วันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดขมิ้นใหญ่

เห็ดขมิ้นใหญ่



ภาพ : อนันท์ กล้ารอด

ลักษณะทั่วไป ผิวหมวกเห็ดด้านบนเรียบสีเหลืองแก่อมส้ม ตรงกลาง หมวกเห็ดเว้าบุ๋มลึกลงไปเป็นแอ่งหรือกรวยตื้นบ้างลึกบ้าง เนื้อเยื่อใต้หมวกเห็ดลงไปมีสีเหลืองอ่อนและค่อนข้างบาง ผิวหมวกเห็ดด้านล่างสีอ่อนกว่าเล็กน้อย และเนื้อเรียบเช่นเดียวดับผิวด้านบนแต่มีสันตื้นห่าง ๆ โดยรอบ ทำหน้าที่คล้ายครีบหมวกเห็ด หมวกเห็ดมีความกว้างประมาณ 2 – 4 เซนติเมตร สูงประมาณ 4 – 6 เซนติเมตร เนื้อหมวกเห็ดมีลักษณะยืดหยุ่นคล้ายเห็ดหูหนูแต่ไม่เหนียวเท่า
สปอร์ ของเห็ดชนิดนี้มีรูปร่างกลมรี สีเหลืองอ่อนอมส้มขนาด 8-10 x 5-6 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 80 )
แหล่งที่พบ เห็ดขมิ้นใหญ่พบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่า แหล่งที่พบมากป่าสงวนโคกใหญ่ เห็ดจะขึ้นบนพื้นดินในป่าที่มีใบไม้ตกหล่นปกคลุมสภาพชื้นมีแสงแดดร่ม รำไร และเกิดเป็นดอกเดี่ยว หรือเกิดอยู่รวมเป็นกลุ่มที่อาจจะชิดติดกันเป็นกลุ่มใหญ่โคนเชื่อมติดกันโรงเรียนเนินสง่าวิทยาพบที่สวนป่ามะม่วงหิมพานต์เห็ดขึ้นบนพื้นดินที่มีใบของมะม่วงหิมพานต์ปกคลุมอย่างแน่นหนา และมีแสงแดดพอรำไร
ฤดูที่พบ เห็ดขมิ้นใหญ่พบได้ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – กันยายน จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดขมิ้นใหญ่ความพิเศษของเห็ดชนิดนี้คือมีกลิ่นหอมและรับประทานได้ ตามธรรมชาติเห็ดขมิ้นใหญ่ช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

1 ความคิดเห็น:

pimpa กล่าวว่า...

อาจารย์คะรบกวนเขียนเรื่องเห็ดบ่อยๆนะคะชอบอ่านมากเพราะ อาจารย์อธิบายละเอียดในการสังเกตุเห็ดขอรูปเยอะๆประกอบด้วยค่ะขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