วันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดดันหมี

เห็ดดันหมี





ภาพ : อนันท์ กล้ารอด


ลักษณะทั่วไป เห็ดดันหมีดอกเห็ดเป็นก้อนครึ่งวงกลมหรือเกือบเป็นก้อนกลมติดอยู่กับเนื้อไม้ผุ ตอไม้ผุ ขนาดของดอกเห็ดใหญ่เล็กแตกต่างกันไป มีตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง 1 – 4 เซนติเมตร สีน้ำตาลอมม่วง ซึ่งต่อไปจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ปกติเกิดเป็นดอกเดียวหรือเกิดรวมกันหลายดอกเป็นกลุ่มก้อนชิดติดกัน ดอกที่แก่เต็มที่จะมีผงสปอร์สีดำอมม่วงฟุ้งกระจายออกมาจากรูขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่ารอบก้อน ถ้าผ่าก้อนเห็ดออกเป็น 2 ซีก จะเห็นเนื้อเยื่อภายในเป็นลายวงกลมซ้อนกันหลายชั้นออกไปจนถึงขอบ และมีเส้นใยละเอียดสีน้ำตาลอัดกันแน่น แต่เปราะง่ายไม่แข็งเหมือนเปลือกหุ้ม
สปอร์ รูปยาวรีสีดำ ผิวเรียบ ขนาด 12-17 x 6-9 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 122 )
แหล่งที่พบ เห็ดดันหมีพบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่าตามสวนป่ายูคาลิปตัส เห็ดจะขึ้นกับตอไม้ยูคาลิปตัสที่ผุหรือตามรากไม้ ขึ้นเป็นดอกเดี่ยวกระจายให้เห็นทั่วไป เห็ดชนิดนี้ชอบขึ้นกับพื้นที่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์เช่นดินลูกรัง ดินดาน
ฤดูที่พบ เห็ดดันหมีพบในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กันยายน จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดดันหมีเห็ดชนิดนี้ เป็นเห็ดที่ไม่นำมารับประทานกัน ตามธรรมชาติช่วยย่อยสลายตอไม้ รากไม้ให้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน

ไม่มีความคิดเห็น: