การเก็บดอกเห็ด
การเกิดดอกเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่ได้ทำการรดน้ำในโรงเพาะไปแล้ว ประมาณ 1 – 3 สัปดาห์ ก็จะเกิดเป็นดอกเล็กๆ ขึ้น ในช่วงนี้การรดน้ำทำได้ตามปกติ หลังจากนั้นประมาณ 4 – 5 วัน ดอกเห็ดจะโตเต็มที่ให้เก็บได้ ดอกเห็ดในช่วงนี้การรดน้ำต้องระมัดระวังด้วยคือ ต้องรดน้ำน้อยลงไม่ควรฉีดน้ำมากเกินไปจนเปียกเพราะดอกเห็ดจะฉ่ำมากทำให้คุณภาพไม่ดีเมื่อส่งตลาดทั้งยังเสียเร็วและเก็บไว้ได้ไม่
การเก็บดอกเห็ด วิธีสังเกตดอกเห็ดที่โตพอดี อาจสังเกตได้จากขอบดอกคือดอกที่เพิ่งเกิดใหม่ๆ ดอกเห็ดจะม้วนตัวเข้าหากัน แต่เมื่อโตเต็มที่ก็จะคลี่ออกควรเก็บในช่วงนี้ การเก็บจะถอนออกมาแล้วแล้วค่อยแต่งที่โคนต้น ด้วยการตัดเศษทิ้งไปแต่เห็ดมักมีรอยช้ำตอนจับลำต้นขึ้นมาจึงอาจใช้วิธีตัดแทน การตัดอาจใช้ได้ทั้งมีดคมหรือกรรไกร เมื่อตัดแล้วจึงเอาเศษที่โคนต้นออกออกจากก้อนเชื้อหรือไม่เอาออกก็ได้
การเก็บรักษาดอกเห็ดสด เห็ดนางรมเก็บได้ไม่นาน ควรใช้ทำอาหารในวันเดียวหลังจากที่ตัดมาแล้ว การเก็บควรนำเข้าตู้เย็นโดยเอาถุงพลาสติกอย่างขุ่นมาขยี้แล้วใส่น้ำเขย่า เพื่อให้มีหยดน้ำเล็กติดภายในถุงเทน้ำทิ้งแล้วเอาดอกเห็ดใส่รัดด้วยยาง ถ้าเก็บในห้องธรรมดาหรือใส่ถุงวางขาย ควรเจาะถุงพลาสติกให้เป็นรูระบายอากาศและไอน้ำจะเก็บได้นานขึ้น สำหรับเห็ดนางฟ้าภูฐานนั้นจะเก็บได้นานกว่าเห็ดนางรม คือสามารถเก็บข้ามวันในตู้เย็นได้ 3 – 4 วันอย่างไรก็ตาม เห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้การเก็บข้ามวันจะทำให้รสชาติด้อยลงคือขมและสีออกเหลืองขึ้น
สำหรับเห็ดหูหนู ถ้าดูแลได้เหมาะสมตั้งแต่กรีดถุงจนถึงเก็บดอกเห็ด จะใช้เวลา 10 – 15 วัน ก็เก็บเห็ดได้ เห็ดหูหนูที่แก่ได้ที่แล้วควรรีบเก็บทันทีเวลาเก็บจะต้องใช้มือเด็ดออกมาทั้งโคนเห็ดด้วย แล้วใช้มีดเฉือนตัดเอาส่วนโคนที่มีวัสดุเพาะเลี้ยงติดมาด้วยทิ้งไป นำไปตากแดดหรืออบแห้งทันที ถุงก้อนเชื้อที่เก็บเห็ดหมดแล้วให้หยุดฉีดน้ำชั่วคราวเพื่อรักษาความชื้นให้เหมาะสม ช่วยให้หน่อเห็ดใหม่งอกได้เร็วขึ้นอีก ระยะเวลาการผลิตเห็ดหูหนูแต่ละรุ่นใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปกติถุงก้อนเชื้อ 1 ก.ก. จะได้ผลผลิต 300 – 600 กรัม ให้ผลผลิตมากกว่าการเพาะเลี้ยงด้วยท่อนไม้ถึง 3 เท่าขึ้นไป
ผลผลิตเห็ดนางรม – นางฟ้า ในปัจจุบันนิยมใช้ก้อนเชื้อขนาด 1 ก.ก. จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4 – 6 รุ่น บางกรณีอาจมากกว่านี้ รุ่นที่ 2 – 3 ขึ้นไป ดอกเห็ดจะสมบูรณ์และผลผลิตสูงกว่ารุ่นแรกและรุ่นหลังนี้ ผลผลิตเห็ดที่ควรได้รับโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง 300 – 350 กรัมต่อถุง การดูแลรักษาและเก็บดอกเห็ดจะทำกันประมาณ 2 - 3 เดือน หรือจนกว่าจะหมดอายุอาหารในก้อนเชื้อ ก้อนที่หมดอายุแล้วจะมีสีดำนิ่มเหลวเละควรนำออกไปจากโรงเพาะเห็ด ล้างทำความสะอาดโรงเพาะให้สะอาดเสียก่อน แล้วจึงเอารุ่นใหม่เข้ามาแทน มีรายงานว่าวิธีการเติมปุ๋ยยูเรียกับดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟตอัตราปุ๋ย 1 ขีด ต่อน้ำ 10 ลิตร ละลายในน้ำรดเห็ดนางรมที่เริ่มสร้างดอก เพียงวันละครั้งสลับไปพร้อมๆ กับน้ำธรรมดา จนกระทั่งดอกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว จึงงดการให้ปุ๋ย จะทำให้ได้ผลผลิตเห็ดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การพักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง หลังจากที่เก็บดอกเห็ดแล้วเพื่อให้เส้นใยส่วนที่ถูกใช้ไปเจริญเติบโตได้ปกติ แล้วรดน้ำตามเดิมก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
การจัดการในระยะเก็บดอกเห็ดและหลังการเก็บดอกเห็ด
การเพาะเห็ดสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือความสะอาด ทุกขั้นตอนจะต้องรักษาความสะอาดอย่าให้เกิดความหมักหมม มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงการจัดการด้านนี้ครอบคลุมไปถึงกระทั่งวัสดุเพาะที่หมดอายุและทิ้งไปแล้ว โดยเฉพาะโรงเรือน ถ้าหากมีการระบาดของศัตรูเห็ดได้อย่างรวดเร็ว โรงเรือนที่เป็นโรงเดี่ยวขนาดใหญ่แม้ว่าจะสะดวกแต่เมื่อเกิดโรคระบาดแล้วความเสียหายจะเร็วและลุกลามได้มากกว่าโรงเรือนที่แยกเป็นโรงๆ
ก้อนเชื้อที่หมดอายุแล้วมักจะเป็นที่สะสมของเชื้อศัตรูเห็ดต่างๆ การหมักหมมก้อนเชื้อนี้ไว้ใกล้โรงเพาะจำนวนมากๆ มักจะส่งผลถึงความเสียหายในระยะยาว จึงควรจัดการของเหลือทั้งหมดนี้โดยการนำไปทิ้งในที่ไกลๆ
จากโรงเพาะหรืออย่างน้อยควรหาวิธีแปรสภาพให้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ปลูกพืชต่อไป
การเกิดลักษณะที่ผิดปกติของดอกเห็ด เท่าที่พบในเมืองไทยมี 2 แบบคือ ดอกเห็ดเป็นหลอดยาวขึ้น พบได้ประปราย ซึ่งเกิดจากการเก็บก้อนเชื้อไว้ในที่มีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก แบบที่สองดอกมีขนาดโต แต่ดอกหุบอยู่ไม่บานออกหรือบานออกเพียงเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากกาซชนิดนี้เช่นกัน การแก้ไขต้องทำให้โรงเรือนมีการถ่ายเทอากาศ โดยทำที่ระบายให้กาซนี้ระบายออกเสียบ้าง ดอกเห็ดรุ่นต่อไปก็จะมีสภาพปกติเช่นเดิม
การเกิดดอกเห็ด ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่ได้ทำการรดน้ำในโรงเพาะไปแล้ว ประมาณ 1 – 3 สัปดาห์ ก็จะเกิดเป็นดอกเล็กๆ ขึ้น ในช่วงนี้การรดน้ำทำได้ตามปกติ หลังจากนั้นประมาณ 4 – 5 วัน ดอกเห็ดจะโตเต็มที่ให้เก็บได้ ดอกเห็ดในช่วงนี้การรดน้ำต้องระมัดระวังด้วยคือ ต้องรดน้ำน้อยลงไม่ควรฉีดน้ำมากเกินไปจนเปียกเพราะดอกเห็ดจะฉ่ำมากทำให้คุณภาพไม่ดีเมื่อส่งตลาดทั้งยังเสียเร็วและเก็บไว้ได้ไม่
การเก็บดอกเห็ด วิธีสังเกตดอกเห็ดที่โตพอดี อาจสังเกตได้จากขอบดอกคือดอกที่เพิ่งเกิดใหม่ๆ ดอกเห็ดจะม้วนตัวเข้าหากัน แต่เมื่อโตเต็มที่ก็จะคลี่ออกควรเก็บในช่วงนี้ การเก็บจะถอนออกมาแล้วแล้วค่อยแต่งที่โคนต้น ด้วยการตัดเศษทิ้งไปแต่เห็ดมักมีรอยช้ำตอนจับลำต้นขึ้นมาจึงอาจใช้วิธีตัดแทน การตัดอาจใช้ได้ทั้งมีดคมหรือกรรไกร เมื่อตัดแล้วจึงเอาเศษที่โคนต้นออกออกจากก้อนเชื้อหรือไม่เอาออกก็ได้
การเก็บรักษาดอกเห็ดสด เห็ดนางรมเก็บได้ไม่นาน ควรใช้ทำอาหารในวันเดียวหลังจากที่ตัดมาแล้ว การเก็บควรนำเข้าตู้เย็นโดยเอาถุงพลาสติกอย่างขุ่นมาขยี้แล้วใส่น้ำเขย่า เพื่อให้มีหยดน้ำเล็กติดภายในถุงเทน้ำทิ้งแล้วเอาดอกเห็ดใส่รัดด้วยยาง ถ้าเก็บในห้องธรรมดาหรือใส่ถุงวางขาย ควรเจาะถุงพลาสติกให้เป็นรูระบายอากาศและไอน้ำจะเก็บได้นานขึ้น สำหรับเห็ดนางฟ้าภูฐานนั้นจะเก็บได้นานกว่าเห็ดนางรม คือสามารถเก็บข้ามวันในตู้เย็นได้ 3 – 4 วันอย่างไรก็ตาม เห็ดทั้ง 2 ชนิดนี้การเก็บข้ามวันจะทำให้รสชาติด้อยลงคือขมและสีออกเหลืองขึ้น
สำหรับเห็ดหูหนู ถ้าดูแลได้เหมาะสมตั้งแต่กรีดถุงจนถึงเก็บดอกเห็ด จะใช้เวลา 10 – 15 วัน ก็เก็บเห็ดได้ เห็ดหูหนูที่แก่ได้ที่แล้วควรรีบเก็บทันทีเวลาเก็บจะต้องใช้มือเด็ดออกมาทั้งโคนเห็ดด้วย แล้วใช้มีดเฉือนตัดเอาส่วนโคนที่มีวัสดุเพาะเลี้ยงติดมาด้วยทิ้งไป นำไปตากแดดหรืออบแห้งทันที ถุงก้อนเชื้อที่เก็บเห็ดหมดแล้วให้หยุดฉีดน้ำชั่วคราวเพื่อรักษาความชื้นให้เหมาะสม ช่วยให้หน่อเห็ดใหม่งอกได้เร็วขึ้นอีก ระยะเวลาการผลิตเห็ดหูหนูแต่ละรุ่นใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ปกติถุงก้อนเชื้อ 1 ก.ก. จะได้ผลผลิต 300 – 600 กรัม ให้ผลผลิตมากกว่าการเพาะเลี้ยงด้วยท่อนไม้ถึง 3 เท่าขึ้นไป
ผลผลิตเห็ดนางรม – นางฟ้า ในปัจจุบันนิยมใช้ก้อนเชื้อขนาด 1 ก.ก. จะเก็บผลผลิตได้ประมาณ 4 – 6 รุ่น บางกรณีอาจมากกว่านี้ รุ่นที่ 2 – 3 ขึ้นไป ดอกเห็ดจะสมบูรณ์และผลผลิตสูงกว่ารุ่นแรกและรุ่นหลังนี้ ผลผลิตเห็ดที่ควรได้รับโดยเฉลี่ยแล้วอยู่ระหว่าง 300 – 350 กรัมต่อถุง การดูแลรักษาและเก็บดอกเห็ดจะทำกันประมาณ 2 - 3 เดือน หรือจนกว่าจะหมดอายุอาหารในก้อนเชื้อ ก้อนที่หมดอายุแล้วจะมีสีดำนิ่มเหลวเละควรนำออกไปจากโรงเพาะเห็ด ล้างทำความสะอาดโรงเพาะให้สะอาดเสียก่อน แล้วจึงเอารุ่นใหม่เข้ามาแทน มีรายงานว่าวิธีการเติมปุ๋ยยูเรียกับดับเบิลซุปเปอร์ฟอสเฟตอัตราปุ๋ย 1 ขีด ต่อน้ำ 10 ลิตร ละลายในน้ำรดเห็ดนางรมที่เริ่มสร้างดอก เพียงวันละครั้งสลับไปพร้อมๆ กับน้ำธรรมดา จนกระทั่งดอกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 นิ้ว จึงงดการให้ปุ๋ย จะทำให้ได้ผลผลิตเห็ดโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การพักก้อนเชื้อระยะหนึ่ง หลังจากที่เก็บดอกเห็ดแล้วเพื่อให้เส้นใยส่วนที่ถูกใช้ไปเจริญเติบโตได้ปกติ แล้วรดน้ำตามเดิมก็จะช่วยให้ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน
การจัดการในระยะเก็บดอกเห็ดและหลังการเก็บดอกเห็ด
การเพาะเห็ดสิ่งที่ต้องดูแลเป็นพิเศษก็คือความสะอาด ทุกขั้นตอนจะต้องรักษาความสะอาดอย่าให้เกิดความหมักหมม มิฉะนั้นจะเป็นแหล่งสะสมของโรคและแมลงการจัดการด้านนี้ครอบคลุมไปถึงกระทั่งวัสดุเพาะที่หมดอายุและทิ้งไปแล้ว โดยเฉพาะโรงเรือน ถ้าหากมีการระบาดของศัตรูเห็ดได้อย่างรวดเร็ว โรงเรือนที่เป็นโรงเดี่ยวขนาดใหญ่แม้ว่าจะสะดวกแต่เมื่อเกิดโรคระบาดแล้วความเสียหายจะเร็วและลุกลามได้มากกว่าโรงเรือนที่แยกเป็นโรงๆ
ก้อนเชื้อที่หมดอายุแล้วมักจะเป็นที่สะสมของเชื้อศัตรูเห็ดต่างๆ การหมักหมมก้อนเชื้อนี้ไว้ใกล้โรงเพาะจำนวนมากๆ มักจะส่งผลถึงความเสียหายในระยะยาว จึงควรจัดการของเหลือทั้งหมดนี้โดยการนำไปทิ้งในที่ไกลๆ
จากโรงเพาะหรืออย่างน้อยควรหาวิธีแปรสภาพให้เป็นปุ๋ยสำหรับใช้ปลูกพืชต่อไป
การเกิดลักษณะที่ผิดปกติของดอกเห็ด เท่าที่พบในเมืองไทยมี 2 แบบคือ ดอกเห็ดเป็นหลอดยาวขึ้น พบได้ประปราย ซึ่งเกิดจากการเก็บก้อนเชื้อไว้ในที่มีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงมาก แบบที่สองดอกมีขนาดโต แต่ดอกหุบอยู่ไม่บานออกหรือบานออกเพียงเล็กน้อย สาเหตุเกิดจากกาซชนิดนี้เช่นกัน การแก้ไขต้องทำให้โรงเรือนมีการถ่ายเทอากาศ โดยทำที่ระบายให้กาซนี้ระบายออกเสียบ้าง ดอกเห็ดรุ่นต่อไปก็จะมีสภาพปกติเช่นเดิม
17 ความคิดเห็น:
การเก็บดอกเห็ด
นายนราวิชญ์ คนที เลขที่ 16
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด
นายสุริยา ขวัญบุญจันทร์ เลขที่30
การเก็บดอกเห็ด
นายจิรานุวัฒน์ พัดพาน เลขที่3
นายสุภกิณห์ สิงห์ลา เลขที่28
การเก็บดอกเห็ด
นายชาคริต พรมพล เลขที่7
นายวุฒิพงษ์ มีทรัพย์ ม.5/2
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด
นายณัฐพงษ์ มีชำนาญ เลขที่12
การเก็บดอกเห็ด
นายวรภาส แก้วสนธิ์ เลขที่23
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด
นายกิตติพัฒน์ เพิ่มสนาม เลขที่1
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด นาย ณัฐพงศ์ หาญเวช เลขที่11
นายจักริน ศิลาเลขที่2
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด
นาย วทัญญู พึมขุนทด เลขที่22
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ด
นายเจษฎา เเหล่งสะท้านเลขที่4
การเก็บดอกเห็ดเเละการจัดระยะในการเก็บดอกเห็ดนายสุเนธ แก่งสันเทียะ เลขที่27
การเก็บดอกเห็ดและการจัดระยะรายการเก็บดอกเห็ด
นายรัฐภูมิ พิมพา เลขที่ 21
การเก็บดอกเห็ด
นายณภัทร เลิศประเสริฐ เลขที่10
การเก็บดอกเห็ด
นายณัฐศาสน์ งิมขุนทด
แสดงความคิดเห็น