วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2550

เห็ดกรวยทองตากู

เห็ดกรวยทองตากู










ภาพ : อนันท์ กล้ารอด

ลักษณะทั่วไป เห็ดกรวยทองตากูเห็ดขอนชนิดนี้มีลักษณะ เป็นรูป กรวยปากกว้างเนื้อเยื่อบางและเหนียว ดอกเห็ดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 6 เซนติเมตร ผิวหมวกเห็ดด้านบนมีสี น้ำตาลอมเหลืองหรือสีน้ำตาลแดง หมวกเห็ดมีสีอ่อนแก่สลับกันจึงเห็นมีลักษณะเป็นลายวงกลมซ้อนกันหลายชั้น ก้านดอกยาวประมาณ 1 – 3 เซนติเมตร มีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอมเหลือง ผิวเรียบเหนียวและแข็งโคนก้านดอกมีฐานเป็นแป้งเล็ก ๆ ไว้ยึดติดกับขอนไม้ เนื้อในก้านสีขาว
สปอร์ รูป ไข่ผิวเรียบ ผนังบางใส ไม่มีสี ขนาดประมาณ 5 x 2 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 89 )
แหล่งที่พบ เห็ดกรวยทองตากูพบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่า ชอบ ขึ้นบนกิ่งไม้ผุ ขอนไม้ผุ ที่เป็นไม้เนื้ออ่อน และเกิดเป็นดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มใกล้ชิดกัน เนื่องจากเห็ดชนิดนี้แห้งและคงรูปอยู่ได้นาน จึงมีผู้เก็บมาตกแต่งประดับบ้านดูเป็นของแปลกและสวยงามดี โรงเรียนเนินสง่าวิทยา พบที่สวนป่ามะม่วงหิมพานต์ขึ้นกับกิ่งแห้งมะม่วงหิมพานต์
ฤดูที่พบ เห็ดกรวยทองตากูพบในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กันยายน จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว เมื่อหมดฤดูฝนก็ยังมีดอกเห็ดแห้งติดกับกิ่งไม้ให้เห็น
ประโยชน์ เห็ดกรวยทองตากูจัดเป็นเห็ดขอนชนิดหนึ่ง ที่รับประทาน ไม่ได้และไม่มีผู้นำมารับประทาน เพราะเห็ดมีเนื้อเยื่อแห้งและเหนียว ตามธรรมชาติช่วยย่อยสลายท่อนไม้ กิ่งไม้ให้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน

ไม่มีความคิดเห็น: