การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงวัสดุเพาะเห็ด
การกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ในการเพาะเห็ด
การเพาะเห็ดทุกชนิดและทุกขั้นตอน จะต้องทำโดยปราศจากเชื้อศัตรูเห็ดทุกชนิด เพราะถ้ามีเชื้ออื่นเข้ามามันจะขึ้นแข่งขันแย่งอาหารหรือสร้างสารที่จะเป็นอันตรายต่อเห็ดได้ต้องระมัดระวังเรื่องรักษาความสะอาด มิฉะนั้นการเพาะเห็ดอาจล้มเหลวได้ดังนั้นผู้เพาะเห็ดจำเป็นต้องทราบถึงเทคนิคและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเห็ด
เชื้อและการกำจัดเชื้อ ในการเพาะเห็ดมีเชื้ออยู่ 2 พวกใหญ่ที่พบและเกี่ยวข้องกับการเพาะเห็ดมากที่สุดคือเชื้อราและบัคเตรี เชื้อรามีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในอากาศ โดยปลิวไปตามลม ฝุ่นละอองเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในรูปของสปอร์ ซึ่งอาหารของเห็ดทุกชนิด มีสภาพความเหมาะสมที่จะเกิดเชื้อราได้ง่ายอยู่แล้ว ราเจริญโดยต่อกันเป็นเส้นใยแบบเห็ด จึงเจริญได้บนอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ และไม่เปียกมาก ในลักษณะเดียวกับการเจริญของเห็ด ทั้งยังทนกับความแห้งแล้งและทนแสงได้ แต่เราสามารถกำจัดเชื้อราได้โดยความร้อนให้หมดสิ้นได้ในน้ำเดือดธรรมดาที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
การเพาะเห็ดนางฟ้า - นางรม มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อราและต้องกำจัดคือ การฆ่าเชื้อในปุ๋ยหมัก ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ 3 ของการเพาะเห็ดเราไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อให้หมดจดเสียทีเดียว อาจฆ่าเฉพาะที่จะเป็นผลเสียกับเห็ดในขั้นตอนนี้เท่านั้น การฆ่าเชื้อแบบนี้เรียกว่า การพาสเจอร์ไรส์ ส่วนบัคเตรีนั้นมักแพร่กระจายในน้ำและฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ บัคเตรีเจริญได้ในอาหารที่เปียกหรือมีน้ำมาก ถ้าอาหารแห้งหรือหมาดก็ไม่สามารถเจริญได้อย่างเห็ดรา สปอร์ของบัคเตรีสามารถทนความร้อนได้มากกว่าเชื้อรา ดังนั้นการกำจัดด้วยความร้อนก็ต้องใช้ความร้อนที่มีขนาดและเวลาแตกต่างกันออกไป
การกำจัดบัคเตรีที่ทนร้อนเป็นพิเศษ จะต้องใช้ความร้อน 121 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที ขึ้นไปจึงกำจัดได้ในการเพาะเห็ดนางรม - นาง ฟ้า มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อบัคเตรีเพื่อให้เชื้อนี้หมดคือ การฆ่าเชื้อบนอาหารวุ้นสำหรับเลี้ยงเชื้อเห็ดและใช้ในการฆ่าเชื้อหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของงานเพาะเห็ด อันเป็นการฆ่าเชื้อบัคเตรีทุกชนิดให้ตายไปโดยสิ้นเชิง เรียกว่าการ สเตอริไรส์
นอกจากนี้แล้ว เรายังมีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นภาชนะในการปฏิบัติงาน เช่นตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ มีดหรือแม้กระทั่งมือของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งส่วนใหญ่นอกจากเราจะใช้ไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ เป็นตัวฆ่าแล้ว ยังนำแอลกอฮอล์มาเช็ดอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย
การฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ใช้ฆ่าเชื้อในตู้เขี่ยเชื้อหรือตามผิวสิ่งต่างๆ ที่มีการทะลวงของแสงมีน้อย แต่ในทางปฏิบัติจริงยังมีน้อยจึงไม่นิยมกระทำในระดับฟาร์มทั่วๆ ไป
การพาสเจอร์ไรส์ ในการเพาะเห็ดเราจะพาสเจอร์ไรส์อาหาร ปุ๋ยหมักหรือก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อและเห็ดอื่นๆ ที่จะเป็นศัตรูต่อเห็ดนางรม – นางฟ้า ได้ซึ่งรวมทั้งแมลงและสัตว์เล็กๆ ในถุงปุ๋ยด้วยโดยการใช้หม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งแบบดัดแปลง หรือหม้อนึ่งความดันแบบต่างๆ โดยการต้มน้ำให้เดือดขึ้นเป็นไอไปฆ่าเชื้อก้อนเชื้อที่วางไว้ด้านบน การฆ่าเชื้อจะใช้ความร้อน 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ช.ม.
การสเตอริไรส์ การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้ เป็นการฆ่าเชื้อศัตรูเห็ดให้ตายหมดอย่างสิ้นเชิง ปกติจะใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้นไม่สามารถใช้หม้อนึ่งลูกทุ่งได้ โดยนึ่งที่ความดันไอน้ำให้มีความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาทีขึ้นไปแต่ถ้าจำนวนเชื้อมีมากก็ต้องนึ่งให้นานกว่านี้เช่น ถ้านึ่งขวดอาหารวุ้นจะใช้เวลานึ่งที่ความดันขนาดนี้ 15 นาที ถ้านึ่งหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างต้องใช้เวลา 25 – 30 นาทีเป็นต้น
หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งชนิดนี้มีราคาถูกเหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นเครื่องมือที่สามารถทำขึ้นเองได้ นิยมใช้ถังจารบีที่มีขนาดเดียวกับถังน้ำมันสองร้อยลิตรแต่หนากว่าและมีฝาแยกออกมาเป็นอิสระพร้อมเข็มเข็ดรัดฝา สามารถซื้อหาได้ตามร้านอุปกรณ์เพาะเห็ด ควรใช้ยางในรถจักรยานยนต์ที่ไม่ใช้แล้วมาผ่าใช้หุ้มปากถังแทนปะเก็น เพื่อให้สามารถปิดได้สนิทขึ้น ตรงกลางฝาเจาะรูด้วยตะปูขนาด 3 นิ้ว เพื่อทำเป็นที่ระบายไอน้ำ ก้นถังทำเป็นตะแกรงรองวัสดุนึ่ง ให้สามารถยกเข้าออกได้สำหรับวางก้อนเชื้อไม่ให้เปียกน้ำโดยทำให้สูงจากก้นถังประมาณ 10 ซ.ม. การนึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันแบบทั่วไปคือ ใส่น้ำลงไปจนปริ่มตะแกรง แต่ก่อนนำก้อนเชื้อลงวางเรียงควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรอบๆ ขอบถังเสียก่อนเพื่อไม่ให้ถุงพลาสติกจากก้อนเชื้อละลายติดกับหม้อนึ่งเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด
เมื่อวางก้อนเชื้อจนเต็มแล้ว ปิดฝาและรัดสายรัดให้แน่นต้มน้ำให้เดือดจนไอพุ่งออกจากรูที่เจาะตรงกลางฝาอย่างสม่ำเสมอแล้วนึ่งไปนานประมาณ 1 ช.ม. เมื่อครบกำหนดแล้วก็ให้นำก้อนเชื้อออกมาวางในอุณหภูมิปกติเป็นเวลา 12 ช.ม. แล้วนำไปนึ่งอีกทำเหมือนเดิมอีก 2 ครั้ง รวมเป็น 3 ครั้ง ก็จะสามารถฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ดได้เช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ทำความร้อนอาจใช้ไม้ฟืน หรือใช้แกลบโดนการทำเตาแบบเตาเศรษฐกิจซึ่งใช้ได้ผลดี
การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะเห็ด เมื่อเตรียมถุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันหรือหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ดเวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของหม้อนึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ช.ม. สำหรับการนึ่งเชื้อจำนวนน้อยและนึ่ง 4 – 6 ช.ม. สำหรับจำนวนเชื้อมากการนึ่งเชื้อจำนวนมากต้องระวังและแน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป
การเพาะเห็ดทุกชนิดและทุกขั้นตอน จะต้องทำโดยปราศจากเชื้อศัตรูเห็ดทุกชนิด เพราะถ้ามีเชื้ออื่นเข้ามามันจะขึ้นแข่งขันแย่งอาหารหรือสร้างสารที่จะเป็นอันตรายต่อเห็ดได้ต้องระมัดระวังเรื่องรักษาความสะอาด มิฉะนั้นการเพาะเห็ดอาจล้มเหลวได้ดังนั้นผู้เพาะเห็ดจำเป็นต้องทราบถึงเทคนิคและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับเห็ด
เชื้อและการกำจัดเชื้อ ในการเพาะเห็ดมีเชื้ออยู่ 2 พวกใหญ่ที่พบและเกี่ยวข้องกับการเพาะเห็ดมากที่สุดคือเชื้อราและบัคเตรี เชื้อรามีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งในอากาศ โดยปลิวไปตามลม ฝุ่นละอองเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ในรูปของสปอร์ ซึ่งอาหารของเห็ดทุกชนิด มีสภาพความเหมาะสมที่จะเกิดเชื้อราได้ง่ายอยู่แล้ว ราเจริญโดยต่อกันเป็นเส้นใยแบบเห็ด จึงเจริญได้บนอาหารที่เป็นชิ้นเล็กๆ และไม่เปียกมาก ในลักษณะเดียวกับการเจริญของเห็ด ทั้งยังทนกับความแห้งแล้งและทนแสงได้ แต่เราสามารถกำจัดเชื้อราได้โดยความร้อนให้หมดสิ้นได้ในน้ำเดือดธรรมดาที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส
การเพาะเห็ดนางฟ้า - นางรม มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับเชื้อราและต้องกำจัดคือ การฆ่าเชื้อในปุ๋ยหมัก ซึ่งอยู่ในขั้นตอนที่ 3 ของการเพาะเห็ดเราไม่จำเป็นต้องฆ่าเชื้อให้หมดจดเสียทีเดียว อาจฆ่าเฉพาะที่จะเป็นผลเสียกับเห็ดในขั้นตอนนี้เท่านั้น การฆ่าเชื้อแบบนี้เรียกว่า การพาสเจอร์ไรส์ ส่วนบัคเตรีนั้นมักแพร่กระจายในน้ำและฝุ่นละอองเป็นส่วนใหญ่ บัคเตรีเจริญได้ในอาหารที่เปียกหรือมีน้ำมาก ถ้าอาหารแห้งหรือหมาดก็ไม่สามารถเจริญได้อย่างเห็ดรา สปอร์ของบัคเตรีสามารถทนความร้อนได้มากกว่าเชื้อรา ดังนั้นการกำจัดด้วยความร้อนก็ต้องใช้ความร้อนที่มีขนาดและเวลาแตกต่างกันออกไป
การกำจัดบัคเตรีที่ทนร้อนเป็นพิเศษ จะต้องใช้ความร้อน 121 องศาเซลเซียส นาน 15 นาที ขึ้นไปจึงกำจัดได้ในการเพาะเห็ดนางรม - นาง ฟ้า มีขั้นตอนการฆ่าเชื้อบัคเตรีเพื่อให้เชื้อนี้หมดคือ การฆ่าเชื้อบนอาหารวุ้นสำหรับเลี้ยงเชื้อเห็ดและใช้ในการฆ่าเชื้อหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างซึ่งเป็นขั้นตอนที่ 1 และ 2 ของงานเพาะเห็ด อันเป็นการฆ่าเชื้อบัคเตรีทุกชนิดให้ตายไปโดยสิ้นเชิง เรียกว่าการ สเตอริไรส์
นอกจากนี้แล้ว เรายังมีการฆ่าเชื้ออุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ เป็นภาชนะในการปฏิบัติงาน เช่นตู้เขี่ยเชื้อ เข็มเขี่ยเชื้อ มีดหรือแม้กระทั่งมือของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งส่วนใหญ่นอกจากเราจะใช้ไฟจากตะเกียงแอลกอฮอล์ เป็นตัวฆ่าแล้ว ยังนำแอลกอฮอล์มาเช็ดอุปกรณ์เหล่านี้ด้วย
การฆ่าเชื้อด้วยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ใช้ฆ่าเชื้อในตู้เขี่ยเชื้อหรือตามผิวสิ่งต่างๆ ที่มีการทะลวงของแสงมีน้อย แต่ในทางปฏิบัติจริงยังมีน้อยจึงไม่นิยมกระทำในระดับฟาร์มทั่วๆ ไป
การพาสเจอร์ไรส์ ในการเพาะเห็ดเราจะพาสเจอร์ไรส์อาหาร ปุ๋ยหมักหรือก้อนเชื้อเพื่อฆ่าเชื้อและเห็ดอื่นๆ ที่จะเป็นศัตรูต่อเห็ดนางรม – นางฟ้า ได้ซึ่งรวมทั้งแมลงและสัตว์เล็กๆ ในถุงปุ๋ยด้วยโดยการใช้หม้อนึ่ง ซึ่งอาจเป็นหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งแบบดัดแปลง หรือหม้อนึ่งความดันแบบต่างๆ โดยการต้มน้ำให้เดือดขึ้นเป็นไอไปฆ่าเชื้อก้อนเชื้อที่วางไว้ด้านบน การฆ่าเชื้อจะใช้ความร้อน 80 – 100 องศาเซลเซียส โดยใช้เวลาอย่างต่ำ 2 ช.ม.
การสเตอริไรส์ การฆ่าเชื้อด้วยวิธีนี้ เป็นการฆ่าเชื้อศัตรูเห็ดให้ตายหมดอย่างสิ้นเชิง ปกติจะใช้หม้อนึ่งความดันไอน้ำเท่านั้นไม่สามารถใช้หม้อนึ่งลูกทุ่งได้ โดยนึ่งที่ความดันไอน้ำให้มีความดัน 15 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว นาน 15 นาทีขึ้นไปแต่ถ้าจำนวนเชื้อมีมากก็ต้องนึ่งให้นานกว่านี้เช่น ถ้านึ่งขวดอาหารวุ้นจะใช้เวลานึ่งที่ความดันขนาดนี้ 15 นาที ถ้านึ่งหัวเชื้อเมล็ดข้าวฟ่างต้องใช้เวลา 25 – 30 นาทีเป็นต้น
หม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง หม้อนึ่งชนิดนี้มีราคาถูกเหมาะสำหรับฟาร์มขนาดเล็กและขนาดกลาง เป็นเครื่องมือที่สามารถทำขึ้นเองได้ นิยมใช้ถังจารบีที่มีขนาดเดียวกับถังน้ำมันสองร้อยลิตรแต่หนากว่าและมีฝาแยกออกมาเป็นอิสระพร้อมเข็มเข็ดรัดฝา สามารถซื้อหาได้ตามร้านอุปกรณ์เพาะเห็ด ควรใช้ยางในรถจักรยานยนต์ที่ไม่ใช้แล้วมาผ่าใช้หุ้มปากถังแทนปะเก็น เพื่อให้สามารถปิดได้สนิทขึ้น ตรงกลางฝาเจาะรูด้วยตะปูขนาด 3 นิ้ว เพื่อทำเป็นที่ระบายไอน้ำ ก้นถังทำเป็นตะแกรงรองวัสดุนึ่ง ให้สามารถยกเข้าออกได้สำหรับวางก้อนเชื้อไม่ให้เปียกน้ำโดยทำให้สูงจากก้นถังประมาณ 10 ซ.ม. การนึ่งปฏิบัติเช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันแบบทั่วไปคือ ใส่น้ำลงไปจนปริ่มตะแกรง แต่ก่อนนำก้อนเชื้อลงวางเรียงควรใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองรอบๆ ขอบถังเสียก่อนเพื่อไม่ให้ถุงพลาสติกจากก้อนเชื้อละลายติดกับหม้อนึ่งเมื่ออุณหภูมิร้อนจัด
