วันพุธที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดตับเต่า

เห็ดตับเต่า




ภาพ : อนันท์ กล้ารอด


ลักษณะทั่วไป เห็ดตับเต่าหมวกเห็ดใหญ่มีสีน้ำตาลเข้ม หรือสี ช็อกโกเลต มองดูลักษณะเป็นมันคล้ายก้อนตับของสัตว์บางชนิด ดอกเห็ดมีผิวด้านบนเรียบสีน้ำตาลแก่หรือสีช็อกโกเลต เวลาเปียกหรือชื้น จะมีลักษณะเป็นมันเงาและเหนียวมือเล็กน้อย เนื้อหมวกเห็ดสีขาวปนเหลืองอ่อน หมวกเห็ดเวลาบานมีขอบม้วนงอเล็กน้อย ผิวด้านบนจะโค้งงอคล้ายกะทะคว่ำ แต่เมื่อบานเต็มที่ขอบดอกก็จะเหยียดตรงออก เห็ดตับเต่ามีก้านดอกใหญ่ประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร และยาวประมาณ
5 – 10 เซนติเมตร ผิวด้านนอกมีสีน้ำตาลเช่นเดียวกับหมวก ตอนโคนใหญ่ออกเป็น กระเปาะและมีรอยย่นหยักเป็นร่องห่าง ๆ รอบโคนต้น เนื้อภายในก้านดอกมีสีขาวปนเหลืองอ่อน สีของเนื้อเยื่อไม่เปลี่ยนแปลงเมื่อผ่าออกเป็น 2 ซีก เนื้อเยื่อภายในสานกันละเอียดแน่นทึบเช่นเดียวกับเนื้อหมวกเห็ด
สปอร์ รูปไข่เกือบกลมสีน้ำตาล ผิวเรียบ ผนังบาง ขนาด 10 x12.5 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 51 )
แหล่งที่พบ เห็ดตับเต่าอำเภอเนินสง่าพบที่ป่าสงวนโคกใหญ่ ขึ้นบน ผิวดินเป็นดอกเดี่ยว กระจายเป็นกลุ่ม บริเวณโคนต้นไม้ หรือใต้พุ่มไม้เล็ก ๆ ดินลูกรังหรือดินร่วนที่เป็นเนินเตี้ย ๆ บริเวณที่เคยพบเห็ดชนิดนี้จะมีให้เห็นทุกปี
ฤดูที่พบ เห็ดตับเต่าเห็ดชนิดนี้ออกดอกชุกชุมในฤดูฝนพบได้ใน เดือน พฤษภาคม – กันยายน จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดตับเต่าเป็นเห็ดที่รับประทานได้ชนิดหนึ่งมีรสชาติดี ชาวบ้านนิยมบริโภคขายได้ราคาแพง ชาวบ้านบางคนมีอาชีพเสริมเก็บเห็ดป่าขาย

ไม่มีความคิดเห็น: