การผลิตหัวเชื้อเห็ด
การทำหัวเชื้อก็เพื่อขยายเชื้อบริสุทธิ์ จากที่เพาะเลี้ยงบนวุ้นให้มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีปริมาณเพียงพอและมีสัดส่วนกับวัสดุที่จะใช้เพาะให้เป็นดอกเห็ด วัสดุที่ใช้ทำหัวเชื้อได้แก่กากพืชที่มีจำนวนมากหรือเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว กากถั่ว ขี้เลื่อย เปลือกบัว ซังข้าวโพด ไส้นุ่น ขุยมะพร้าว ผักตบชวาแห้ง เป็นต้น หรือจะใช้เมล็ดธัญพืช เช่น เมล็ดข้าวสาลี เมล็ดข้าวเจ้า เมล็ดข้าวเหนียว วัสดุที่นำมาใช้บางชนิด ต้องเติมอาหารเสริมเพื่อให้มีอาหารที่ช่วยให้เชื้อเห็ดเจริญเติบโตเร็ว เช่น รำข้าว แป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ปุ๋ยเคมี วัสดุบางชนิดจำเป็นจะต้องทำการหมักให้เปื่อยเสียก่อน เช่น หัวเชื้อเห็ดฟางส่วนมากนิยมทำจากปุ๋ยหมักโดยใช้เปลือกบัวผสมกับขี้ม้า หมักเปลือกบัวจนเปื่อย การหมักจะต้องหมั่นทำการกลับปุ๋ยบ่อย ๆ เพื่อให้ปุ๋ยเปื่อยเร็วในระหว่างการหมักก็ให้ใส่อาหารเสริมลงไปด้วย เช่น ไส้นุ่น การหมักจะใช้เวลา 3 – 4 อาทิตย์ แล้วบรรจุถุงพลาสติกเพื่อนำไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อนที่จะใส่เชื้อบริสุทธิ์ การบรรจุถุงพลาสติกจะต้องอัดให้แน่นพอสมควรและทำช่องว่างตรงกลางโดยเจาะเป็นรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 2 เซนติเมตร ลึกลงไปประมาณ 1/5 ของถุง เพื่อเตรียมหยอดเชื้อบริสุทธิ์ที่จะขยายต่อไป
ถ้าเป็นเมล็ดธัญพืชอาจจะแช่น้ำให้เปลือกนิ่ม หรืออาจจะต้องต้มให้สุกพอนิ่มสำหรับเมล็ดพืชที่มีเปลือกและเนื้อแข็ง เช่น เมล็ดข้าวฟ่าง แล้วจึงบรรจุใส่ขวดนำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่ง ฆ่าเชื้อแบบเดียวกับการนึ่งฆ่าเชื้อในการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเชื้อบริสุทธิ์ แต่งต้องใช้เวลานานกว่าการนึ่งอาหารวุ้น ( ใช้เวลาประมาณ 30 นาที )
ถ้าเพาะเห็ดหูหนูหรือเห็ดหอม สูตรอาหารก็เปลี่ยนแปลงไปเช่น ใช้ขี้เลื่อยผสมรำ การเปลี่ยนมาใช้ขี้เลื่อยก็เพราะเห็ดหูหนูชอบขึ้นบนไม้ผุจำพวกไม้เนื้ออ่อน ควรจะใช้ขี้เลื่อยชนิดเดียวกับไม้ที่เพาะ แต่ส่วนมากเลือกไม่ได้เพราะเรานำขี้เลื่อยที่เหลือใช้จากการเลื่อยไม้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งบางครั้งมีปัญหาเห็ดขึ้นได้ไม่ดี เพราะอาจจะเจอขี้เลื่อยไม้เนื้อแข็งหรือขี้เลื่อยของไม้ที่มียางบางชนิด ปัจจุบันมีการใช้จุกไม้แทนขี้เลื่อย เมื่อเชื้อเห็ดเดินเต็มจุกไม้ก็ไปตอกในท่อนไม้ที่เจาะรูไว้
ปัจจุบันการทำหัวเชื้อนิยมใช้หม้อนึ่งแบบลูกทุ่งและบรรจุปุ๋ยหมักในถุงพลาสติก การใช้ความดัน ไอน้ำต่ำกว่า ดังนั้นการใช้หม้อนึ่งชนิดนี้จึงต้องใช้เวลานึ่งนาน ส่วนมากหม้อนึ่งลูกทุ่งนิยมทำด้วยถัง 200 ลิตร
และใช้กาซต้มหรือถ่าน ใช้เวลา 3 – 4 ชั่วโมง ถ้าหม้อนึ่งมีขนาดใหญ่กว่านี้ ก็ต้องเพิ่มเวลาการนึ่ง เป็น 6 – 8 ช.ม. เมื่อวัสดุในขวดหรือในถุงพลาสติกผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว ต้องทิ้งไว้ให้เย็นแล้วจึงใส่ เชื้อบริสุทธิ์ลงไปโดยตัดเชื้อบริสุทธิ์ขนาด 0.5 ลูกบาศก์เซนติเมตร ใส่เชื้อเห็ดลงไปอยู่ตรงกลางขวดหรือถุงการใส่ต้องทำอย่างระมัดระวังในห้องสะอาด นำไปเก็บในห้องบ่มเชื้อ 10 – 15 วัน เชื้อจะเดินเต็มขวดหรือถุงพร้อมที่จะนำไปเพาะให้เป็นดอกเห็ด หัวเชื้อเห็ดไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 2 เดือน เพราะเชื้อจะแก่เกินไปควรใช้ภายใน 1 อาทิตย์ หลังจากเชื้อเดินเต็มวัสดุ การทำหัวเชื้อจากเมล็ดธัญพืชเชื้ออาจเดินช้ากว่าปุ๋ยหมักควรเขย่าขวดหลังจากใส่เชื้อบริสุทธิ์แล้ว 4 – 5 วัน
42 ความคิดเห็น:
"การผลิตหัวเชื้อเห็ด" ด.ช.อดิศร หลอมทองหล่อ ชั้น ม.2/3 เลขที่38
เรื่อง การผลิตหัวเชื้อเห็ด
ด.ญ เจรจิรา งามสันเทียะ ม2/3 เลขที่2
อ่านเรื่องการผลิตหัวเชื้อเห็ด
เด็กหญิงกุลณัฐ ดีขุนทด เลขที่ ๓
มัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
น.ส.กานต์รวี แสงสุดตา เลขที่44
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นางสาวณัฐภรณ์ ชัยมีเเรง เลขที่46
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายภัฐภัทร ความหมั่น เลขที่30
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ชลชาติ ไชยนา เลขที่8
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย อักษร มโนสัจจารักษ์ เลขที่40
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ชัชนันท์ แก้วทับทิม เลขที่10
การผลิตหัสเชื้อเห็ด
นาย ตระกูลรัตน์ ช่วยจัตุรัส เลขที่14
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธนกร แสไพศาล เลขที่16
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ณัฐพล วงษาคณาญาติ เลขที่13
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย นันทิพัฒน์ หัดจุมพล เลขที่25
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย นันทิพัฒน์ หัดจุมพล เลขที่26
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธนวัฒน์ เป้าสร้อย
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายกรวิชญ์ สิงห์สวัสดิ์ เลขที่2
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธีนาวุฒิ อารีชาติ
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
ภูติวัฒน์ ดอนสังเกตุ เลขที่32
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธนวัฒน์ เป้าสร้อย เลขที่20
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย สุชาครีย์ คำเบ้า เลขที่36
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย วาเลนไทม์ ชวดชัยภูมิ เลขที่34
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธนโชติ จ่าแก้ว เลขที่17
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายพัชรพล หาญเวช เลขที่27
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ฐิติศักดิ์ เคียงจัตุรัส เลขที่11
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย อุทัย เต่านนท์ เลขที่43
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย อดิเทพ เฉยขุนทด เลขที่37
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธนพล เตียนขุนยทด เลขที่18
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายกิตติศักดิ์ โถชัย เลที่5
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายอัครเดช กั้วสมบูรณ์ เลขที่41
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย กันทรากร ชาตรี เลขที่3
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธราเทพ ทุมสะท้าน เลขที่21
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ธีรพัฒน์ โวหาร เลขที่25
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย สิทภูมิ ขาวนวล เลขที่35
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายชลสิทธิ์ ประเสริฐศรี เลขที่ 9
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นางสาวพัชรธิดา ดิลกชาติ เลขที่48
การผลิตหัวเชื่อเห็ด
นายธนพล พรมผา เลขที่49
การผลิตหัวเชื่อเห็ด
นายธันวา ชาลีแดง เลขที่23
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ยุทธพิชัย แขจัตุรัส เลขที่33
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นายธนวัฒน์ ช่วยคุณ เลขที่19
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นางสาวเที่ยงขวัญ วิเชียร เลขที่47
การผลิตหัวเชื้อเห็ด
นาย ทัศน์พล สีแก้ว เลขที่15
แสดงความคิดเห็น