วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลือกซื้อหัวเชื้อเห็ด




การเลือกซื้อหัวเชื้อเห็ด

1. ลักษณะของเชื้อเห็ดที่ดี
1.1 ต้องมีความบริสุทธิ์ในสายพันธุ์
1.2 เส้นใยเชื้อเห็ดเดินขาวเต็มขวด
1.3 เชื้อเห็ดไม่แก่ - อ่อนเกินไป
1.4 อาหารที่ใช้เลี้ยงเชื้อเห็ดต้องมีคุณภาพดี
1.5 ไม่มีเชื้อราอื่นปะปน
2. การเลือกซื้อเชื้อเห็ด
2.1 เชื้อเห็ดอยู่ในภาชนะที่สะอาด เหมาะสม
2.2 เชื้อเห็ดมีเส้นใยขาวฟูเดินเต็มขวด
2.3 เลือกซื้อเชื้อเห็ดที่บริสุทธิ์ ไม่มีราอื่นปะปน
2.4 เลือกซื้อเชื้อเห็ดที่ไม่มีความชื้นมากเกินไป ดูจากน้ำที่เกิดขึ้นภายในภาชนะบรรจุเชื้อเห็ด
2.5 เลือกซื้อเชื้อเห็ดในขนาดอายุที่เหมาะสมนำไปเพาะ ไม่แก่หรืออ่อนเกินไป

การเขี่ยเชื้อเห็ดจากหัวเชื้อลงถุงวัสดุเพาะเห็ด

ก้อนเชื้อที่ได้จากการนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันเสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น ยังถือว่าเป็นเพียงก้อนเชื้อเปล่าๆ หรือเป็นเพียงถุงขี้เลื่อยธรรมดาเท่านั้นไม่สามารถนำไปใช้เพาะเอาดอกได้ จนกว่าจะมีการนำเอาหัวเชื้อเห็ดในเมล็ดข้าวฟ่างที่ทำขึ้นหรือซื้อเตรียมไว้ล่วงหน้า มาเขี่ยลงไปในก้อนเชื้อนี้เสียก่อน
หัวเชื้อที่ดีนั้น ควรเป็นหัวเชื้อที่เส้นใยเห็ดเจริญเต็มขวดใหม่ๆ ไม่มีราสีต่างๆ ปนไม่เป็นเชื้อแก่จนเส้นใยย่อยตัวเองเป็นน้ำสีเหลืองตามปกติการถ่ายเชื้อจากขวดเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างนั้น จะต้องปฏิบัติเช่นเดียวกันกับการแยกเนื้อเยื่อ หรือการถ่ายเชื้อจากวุ้นลงในเมล็ดข้าวฟ่างคือจะต้องปฏิบัติภายในตู้เขี่ยเชื้อ แต่เนื่องจากการทำก้อนเชื้อจำนวนมากอาจมีจำนวนหลายร้อยหลายพันก้อนต่อครั้ง ก้อนเชื้อยังมีขนาดใหญ่และน้ำหนักมาก ดังนั้นจึงไม่นิยมทำในตู้เขี่ยเชื้อ อีกประการหนึ่งเชื่อว่าหัวเชื้อที่เจริญบนเมล็ดข้างฟ่างและที่เจริญบนก้อนเชื้อนั้น มีสภาพแวดล้อมของอาหารที่ใกล้เคียงกับเส้นใยเห็ดบนวัตถุธรรมชาติ ซึ่งมีความแข็งแรงมากกว่าที่เจริญบนวุ้น การถ่ายเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงในถุงก้อนเชื้อ จึงไม่จำเป็นต้องทำกันในตู้เขี่ยเชื้อ เพียงแต่เป็นที่สะอาดและลมสงบส่วนใหญ่มักทำกันในฟาร์ม บางฟาร์มอาจมีห้องกั้นพิเศษสำหรับเขี่ยเชื้อโดยตรง
การปฏิบัติ วางก้อนเชื้อเรียงกันเป็นแถวให้สามารถทำงานได้อย่างสะดวก เปิดเอากระดาษที่หุ้มสำลีอยู่ออก แต่ยังไม่ต้องเปิดจุกสำลีและระวังไม่ให้สำลีหลุดออกจากคอขวด ควรเช็ดมือด้วยแอลกอฮอล์ให้ทั่ว นำเอาขวดหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างที่คัดเลือกไว้แล้วใช้มือเขย่าในขณะที่ยังปิดจุกสำลีอยู่ เพื่อให้เมล็ดข้าวฟ่างกระจายดีเสียก่อน ถอดจุกสำลีที่ขวดเมล็ดข้าวฟ่างออกนำปากขวดไปลนไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ในช่วงนี้ถ้าเมล็ดข้าวฟ่างในขวดยังไม่ร่วน จะใช้ช้อนตักเข้าไปในขวดเพื่อเขี่ยเมล็ดข้าวฟ่างในขณะที่ปากขวดยังลนไฟอยู่ ในมืออีกข้างหนึ่งเปิดจุกสำลีก้อนเชื้อ แล้วเทหัวเชื้อลงไปในถุงประมาณ 10 – 20 เมล็ด จากนั้นจึงรีบปิดจุกสำลีทันทีไม่ต้องใช้กระดาษปิดทับ แต่ควรแน่ใจว่าปิดจุกสำลีได้แน่นพอ ถุงต่อไปก็ทำเช่นเดียวกันทุก 3 – 4 ถุงควรลนปากขวดด้วยตะเกียงแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง หัวเชื้อที่เปิดขวดออกมาแล้วควรใช้ให้หมดหากมีเหลือไม่ควรนำมาใช้อีกต่อไป เพราะเชื้ออาจเสียได้ เฉลี่ยแล้วหัวเชื้อขวดหนึ่งๆ จะใช้เขี่ยเชื้อลงถุงได้ประมาณ 50 - 60 ถุงสำหรับเห็ดนางฟ้าภูฐาน บางแห่งจะใช้หัวเชื้อมากกวานี้คือประมาณ 25 – 30 ก้อนต่อเชื้อหนึ่งขวด ทั้งนี้เพื่อให้เชื้อเจริญแล้วและเชื้อเสียน้อย

ไม่มีความคิดเห็น: