กิจกรรมเพาะเห็ดโต่งฝน
เตรียมปุ๋ยหมักสำหรับเพาะในกระบะ
วัสดุเพาะใช้เปลือกข้าวโพดและฟางข้าว
เพาะแบบฝังดินลงแปลง
หมักวัสดุเพาะไว้ 7 วัน กลับกองทุก 3 วัน
เพาะแบบลงแปลงต้องคลุมด้วยผ้าแสลน
ก้อนเชื้อเห็ดที่เส้นใยเดินเต็มถุงนำพลาสติดออกก่อนนำไปเพาะ
เพาะในกระบะต้องรักษาความชื้นสัมพัทธ์ให้ได้มากกว่า 80%
ดอกเห็ดอายุ 2 วันเหมาะสำหรับนำไปเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เพาะในถุงปุ๋ย
เพาะในแปลง
เห็ดโต่งฝน คำว่าโต่งฝน หรือ ต่งฝน เป็นภาษาอีสาน แปลว่าภาชนะรองรับน้ำฝน เมื่อเข้าสู่ฤดูฝน ดอกเห็ดจะเจริญงอกงามได้เร็ว
ดอกมีขนาดใหญ่จนสามารถใช้รองน้ำฝนได้เมื่อฝนตก นั่นเอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lentinus gigeatus เห็ดสกุลเลนตินัส (Lentinus) นี้
ที่เราคุ้นเคยกัน ได้แก่ เห็ดหอม เห็ดขอนขาว เห็ดกระด้าง และเห็ดตีนปลอก
เป็นเห็ดดอกใหญ่
รสชาติดี ในธรรมชาติ เห็ดโต่งฝน จะขึ้นได้ดีในดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ดินอุดมสมบูรณ์
มีความชื้นสูง อากาศร้อนอบอ้าว พบมากในฤดูฝน แหล่งที่เคยมีเห็ดชนิดนี้ขึ้นมาก่อน
ก็จะขึ้นงอกงามในบริเวณเดิมนั้น
ต้นกำเนิดมาจากลาวงอกงามดีที่ไทย
เห็ดโต่งฝน มีถิ่นกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว(สปป.ลาว) ลักษณะดอกเห็ดเมื่อเล็กคล้ายถ้วยหรือกรวย ดอกมีขนาดเล็กตั้งแต่เท่าถ้วยเล็กๆ จนถึงขนาดฝ่ามือหรือใหญ่เท่าหมวกก็มี ดอกโตเต็มที่ขอบดอกหยักและม้วนขึ้น มีลักษณะดอกคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อ หมวกดอกทรงร่ม สีครีม ในช่วงดอกตูมจะมีรูปร่างกลม ๆ มีขนอ่อน ๆ สีน้ำตาลอ่อน เมื่อดอกโตขึ้น ปลายดอกจะบานเต็มที่ สีจะจางลงเป็นสีครีมขาว และแผ่แบนออกเต็มที่ ส่วนก้านดอกจะใหญ่แข็งและเหนียว เวลานำไปปรุงอาหารต้องปอกเปลือกที่ก้านออกก่อน เมื่อปรุงสุกแล้ว จะทำให้ก้านเห็ดอ่อนนุ่ม
ดอกเห็ดที่เกิดจากบริเวณดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ดอกจะใหญ่มาก บางดอกหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม เพาะได้โดยการทำก้อนเชื้อเหมือนเห็ดถุงทั่วๆไป ชอบความชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน แต่การเปิดดอก ให้นำก้อนเชื้อเห็ดโต่งฝนมาฝังในถุงปุ๋ยที่ใส่ดินร่วนผสมกับอินทรียวัตถุในปริมาณ 1:1 หรือฝังลงในดินที่ปูรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว หรือเพาะในตะกร้าก็ได้ โดยเพาะลงดินเลียนแบบธรรมชาติ สถานที่เพาะเห็ดนี้ จะต้องอยู่ในที่ร่ม เช่นใต้ร่มไม้ใหญ่ อากาศค่อนข้างเย็น รดน้ำแบบปลูกผัก เห็ดจะงอกภายใน 40 วัน เก็บผลผลิตได้ 4 - 6 เดือน ผลผลิต 1.5-5 กก./ถุงปุ๋ย และเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 สัปดาห์
เห็ดโต่งฝนเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเห็ดที่เพาะง่าย เมื่อนำดอกอ่อนระยะดอกเห็ดรูปกรวยมาเขี่ยเชื้อ แล้วประยุกต์วิธีการเพาะ ก็ให้ผลดี มีการเพาะเห็ดชนิดนี้มานานพอสมควรแล้ว ไม่ต้องสร้างโรงเรือนสำหรับเปิดดอกเห็ดเหมือนเห็ดนางรม นางฟ้า สามารถเพาะแบบเดียวกับเห็ดตีนแรดคือฝังดินตื้นๆ พร้อมกับโรยเมล็ดพันธุ์ผักไปด้วย ได้ทั้งเห็ดได้ทั้งผัก ยังสามารถปลูกในถุงปุ๋ยที่ตัดมุมก้นถุงทั้งสองข้างออก แล้วคลุมทับก้อนเชื้อเห็ดด้วยดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์ สามารถวางถุงเพาะเห็ดกลางแจ้งในหน้าฝนหรือใต้ร่มไม้ฤดูที่ฝนไม่ตก แดดไม่แรง การรดน้ำเห็ดเท่ากับการรดน้ำให้แก่ต้นไม้ไปในตัว น้ำที่ผ่านก้อนเชื้อเห็ด ยังช่วยให้ต้นไม้ได้รับอาหารเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
ต้นกำเนิดมาจากลาวงอกงามดีที่ไทย
เห็ดโต่งฝน มีถิ่นกำเนิดในประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว(สปป.ลาว) ลักษณะดอกเห็ดเมื่อเล็กคล้ายถ้วยหรือกรวย ดอกมีขนาดเล็กตั้งแต่เท่าถ้วยเล็กๆ จนถึงขนาดฝ่ามือหรือใหญ่เท่าหมวกก็มี ดอกโตเต็มที่ขอบดอกหยักและม้วนขึ้น มีลักษณะดอกคล้ายเห็ดเป๋าฮื้อ หมวกดอกทรงร่ม สีครีม ในช่วงดอกตูมจะมีรูปร่างกลม ๆ มีขนอ่อน ๆ สีน้ำตาลอ่อน เมื่อดอกโตขึ้น ปลายดอกจะบานเต็มที่ สีจะจางลงเป็นสีครีมขาว และแผ่แบนออกเต็มที่ ส่วนก้านดอกจะใหญ่แข็งและเหนียว เวลานำไปปรุงอาหารต้องปอกเปลือกที่ก้านออกก่อน เมื่อปรุงสุกแล้ว จะทำให้ก้านเห็ดอ่อนนุ่ม
ดอกเห็ดที่เกิดจากบริเวณดินที่มีอินทรีย์วัตถุสูง ดอกจะใหญ่มาก บางดอกหนักมากกว่า 1 กิโลกรัม เพาะได้โดยการทำก้อนเชื้อเหมือนเห็ดถุงทั่วๆไป ชอบความชื้นสูง โดยเฉพาะในฤดูฝน แต่การเปิดดอก ให้นำก้อนเชื้อเห็ดโต่งฝนมาฝังในถุงปุ๋ยที่ใส่ดินร่วนผสมกับอินทรียวัตถุในปริมาณ 1:1 หรือฝังลงในดินที่ปูรองพื้นด้วยปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว หรือเพาะในตะกร้าก็ได้ โดยเพาะลงดินเลียนแบบธรรมชาติ สถานที่เพาะเห็ดนี้ จะต้องอยู่ในที่ร่ม เช่นใต้ร่มไม้ใหญ่ อากาศค่อนข้างเย็น รดน้ำแบบปลูกผัก เห็ดจะงอกภายใน 40 วัน เก็บผลผลิตได้ 4 - 6 เดือน ผลผลิต 1.5-5 กก./ถุงปุ๋ย และเก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 1 สัปดาห์
เห็ดโต่งฝนเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นเห็ดที่เพาะง่าย เมื่อนำดอกอ่อนระยะดอกเห็ดรูปกรวยมาเขี่ยเชื้อ แล้วประยุกต์วิธีการเพาะ ก็ให้ผลดี มีการเพาะเห็ดชนิดนี้มานานพอสมควรแล้ว ไม่ต้องสร้างโรงเรือนสำหรับเปิดดอกเห็ดเหมือนเห็ดนางรม นางฟ้า สามารถเพาะแบบเดียวกับเห็ดตีนแรดคือฝังดินตื้นๆ พร้อมกับโรยเมล็ดพันธุ์ผักไปด้วย ได้ทั้งเห็ดได้ทั้งผัก ยังสามารถปลูกในถุงปุ๋ยที่ตัดมุมก้นถุงทั้งสองข้างออก แล้วคลุมทับก้อนเชื้อเห็ดด้วยดินร่วนผสมปุ๋ยอินทรีย์ สามารถวางถุงเพาะเห็ดกลางแจ้งในหน้าฝนหรือใต้ร่มไม้ฤดูที่ฝนไม่ตก แดดไม่แรง การรดน้ำเห็ดเท่ากับการรดน้ำให้แก่ต้นไม้ไปในตัว น้ำที่ผ่านก้อนเชื้อเห็ด ยังช่วยให้ต้นไม้ได้รับอาหารเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่ง
การปรุงอาหารจากเห็ดโต่งฝน นั้น
จะต้องลอกเอาเนื้อหุ้มก้านดอกออกเสียก่อน ไม่เช่นนั้น
มันจะมีลักษณะคล้ายยางขมเฝื่อนติดในลำคอ คล้ายยางที่หุ้มเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งเป็น
ลักษณะเฉพาะ หรือ เป็นความโดดเด่นเฉพาะตัวของเห็ดโต่งฝน ยางขมนั้น เป็นสารสำคัญที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค คือมีสาร เบต้ากลูแคน ที่ช่วยสร้างภูมิต้านทาน และต่อต้านอนุมูลอิสระ คาดว่าในอนาคตไม่ไกล เห็ดโต่งฝน จะก้าวขึ้นมาเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่มีศักยภาพในเชิงธุรกิจเพื่อการนำมาสกัดสารเบต้ากลูแคนในอนาคตได้ เพราะมีวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก แถมเห็ดที่ได้ ก็ดอกโตมาก คุ้มค่าน่าลงทุนเป็นได้ทั้งอาหารและยา
ธรรมชาติของเห็ดโต่งฝน
เป็นเห็ดที่เจริญเติบโตโดยอาศัยอยู่ภายในท่อนไม้ที่ถูกกลบฝังดินอยู่ โดยมันจะย่อยเศษไม้ เศษพืช แล้วใช้เป็นอาหารในการเจริญเติบโต เมื่อเส้นใยมีจำนวนมาก ดินมีความชื้นพอดี จะสร้างดอกเห็ดขึ้นมาเหนือผิวดิน ลักษณะคล้ายถ้วยในขณะเล็กแล้วค่อย ๆ บานออก จนรองรับฝนได้
การเพาะในจัตุรัสวิทยาคาร
เก็บเห็ดโต่งฝนดอกอ่อนอายุประมาณ 2-3 วัน ระยะดอกคล้ายรูปกรวยนำเนื้อเยื่อก้านดอกมาเพาะเลี้ยงในอาหารวุ้น PDA. เนื้อเยื่อจากดอกอ่อนจะให้เส้นใยเห็ดที่แข็งแรงเจริญเร็วมาก เขี่ยเชื้อเห็ดแล้ว นำมาเลี้ยงในอาหารวุ้นแบบเห็ดทั่วๆไป ใช้เวลา 8-10 วัน เส้นใยเดินเต็มอาหารวุ้น แล้วขยายเชื้อไปเลี้ยงในหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้เวลา 12-15 วัน เส้นใยเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง เมื่อเชื้อเจริญเต็มเมล็ดข้างฟ่างแล้ว ก็เพาะลงถุงขี้เลื่อยหรือปุ๋ยหมักผสมขี้เลื่อยรำละเอียด และปูนขาว เหมือนสูตรการเพาะเห็ดทั่วๆ ไปสำหรับที่โรงเรียนในท้องถิ่นมีเปลือกข้าวโพดแห้งจำนวนมากเป็นผลผลิตจากลานรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อสีข้าวโพดเอาเมล็ดแล้วผลพลอยได้เป็นเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพด จำนวนมหาศาลซังข้าวโพดขายเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ส่วนเปลือกข้าวโพดเผาทิ้งทำให้เกิดมลพิษ จึงได้นำมาทดลองเพาะเห็ด จนได้สูตรที่เหมาะสมดังนี้ เปลือกข้าวโพดแห้ง 100 ก.ก. น้ำ 65 ก.ก. ผสมทีละน้อยให้เข้ากันเนื่องจากการดูดซับน้ำมีน้อย หมักไว้ 21 วัน กลับกองหมักทุก 3 วัน เพื่อให้เปลือกข้าวโพดอ่อนตัว กองหมักคลุมด้วยผ้าพลาสติก วันที่ 22 ผสมรำละเอียด 5 ก.ก. ปูนขาว 2 ก.ก. (สูตรนี้เพาะเห็ดนางรม นางฟ้า เป๋าฮื้อได้) บรรจุถุงเพาะเห็ด นำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ100 องศาเซลเซียส เวลา 3 ช.ม. นำออกจากถังนึ่งทิ้งไว้ให้เย็น
ใส่หัวเชื้อเห็ดโต่งฝนที่เตรียมไว้ ปล่อยให้เส้นใยเจริญเต็มถุง ใช้เวลาประมาณ 35
- 45 วัน สำหรับฤดูร้อน ส่วนฤดูหนาวจำนวนวันจะเพิ่มขึ้น
แล้วพักตัวเพื่อให้เส้นใยรัดตัวคล้ายแผ่นสีขาว ใช้เวลาประมาณ 7 วัน ก็พร้อมต่อการฝังดินให้เกิดดอกเห็ด โดยนำไปเพาะแบบแปลง หรือเพาะในกระสอบถุงปุ๋ย หรือกระบะเพาะ
หรือใช้สูตร เปลือกข้าวโพด 50
ก.ก. ฟางข้าว 50
ก.ก. น้ำ 65 ก.ก.
ผสมทีละน้อยให้เข้ากันเนื่องจากการดูดซับน้ำมีน้อย หมักไว้ 7 วัน กลับกองหมักทุก 2 วัน เพื่อให้วัสดุเพาะอ่อนตัว กองหมักคลุมด้วยผ้าพลาสติก วันที่ 8 ผสมรำละเอียด 5 ก.ก. ปูนขาว 2 ก.ก.
(สูตรนี้เพาะเห็ดนางรม นางฟ้า เป๋าฮื้อได้)
บรรจุถุงนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ
การเพาะในแปลง
แปลงที่ฝังก้อนเชื้อ จะเป็นใต้ร่มไม้หรือกลางแจ้งก็ได้ ความลึกให้พอฝังก้อนในแนวตั้ง แล้วกลบดินลึกอีก 1-2 นิ้ว วางก้อนเชื้อเห็ดที่แกะถุงพลาสติกออกแล้ว เรียงติดกัน 5-6 ก้อนหรือมากกว่า วางติดกันไป เส้นใยจะประสานกันเอง ดินที่คลุมผสมปุ๋ยอินทรีย์ด้วย รดน้ำให้ชุ่มชื้น เมื่อฝนไม่ตก แต่อย่าให้น้ำขังแฉะ หรือจะนำก้อนเห็ดมาเพาะในดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ในถุงปุ๋ยตัดมุมก้นถุงเพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ดินผสมรองพื้นหนา6 นิ้ว วางก้อนเชื้อเห็ดที่แกะถุงพลาสติกออกแล้ว เรียงติดกัน 5 ก้อน/ถุง ใส่ดินผสมลงด้านข้างและกลบด้านบนหนา 2 นิ้ว รดน้ำให้ชุ่ม จัดวางในร่มทำโครงไม้ไผ่ข้างบน คลุมด้วยผ้าสแลนพรางแสง
80% ใช้ฟางคลุมทับผ้าสแลนเพื่อรักษาความชื้น หลังจากนั้นประมาณ 35-40 วัน ดอกเห็ดจะงอก นับเป็นเห็ดที่เพาะได้ง่าย ไม่มีวิธีที่ยุ่งยากนัก
หากทำการคลุมดิน และรักษาสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เห็ดโต่งฝนจะผลิออกมาเป็นกอ จำนวน 2-12
ดอก/กอ น้ำหนัก 1-3 กก. ขึ้นอยู่กับคุณภาพของวัสดุปลูก การเพาะลงถุงจะให้ผลผลิตดีกว่าเพาะลงแปลง
เนื่องจากสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมปัจจัยต่างๆ ได้ง่าย
เทคนิคการเพาะเห็ดโต่งฝนลงแปลง
การเลือกพื้นที่ พื้นที่จะใช้ทำแปลงเพาะเห็ดโต่งฝน นั้น ต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม ทำแปลงขนาด 1 X2 เมตร เป็นพื้นที่เรียบ เมื่อรดน้ำ
น้ำไหลสะดวก ไม่ท่วมขัง
ใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว หรืออินทรียวัตถุ เช่นใบไม้แห้ง วัชพืช ปุ๋ยคอก ใส่ลงในแปลงที่เตรียมไว้แล้วใช้ดินร่วนกลบ รดน้ำให้ชุ่ม หมักไว้เป็นเวลา 2 เดือน เป็นการรองปุ๋ยอินทรีย์ก่อนเพาะเห็ด
ลักษณะเฉพาะ หรือ เป็นความโดดเด่นเฉพาะตัวของเห็ดโต่งฝน ยางขมนั้น เป็นสารสำคัญที่มีคุณสมบัติเป็นยารักษาโรค คือมีสาร เบต้ากลูแคน ที่ช่วยสร้างภูมิต้านทาน และต่อต้านอนุมูลอิสระ คาดว่าในอนาคตไม่ไกล เห็ดโต่งฝน จะก้าวขึ้นมาเป็นเห็ดเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่ง ที่มีศักยภาพในเชิงธุรกิจเพื่อการนำมาสกัดสารเบต้ากลูแคนในอนาคตได้ เพราะมีวิธีการเพาะที่ไม่ยุ่งยาก แถมเห็ดที่ได้ ก็ดอกโตมาก คุ้มค่าน่าลงทุนเป็นได้ทั้งอาหารและยา
ธรรมชาติของเห็ดโต่งฝน
เป็นเห็ดที่เจริญเติบโตโดยอาศัยอยู่ภายในท่อนไม้ที่ถูกกลบฝังดินอยู่ โดยมันจะย่อยเศษไม้ เศษพืช แล้วใช้เป็นอาหารในการเจริญเติบโต เมื่อเส้นใยมีจำนวนมาก ดินมีความชื้นพอดี จะสร้างดอกเห็ดขึ้นมาเหนือผิวดิน ลักษณะคล้ายถ้วยในขณะเล็กแล้วค่อย ๆ บานออก จนรองรับฝนได้
การเพาะในจัตุรัสวิทยาคาร
เก็บเห็ดโต่งฝนดอกอ่อนอายุประมาณ 2-3 วัน ระยะดอกคล้ายรูปกรวยนำเนื้อเยื่อก้านดอกมาเพาะเลี้ยงในอาหารวุ้น PDA. เนื้อเยื่อจากดอกอ่อนจะให้เส้นใยเห็ดที่แข็งแรงเจริญเร็วมาก เขี่ยเชื้อเห็ดแล้ว นำมาเลี้ยงในอาหารวุ้นแบบเห็ดทั่วๆไป ใช้เวลา 8-10 วัน เส้นใยเดินเต็มอาหารวุ้น แล้วขยายเชื้อไปเลี้ยงในหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่าง ใช้เวลา 12-15 วัน เส้นใยเดินเต็มเมล็ดข้าวฟ่าง เมื่อเชื้อเจริญเต็มเมล็ดข้างฟ่างแล้ว ก็เพาะลงถุงขี้เลื่อยหรือปุ๋ยหมักผสมขี้เลื่อยรำละเอียด และปูนขาว เหมือนสูตรการเพาะเห็ดทั่วๆ ไปสำหรับที่โรงเรียนในท้องถิ่นมีเปลือกข้าวโพดแห้งจำนวนมากเป็นผลผลิตจากลานรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เมื่อสีข้าวโพดเอาเมล็ดแล้วผลพลอยได้เป็นเปลือกข้าวโพดและซังข้าวโพด จำนวนมหาศาลซังข้าวโพดขายเป็นวัตถุดิบเชื้อเพลิง ส่วนเปลือกข้าวโพดเผาทิ้งทำให้เกิดมลพิษ จึงได้นำมาทดลองเพาะเห็ด จนได้สูตรที่เหมาะสมดังนี้ เปลือกข้าวโพดแห้ง 100 ก.ก. น้ำ 65 ก.ก. ผสมทีละน้อยให้เข้ากันเนื่องจากการดูดซับน้ำมีน้อย หมักไว้ 21 วัน กลับกองหมักทุก 3 วัน เพื่อให้เปลือกข้าวโพดอ่อนตัว กองหมักคลุมด้วยผ้าพลาสติก วันที่ 22 ผสมรำละเอียด 5 ก.ก. ปูนขาว 2 ก.ก. (สูตรนี้เพาะเห็ดนางรม นางฟ้า เป๋าฮื้อได้) บรรจุถุงเพาะเห็ด นำไปนึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่อุณหภูมิ
การเพาะในแปลง
แปลงที่ฝังก้อนเชื้อ จะเป็นใต้ร่มไม้หรือกลางแจ้งก็ได้ ความลึกให้พอฝังก้อนในแนวตั้ง แล้วกลบดินลึกอีก 1-2 นิ้ว วางก้อนเชื้อเห็ดที่แกะถุงพลาสติกออกแล้ว เรียงติดกัน 5-6 ก้อนหรือมากกว่า วางติดกันไป เส้นใยจะประสานกันเอง ดินที่คลุมผสมปุ๋ยอินทรีย์ด้วย รดน้ำให้ชุ่มชื้น เมื่อฝนไม่ตก แต่อย่าให้น้ำขังแฉะ หรือจะนำก้อนเห็ดมาเพาะในดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ที่ใส่ในถุงปุ๋ยตัดมุมก้นถุงเพื่อให้ระบายน้ำได้ดี ดินผสมรองพื้นหนา
เทคนิคการเพาะเห็ดโต่งฝนลงแปลง
การเลือกพื้นที่ พื้นที่จะใช้ทำแปลงเพาะเห็ดโต่งฝน นั้น ต้องเป็นที่ดอนน้ำไม่ท่วม ทำแปลงขนาด 1 X
ใช้ปุ๋ยหมักที่ย่อยสลายดีแล้ว หรืออินทรียวัตถุ เช่นใบไม้แห้ง วัชพืช ปุ๋ยคอก ใส่ลงในแปลงที่เตรียมไว้แล้วใช้ดินร่วนกลบ รดน้ำให้ชุ่ม หมักไว้เป็นเวลา 2 เดือน เป็นการรองปุ๋ยอินทรีย์ก่อนเพาะเห็ด
นำก้อนเชื้อเห็ดโต่งฝนที่เส้นใยเดินเต็มแล้ว
เอามาถอดเอาถุงพลาสติกออกก่อน จึงนำก้อนเห็ดที่ได้ไปจัดเรียงลงในแปลงเพาะ
(แปลงขนาด 1 X
2 เมตร จะเรียงได้จำนวน 200 ก้อน )ใช้ดินกลบเล็กน้อย เอาฟางคลุมแปลงเพาะอีกครั้ง
เพื่อเก็บความชื้น และพรางแสงแดด
หลังจากนั้น ต้องทำโครงไม้ไผ่ครอบแปลง ข้างบนคลุมด้วยผ้าสแลนพรางแสง 80% ใช้ฟางคลุมทับผ้าสแลนเพื่อรักษาความชื้น และต้องรดน้ำให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ในฤดูฝน ฝนตกบ่อยก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หลังจากนั้นประมาณ 35 - 40 วัน ดอกเห็ดจะงอก ควรเก็บเห็ดในวันที่ 4 เห็ดจะมีคุณภาพดี เห็ดจะหมุนเวียนออกดอกได้ 4 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง อุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง อากาศร้อนอบอ้าว
ข้อเสนอแนะจากประสบการณ์
1. ก้อนเชื้อเห็ดโต่งฝน เส้นใยมีการเจริญเติบโตที่ช้าอย่างน้อย 35 - 45 วันจึงเดินเต็มถุง ถ้าอากาศหนาวจะช้ากว่านี้อีก วิธีกระตุ้นในฤดูหนาวการพักก้อนเชื้อต้องเป็นห้องที่ป้องกันลมหนาวปะทะก้อนเชื้อเห็ดได้ อากาศเย็นจะทำให้เส้นใยชงักการเจริญ
2. แปลงเพาะเห็ดที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ความชื้นพอเหมาะ อากาศที่ร้อนอบอ้าว จะชักนำให้เส้นใยเจริญเติบโตได้ดี ถ้าเพาะลงในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง จะทำให้มีดอกใหญ่ น้ำหนักมาก อินทรียวัตถุต้องผ่านการย่อยสลายที่ดีก่อนนำมาใช้ เนื่องจากจะมีเชื้อราเหลืองและราเขียวปะปนทำให้ผลผลิตลดลงมากหรือไม่มี
3. แปลงเพาะไม่ควรเป็นที่ลุ่ม เพราะจะทำให้น้ำขัง จากการสังเกตพบว่า ถ้ารดน้ำเปียกเกินไป จะทำให้เส้นใยไม่เจริญเติบโต และก้อนเชื้อเห็ดจะเน่าได้
หลังจากนั้น ต้องทำโครงไม้ไผ่ครอบแปลง ข้างบนคลุมด้วยผ้าสแลนพรางแสง 80% ใช้ฟางคลุมทับผ้าสแลนเพื่อรักษาความชื้น และต้องรดน้ำให้ชุ่มชื่นอยู่เสมอ แต่อย่าให้แฉะ ในฤดูฝน ฝนตกบ่อยก็ไม่จำเป็นต้องรดน้ำ หลังจากนั้นประมาณ 35 - 40 วัน ดอกเห็ดจะงอก ควรเก็บเห็ดในวันที่ 4 เห็ดจะมีคุณภาพดี เห็ดจะหมุนเวียนออกดอกได้ 4 - 6 เดือน ขึ้นอยู่กับการปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ดินมีอินทรีย์วัตถุสูง อุดมสมบูรณ์ มีความชื้นสูง อากาศร้อนอบอ้าว
ข้อเสนอแนะจากประสบการณ์
1. ก้อนเชื้อเห็ดโต่งฝน เส้นใยมีการเจริญเติบโตที่ช้าอย่างน้อย 35 - 45 วันจึงเดินเต็มถุง ถ้าอากาศหนาวจะช้ากว่านี้อีก วิธีกระตุ้นในฤดูหนาวการพักก้อนเชื้อต้องเป็นห้องที่ป้องกันลมหนาวปะทะก้อนเชื้อเห็ดได้ อากาศเย็นจะทำให้เส้นใยชงักการเจริญ
2. แปลงเพาะเห็ดที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ความชื้นพอเหมาะ อากาศที่ร้อนอบอ้าว จะชักนำให้เส้นใยเจริญเติบโตได้ดี ถ้าเพาะลงในดินที่มีอินทรียวัตถุสูง จะทำให้มีดอกใหญ่ น้ำหนักมาก อินทรียวัตถุต้องผ่านการย่อยสลายที่ดีก่อนนำมาใช้ เนื่องจากจะมีเชื้อราเหลืองและราเขียวปะปนทำให้ผลผลิตลดลงมากหรือไม่มี
3. แปลงเพาะไม่ควรเป็นที่ลุ่ม เพราะจะทำให้น้ำขัง จากการสังเกตพบว่า ถ้ารดน้ำเปียกเกินไป จะทำให้เส้นใยไม่เจริญเติบโต และก้อนเชื้อเห็ดจะเน่าได้