เมื่อวางก้อนเชื้อจนเต็มแล้ว ปิดฝาและรัดสายรัดให้แน่นต้มน้ำให้เดือดจนไอพุ่งออกจากรูที่เจาะตรงกลางฝาอย่างสม่ำเสมอแล้วนึ่งไปนานประมาณ 1 ช.ม. เมื่อครบกำหนดแล้วก็ให้นำก้อนเชื้อออกมาวางในอุณหภูมิปกติเป็นเวลา 12 ช.ม. แล้วนำไปนึ่งอีกทำเหมือนเดิมอีก 2 ครั้ง รวมเป็น 3 ครั้ง ก็จะสามารถฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ดได้เช่นเดียวกับหม้อนึ่งความดันเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ทำความร้อนอาจใช้ไม้ฟืน หรือใช้แกลบโดนการทำเตาแบบเตาเศรษฐกิจซึ่งใช้ได้ผลดี
การนึ่งฆ่าเชื้อถุงวัสดุเพาะเห็ด เมื่อเตรียมถุงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็นำไปนึ่งฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดันหรือหม้อนึ่งแบบลูกทุ่ง เพื่อฆ่าเชื้อต่างๆ ที่เป็นศัตรูเห็ดเวลาในการนึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะของหม้อนึ่งและจำนวนก้อนเชื้อ อาจนึ่งเพียง 2 ช.ม. สำหรับการนึ่งเชื้อจำนวนน้อยและนึ่ง 4 – 6 ช.ม. สำหรับจำนวนเชื้อมากการนึ่งเชื้อจำนวนมากต้องระวังและแน่ใจว่าสามารถฆ่าเชื้อได้ทั่วถึง หลังจากนึ่งเรียบร้อยแล้ว นำก้อนเชื้อออกมาวางเรียงกันให้เย็นสนิทเสียก่อน เพื่อรอการเขี่ยเชื้อจากเมล็ดข้าวฟ่างลงถุงต่อไป
18 ความคิดเห็น:
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายนราวิชญ์ คนที เลขที่16
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด.
นายสุริยา ขวัญบุญจันทร์ เลขที่30
นาย ธวัชชัย พลเสนา เลขที่24
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายจิรานุวัฒน์ พัดพาน เลขที่3
นายสุภกิณห์ สิงห์ลา เลขที่28
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายสิทธิรักษ์ แก้วหาดี เลขที่26
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายชาคริต พรมพล เลขที่7
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายวรภาส แก้วสนธิ์ เลขที่23
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายกิตติพัฒน์ เพิ่มสนาม เลขที่1
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด นาย ณัฐพงศ์ หาญเวช เลขที่11
นายจักริน ศิลา เลขที่2
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นาย วทัญญู พึมขุนทด เลขที่22
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายเจษฎา เเหล่งสะท้านเลขที่4
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายสุเนธ แก่งสันเทียะ เลขที่27
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายรัฐภูมิ พิมพา เลขที่ 21
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายณภัทร เลิศประเสริฐ เลขที่10
การฆ่าเชื่อจุลินทรีย์ในถุงเพาะเห็ด
นายณัฐศาสน์ งิมขุนทด
แสดงความคิดเห็น