ภาพ : อนันท์ กล้ารอด
เห็ดนางรม
วงจรชีวิตของเห็ดนางรม เห็ดนางรมตามธรรมชาติขยายพันธุ์ด้วย สปอร์ เมื่อดอกเห็ดแก่เต็มที่จะปล่อยสปอร์ล่องลอยไปตามลมตกบนกิ่งไม้ ท่อนไม้พอถึงฤดูชุ่มชื้นสปอร์จะงอกเป็นเส้นใยเจริญไปบนอาหารเส้นใยรวมตัวกันสร้างดอกเห็ดขึ้น เมื่อโตเต็มที่จะปล่อยสปอร์ลอยไปตามลมหมุนเวียนเช่นนี้ตลอดไป
เห็ดนางรมมีน้ำย่อยที่ใช้ย่อยสารประกอบเชิงซ้อน จำพวกเซลลูโลสและ ลิกนินได้เป็นอย่างดี ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 21 )
ลักษณะทั่วไป เห็ดนางรมมีหมวกเห็ดคล้ายหอยนางรม ดอกเห็ดมีสี ขาวอมเทา ก้านดอกจะเป็นเนื้อเดียวกันกับหมวก ลักษณะของหมวกดอกเห็ดจะเว้าตรงกลาง ผิวด้านบนโค้งเรียบ อ่อนนุ่ม ขอบดอกจะห้อยย้อยลงมาด้านล่าง เมื่อโตเต็มที่ด้านหลังดอกจะมีลักษณะเป็นครีบ อาจจะเกิดเป็นดอกเดียวหรือเป็นกระจุกก็ได้ เมื่อโตเต็มที่ปกติจะกว้างประมาณ 3 – 6 เซนติเมตร
สปอร์มีลักษณะรูปไข่ ไม่มีสีแต่เมื่ออยู่รวมกันมองเป็นกระจุกสีขาว ขนาดประมาณ 5 x 10 ไมครอน ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล 2542 : 22 )
แหล่งที่พบ เนื่องจากเป็นเห็ดที่เกิดขึ้นจากการเพาะเลี้ยง อำเภอเนินสง่า
มีโรงเพาะเห็ดนางรม 1 ราย จำนวนก้อนเห็ดประมาณ 3,000 ก้อน ที่ตำบลหนองฉิมและโรงเพาะเห็ดโรงเรียนเนินสง่าวิทยา ตามธรรมชาติสามารถพบเห็ดนางรมได้ทั่วไป
ตามไร่ นา ในท้องถิ่นอำเภอเนินสง่า ชาวบ้านเรียกว่าเห็ดมะม่วง เนื่องจากชอบขึ้นกับ
ขอนมะม่วง ตอมะม่วง ที่อยู่กลางแจ้งหรือที่ร่ม รำไร เป็นที่นิยมบริโภคของชาวบ้าน
แต่ดอกเห็ดจะเล็กกว่าเห็ดที่เกิดจากการเพาะ
ฤดูที่พบ เห็ดนางรม สามารถเพาะให้เกิดดอกได้ตลอดปี โดยจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสม มีความชื้นที่พอเหมาะ วัสดุเพาะมีคุณภาพ อากาศไม่หนาวเกินไปเนื่องจากเป็นเห็ดเมืองร้อน ตามธรรมชาติเห็ดมะม่วง ซึ่งเป็นเห็ดประเภท เดียวกันกับเห็ดนางรม จะพบในช่วงเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม อากาศมีความชื้นสูง
และร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดนางรมเป็นเห็ดที่เพาะง่าย ราคาขายไม่แพงเกินไป เป็นที่นิยมบริโภค เกษตรกรจำนวนมากเพาะเป็นอาชีพ ด้านคุณค่าทางอาหารเป็นเห็ดที่มีไขมันต่ำบริโภคแล้วไม่อ้วน ตามธรรมชาติช่วยย่อยสลายต้นไม้ กิ่งไม้ที่ตายแล้วให้ เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น