ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดหูหนูคือ 28 – 38 องศาเซลเซียส
2. การฉีดน้ำ หลังจากกรีดถุงแล้วต้องเอาใจใส่ และรักษาความชื้นในโรงเรือนให้ดี ความชื้นสัมพัทธ์ต้องอยู่ที่ประมาณ 85 % อาจใช้ผ้าพลาสติกล้อมปิดรอบๆ ชั้นเพาะเลี้ยงเพื่อรักษาความชื้นโดยต้องคอยเลิกผ้าพลาสติกวันละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อให้ระบายอากาศได้ดีขึ้น แต่ไม่ต้องฉีดน้ำตั้งแต่กรีดถุงจนถึงระยะที่เกิดตุ่มดอก ที่สำคัญคือ ภายในห้องต้องมีความชื้นมากขึ้น และเมื่อดอกเห็ดโตแล้วให้ฉีดน้ำตามความเหมาะสมปริมาณน้ำที่ฉีดต้องให้อยู่ในระดับที่กลีบดอกชุ่มชื้น ขอบกลีบเห็ดไม่เหี่ยว
3. แสงแดด แสงแดดที่เพียงพอ จะช่วยให้ดอกเห็ดหูหนูมีสีเข้มแข็งแรงและโตเร็ว แต่ต้องเป็นแสงแดดที่สาดกระจาย
สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการเกิดดอกเห็ดเมืองร้อน
อุณหภูมิภายในโรงเรือนเปิดดอก ที่เหมาะสมควรอยู่ระหว่าง 20 – 30 องศาเซลเซียส ดอกเห็ดจะเจริญได้ดีที่สุด ความชื้นภายในโรงเพาะเห็ดควรมีไม่ต่ำกว่า 80 % ถ้าไม่มีความชำนาญในการสังเกตอาจใช้เครื่องมือวัดความชื้นที่เรียกว่า ไฮโดรมิเตอร์ แล้วนำตัวเลขที่เครื่องไปเปรียบเทียบกับตาราง ก็สามารถอ่านค่าของความชื้นได้ความชื้นมากเกินไป ทั้งความชื้นที่อยู่บนวัสดุเพาะหรือในอากาศ โดยเฉพาะในกรณีแรกย่อมมีผลในด้านการชะงักการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดคืออาจทำให้ขาดออกซิเจนได้ เส้นใยก็ไม่เจริญเติบโตหรือตายได้ทำนองเดียวกันกับที่ปล่อยให้แห้งเกินไปจนขาดน้ำสำหรับการละลายสารอาหารในก้อนเชื้อ
การถ่ายเทอากาศ เห็ดทุกชนิดในขณะที่กำลังสร้างเส้นใยและเกิดดอก เห็ดต้องการออกซิเจนสูงมากแต่ในระยะที่สร้างเส้นใยจะทนการขาดออกซิเจนได้ดีกว่าระยะที่เกิดดอกเห็ด โรงเรือนที่ดีจะต้องจัดให้อากาศถ่ายเทได้ดีโดยเฉพาะโรงเรือนขนาดใหญ่ เพื่อไม่ให้มีการสะสมของกาซคาร์บอนไดออกไซด์ มากเกินไป ถ้ามีกาซนี้มากดอกเห็ดจะมีลักษณะลำต้นยืดยาว ดอกอาจหุบหรือไม่ยอมบานออก
แสง เห็ดหลายชนิดไม่จำเป็นต้องได้รับแสงเลย เพราะมันไม่สามารถปรุงอาหารเองได้อย่างไรก็ตามแสงมีความจำเป็นต่อการทำให้ดอกเห็ดสมบูรณ์หรือเพื่อให้เกิดดอกเห็ดเร็วขึ้น เห็ดนางรม – นางฟ้า เมื่อได้รับแสงจะปล่อย สปอร์ จากดอกเห็ดได้ดีแต่ถ้าไม่ได้รับแสงก้านดอกจะยาวออกดอกเล็กและให้ผลผลิตต่ำ
ฤดูปลูก เห็ดนางรม – นางฟ้า ขึ้นได้ดีในหน้าฝนและหน้าหนาว แต่ไม่ควรหนาวจัดเกินไปฤดูปลูกเห็ดชนิดนี้ภาคกลางทำได้ทั้งปี ส่วนภาคเหนือและอีสานดีเฉพาะหน้าฝนหน้าร้อนผลผลิตจะลดลง ส่วนภาคใต้เพาะได้ตลอดปี เห็ดนางฟ้าภูฐานไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอากาศมาก ถ้าอากาศเย็นดอกเห็ดจะออกดอกเร็วมีสีเข้ม แต่ถ้าอากาศร้อนการออกดอกจะช้าลงและมีสีซีด
วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
18 ความคิดเห็น:
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายนราวิชญ์ คนที เลขที่16
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู!!
นายสุริยา ขวัญบุญจันทร์ เลขที่30
นาย ธวัชชัย พลเสนา เลขที่24
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายจิรานุวัฒน์ พัดพาน เลขที่3
นายสุภกิณห์ สิงห์ลา เลขที่28
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายสิทธิรักษ์ แก้วหาดี เลขที่26
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายชาคริต พรมพล เลขที่7
นายวุฒิพงษ์ มีทรัพย์ ม.5/2
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายณัฐพงษ์ มีชำนาญ เลขที่12
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายวรภาส แก้วสนธิ์ เลขที่23
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายกิตติพัฒน์ เพิ่ทสนาม เลขที่1
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู นาย ณัฐพงศ์ หาญเวช เลขที่11
นายจักริน ศิลาเลขที่2
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นาย วทัญญู พึมขุนทด เลขที่22
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายเจษฎา เเหล่งสะท้านเลขที่4
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายสุเนธ แก่งสันเทียะ เลขที่27
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายรัฐภูมิ พิมพา เลขที่ 21
การเจริญเติบโตของเห็ดหูหนู
นายณภัทร เลิศประเสริฐ เลขที่10
แสดงความคิดเห็น