วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดกระโดง

เห็ดกระโดง



ภาพ : อนันท์ กล้ารอด

ลักษณะทั่วไป เห็ดกระโดงมีก้านดอกที่ยาวมากเหมือนเสากระโดงเรือจึงเรียกว่าเห็ดกระโดง หมวกเห็ดกว้างใหญ่ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 10 – 20 เซนติเมตร ดอกตูมมีสีน้ำตาล อมแดง ดอกบานผิวสีน้ำตาลตามขอบหมวกจะแตกออกเป็นเกล็ด แล้วหลุดหายไปคงเหลือเกล็ดสีน้ำตาลปกคลุมอยู่หนาแน่นเฉพาะตรงกลางหมวกเห็ด เนื้อเยื่อภายในหมวกเห็ดเป็นสีขาวมีความหนาพอควร เวลาดอกเห็ดบานเต็มที่ขอบหมวกมักจะฉีกขาดง่าย ด้านล่างมีครีบหมวกสีขาวซึ่งด้านในไม่ยึดติดกับก้านดอก ครีบหมวกเปราะและแตกง่าย ก้านดอกยาวประมาณ 20 – 30 เซนติเมตร หรือยาวเป็นประมาณ 2 เท่า ของความกว้างของหมวกเห็ด ผิวก้านดอกเป็นสีน้ำตาล ปลายด้านบนมีวงแหวนสีขาวและสีน้ำตาลอ่อนซ้อนติดกันอยู่ 2 ชั้น ซึ่งทำให้วงแหวนนี้มีขอบ 2 ชั้น สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ไม่ติดกับ ก้านดอก
สปอร์ สีขาวรูปไข่ ผิวเรียบ ขนาด 15-20 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 36 )
แหล่งที่พบ เห็ดกระโดง พบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่าตามไร่ นา และป่าสงวนโคกใหญ่ชอบขึ้นในป่าบนพื้นดินที่มีหญ้าแห้งปกคลุม โรงเรียนเนินสง่าวิทยาพบที่แปลงเกษตรของโรงเรียนซึ่งมีเศษหญ้าแห้งกองอยู่
ฤดูที่พบ เห็ดกระโดง พบได้ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กันยายน จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดกระโดงเป็นเห็ดรับประทานได้ชนิดหนึ่ง ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 36 ) จากการสำรวจพบว่าชาวบ้านอำเภอเนินสง่า ไม่มีการนำเห็ดกระโดงมารับประทาน ตามธรรมชาติช่วยย่อยสลายเศษใบไม้ หญ้าแห้ง ให้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน

ไม่มีความคิดเห็น: