วันอังคารที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2552

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด




การพักถุงก้อนเชื้อ
ก้อนเชื้อเห็ดหลังจากที่เขี่ยเชื้อแล้ว เราจะนำก้อนเชื้อนี้ไปบ่มเก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิปกติ หรือในโรงบ่มที่ทำไว้โดยเฉพาะเพื่อรอให้เส้นใยเจริญเติบโตลามเต็มถุง ปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 – 4 สัปดาห์ แล้วแต่ชนิดของเห็ดมีรายงานจากบางฟาร์มว่าเห็ดนารมในระยะบ่มเชื้อจะเจริญได้ดีในห้องที่ไม่มีลมโกรกและมีกาซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าปกติ ส่วนเห็ดนางฟ้าภูฐานโรงเรือนควรมีแสงสว่างน้อย หากมีแสงมากการเกิดดอกจะเร็วกว่าปกติ เห็ดที่ออกยังไม่ค่อยสมบูรณ์ ระยะบ่มที่มาตราฐานคือ 22 – 28 วัน ยกเว้นในฤดูหนาวใช้เวลาเพียง 15 – 20 วันเท่านั้นก้อนเชื้อที่ดีเส้นใยเห็ดจะเจริญลามอย่างสม่ำเสมอเป็นสีขาวทั่วทั้งก้อน หากเส้นใยเดินชะงักหรือไม่เดินลงมา ซึ่งอาจเกิดจากมีเชื้อราต่างๆ ขึ้นปะปนจากการนึ่งไม่ทั่วถึงหรือในระหว่างการเขี่ยเชื้อ ซึ่งแสดงว่าเชื้อเสียลักษณะก้อนเชื้อที่แฉะบริเวณก้นถุง ก็เป็นก้อนเชื้อที่เสียแล้วเช่นกันควรคัดออกทิ้งไป

การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ด
การเปิดถุงก้อนเชื้อเห็ด ก่อนนำก้อนเชื้อที่เจริญดีแล้วไปเพาะและรดน้ำ จะต้องทำการเปิดถุงซึ่งมีอยู่หลายวิธีด้วยกันคือ
1. การพับหรือม้วนปากถุงลงมา โดยพับให้ปากถุงลงมาจนกว่าก้อนเชื้ออาหารโผล่เล็กน้อยแล้วรดน้ำ การทำแบบนี้ได้ผลดีเมื่อเป็นหน้าฝนหรือหน้าหนาวที่อากาศชื้น ถ้าเป็นหน้าแล้งอาจได้ผลน้อย
2. การเปิดปากถุงโดยใช้มีดตัดปากถุงใต้คอขวด ซึ่งเมื่อตัดแล้วจะเหลือเฉพาะถุงพลาสติกบริเวณปากถุงที่แคบลง วิธีนี้พบว่าได้ดอกเห็ดน้อยกว่าวิธีแรก แต่ดอกเห็ดมีน้ำหนักดีกว่า
3. การกรีดข้างถุง เป็นวิธีที่นิยมพอๆ กับวิธีแรกโดยใช้มีดกรีดข้างถุงให้เป็นทางยาวลงมา หรือกรีดเป็นรูปกากบาท 4 – 7 แห่งกระจายรอบถุง ข้อดีของวิธีนี้คือน้ำมักไม่ขังและมีโรคแมลงรบกวนน้อย วางบนชั้นได้ทั้งแบบตั้ง วางธรรมดาและแขวนไว้กับเชือกห้อยลงมาก็ได้
4. การเจาะรูก้อนเชื้อ ใช้มีดที่มีปลายแหลมเจาะข้างๆ ถุงรอยเล็กๆ พอเส้นใยรัดตัวมันก็จะสร้างดอกเห็ดตามรอยที่เจาะไว้ มักได้ดอกเห็ดที่สมบูรณ์และขาวสะอาด
5. การเปิดก้อนเชื้อทั้งก้อน นำก้อนเชื้อที่เปลือยทั้งก้อนไปวางไว้บนชั้นหรือในภาชนะพวกตระกร้าแล้วรดน้ำได้เลยดอกเห็ดจะออกดอกได้ทุกส่วนรอบก้อนแต่ก้อนจะแห้งเร็วมากจึงต้องรดน้ำบ่อย บางครั้งต้องเอาฟางหรือต้นข้าวโพดป่นวางทับเพื่อเก็บความชื้น การเกิดดอกเห็ดจะเร็วและหมดไปเร็วด้วยเช่นกัน
6. การเปิดเอาเฉพาะสำลีและคอถุงออก แล้วทำปากถุงให้เหมือนเดิม เป็นวิธีที่ใช้กับเห็ดนางฟ้าภูฐานมาก แต่ควรกรีดข้างถุงสัก 2 รอยเพื่อป้องกันน้ำขัง

20 ความคิดเห็น:

คุณขาว กล่าวว่า...

อาจารย์แน่มาก
เป็นทั้งนักวิชาการ
เป็นทั้งนักปฏิบัติการ
ข้อมูลจึงแน่น น่าเชื่อถือ

เยี่ยมมากๆ

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื่อเห็ด
นายนราวิชญ์ คนที เลขที่16

สุริยา ขวัญบุญจันทร์ กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื่อเห็ด!
นายสุริยา ขวัญบุญจันทร์ เลขที่30

ธวัชชัย กล่าวว่า...

นาย ธวัชชัย พลเสนา เลขที่24

Biw กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายจิรานุวัฒน์ พัดพาน เลขที่3

Unknown กล่าวว่า...

นายสุภกิณห์ สิงห์ลา เลขที่28

Unknown กล่าวว่า...

นายสิทธิรักษ์ แก้วหาดี เลขที่26

Unknown กล่าวว่า...

นายชาคริต พรมพล เลขที่7

Unknown กล่าวว่า...

นายวุฒิพงษ์ มีทรัพย์ ม.5/2

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
ณัฐพงษ์ มีชำนาญ เลขที่12

ิืblogger1 กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื่อเห็ด
นายวรภาส แก้วสนธิ์ เลขที่23

นายกิตติพัฒน์ เพิ่มสนาม เลขที่1 กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายกิตติพัฒน์ เพิ่มสนาม เลขที่1

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด นาย ณัฐพงศ์ หาญเวช เลขที่11

นายจักริน ศิลา กล่าวว่า...

นายจักริน ศิลา เลขที่2

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายวทัญญู พรมขุนทด เลขที่22

นายเจษฎา.... กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายเจษฎา เเหล่งสะท้านเลขที่4

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายสุเนธ แก่งสันเทียะ เลขที่27

นายรัฐภูมิ พิมพา กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื้อเห็ด
นายรัฐภูมิ พิมพา เลขที่ 21

Unknown กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื่อเห็ด
นายณภัทร เลิศประเสริฐ เลขที่10

ณัฐศาสน์ งิมขุนทด กล่าวว่า...

การพักถุงก้อนเชื่อเห็ด
นายณัฐศาสน์ งิมขุนทด