึ่งมีการเจริญเติบโตเป็นเส้นใย เมื่อถึงระยะที่จะสืบพันธุ์เส้นใยจะรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนดอกเห็ดเพื่อสร้างสปอร์ไว้กระจายพันธุ์ต่อไป ดอกเห็ดมีรูปร่างสวยงามแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิด เช่น บางชนิดมีรูปร่างเหมือนร่มกาง บางชนิดมีรูปร่างเหมือน ต้นปะการัง บางชนิดมีรูปร่างเหมือนรังนก ดอกเห็ดมีขนาดตั้งแต่เล็กเท่าหัวไม้ขีดไฟจนถึงขนาดใหญ่ สีสดสวยสะดุดตาและสีกลมกลืนไปกับสภาพแวดล้อม บางชนิดมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แต่บางชนิดก็มีกลิ่นเหม็นทำให้เวียนศีรษะได้ แหล่งกำเนิดของเห็ดแต่ละชนิดแตกต่างกัน บางชนิดเกิดในป่าบนภูเขา บนพื้นดินในทุ่งนา บนตอไม้ บนพื้นดินที่มีจอมปลวก บนพืชหรือบนเห็ดด้วยกัน เห็ดบางชนิดรับประทานได้ บางชนิดเป็นเห็ดมีพิษถ้าเก็บมารับประทานอาจเสียชีวิตได้ เพราะพิษของเห็ดเข้าไปในระบบเลือดซึ่งกระจายไปทั่วร่างกาย ไม่ตกค้างในกระเพาะ แต่เห็ดมีพิษบางชนิดก็อาจทำให้มึนเมาและ อาเจียรซึ่งมีวิธีแก้ไขโดยทำให้อาเจียรโดยเร็วทำให้ไม่ถึงกับเสียชีวิต
ดอกเห็ดสดมีน้ำอยู่มากถึง 90% นอกจากนี้ก็มีโปรตีน ไขมัน เกลือ และแร่ธาตุ ซึ่งมีวิตามินบี 1 และบี 2 มากกว่าวิตามินอื่นๆ ยกเว้นเห็ดที่มีสีเหลือง มีวิตามินเอมาก เห็ดทั่วๆ ไปชอบขึ้นบนอินทรีย์วัตถุที่เน่าเปื่อยผุพัง เช่น ตามพื้นดินในป่าที่มีใบไม้ผุเปื่อยตกหล่นอยู่ตามกองปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือทุ่งนาที่มีหญ้าผุเปื่อย ยกเว้นเห็ดบางชนิดที่ขึ้นเฉพาะแห่งและมีอาหารพิเศษด้วย เช่น เห็ดโคน ซึ่งขึ้นเฉพาะที่ที่มีรังปลวกอยู่ใต้ดินเท่านั้น เห็ดบางชนิดเจริญร่วมกับรากพืชแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน โดยเห็ดสามารถช่วยเพิ่มการดูดซึมธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ให้แก่พืช เห็ดส่วนมากนำมาเพาะเลี้ยงในอาหารที่สังเคราะห์ขึ้นได้ ยกเว้นเห็ดโคนเท่านั้น ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะเห็ดต้องมีอาหารพิเศษจากปลวก หรืออาจเป็นเพราะเรายังไม่ทราบสูตรอาหารหรือ สภาพแวดล้อมที่แท้จริงของเห็ดชนิดนี้ การศึกษาเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดนี้เป็นที่สนใจของนักวิทยาศาสตร์ เพราะเป็นเห็ดที่มีรสอร่อยมาก ปัจจุบันมี อุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงเห็ดชนิดอื่น ได้แก่ เห็ดฟาง เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดกระดุมหรือเห็ดฝรั่งชนิดที่ ใช้ทำ เห็ดกระป๋อง ซึ่งได้ขยายกิจการกว้างขวางขึ้น เห็ดจึงมีทั้งให้ประโยชน์และให้โทษ เห็ดที่ให้ประโยชน์ได้แก่เห็ดที่นำมารับประทานได้ในรูปของอาหาร สมุนไพร และช่วยการเจริญเติบโตของพืช เห็ดที่ให้โทษ ได้แก่ เห็ดจำพวกมีพิษ ทำลายพืชอาศัยและเนื้อไม้

สภาพดินฟ้าอากาศของประเทศไทยเหมาะกับการเจริญเติบโตของเห็ดมาก ฉะนั้น โดยเฉพาะใน ฤดูฝนจึงมีเห็ดชุกชุมตามภาคต่าง ๆ เห็ดบางชนิดมีกลิ่นหอมรสหวานไม่แพ้เห็ดฟางหรือเห็ดโคน เช่น เห็ดหอม เห็ดจั่น จึงมีผู้สนใจศึกษาค้นคว้าการเพาะเห็ดรสดีชนิดอื่นๆ กันมากขึ้น รวมทั้งการเสาะแสวงหาเห็ดที่จะนำมาใช้ทางการแพทย์
กลุ่มเส้นใย (Mycelium) ก่อนที่จะเป็นดอกเห็ด เราจะเห็นบริเวณนั้นมีเส้นใยราสีขาวก่อตัวหรือรวมตัวกันเป็นก้อนใหญ่ ซึ่งเราเรียกเส้นใยรวมกันอยู่นี้ว่า Mycelium เห็ดบางชนิดจะมีเส้นใยรวมตัวกันเป็นก้อนแข็งอยู่ที่โคนก้านดอกหรือเป็นเส้นหยาบมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่เห็ดบางชนิดมีเส้นใยละเอียดเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นลักษณะดังกล่าว โดยปกติ เส้นใยของเห็ดจะเป็นสีขาวนวลแทรกซึมอยู่ตามที่มันอาศัย