วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดหูหนูบาง

เห็ดหูหนูบาง



ภาพ : อนันท์ กล้ารอด

ลักษณะทั่วไป เห็ดหูหนูบางหรือเห็ดหูหนูเสวยเป็นเห็ดหูหนูชนิดที่บางที่สุด เป็นแผ่นวุ้นสีครีมอมชมพูหรือสีน้ำตาลอ่อนอมเหลืองแห้งแล้วบางใสโปร่งแสง ดอกเห็ดกว้าง 3 – 6 เซนติเมตร ยาว 5 – 6 เซนติเมตร หนา 0.5 มิลลิเมตร โคนจีบเล็กน้อยทำให้ดอกงอคล้ายหู ผิวด้านบนมีขนสั้นมาก กระจายบาง ๆ ผิวด้านล่างเรียบ
สปอร์ รูปไส้กรอกใส ไม่มีสี ผิวเรียบ ผนังบาง ขนาด 12-14 x 4-5 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 114 )
แหล่งที่พบ พบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่า ตามไร่ นา และป่าสงวนโคกใหญ่ชอบขึ้นกับไม้เนื้ออ่อนที่มีเปลือกหนาบนกิ่งที่ตายแล้ว เช่น สะเดา เสลา โมก ไม้ฟืนที่ชาวบ้านตัดมาจากต้นที่เคยมีเห็ดเมื่อนำมากองไว้ ฝนตกเปียกมีความชื้นจะมีเห็ดให้เห็น ในโรงเรียนเนินสง่าวิทยาพบเห็ดหูหนูบางขึ้นกับต้นสะเดา ต้นโมก
ฤดูที่พบ เห็ดหูหนูบางพบได้ในฤดูฝน เดือนพฤษภาคม – กันยายน ช่วงที่มีมรสุมพายุฝนเข้าฝนตกติดต่อกันหลายวันทำให้เกิดสภาพอากาศชื้นจะพบเห็ดหูหนูงอกขึ้นและโตอย่างรวดเร็วภายใน 1 – 3 วัน เมื่อสภาพอากาศหมดความชื้นดอกเห็ดจะเหี่ยวและแห้งตาย เมื่อมีความชื้นสูงเห็ดจะงอกขึ้นมาใหม่
ประโยชน์ เห็ดหูหนูบางเป็นเห็ดที่รับประทานได้ เห็ดชนิดนี้สังเกตได้ง่ายเป็นแผ่นวุ้นสีครีมอมชมพู จากการสำรวจพบว่าชาวบ้านอำเภอเนินสง่า ยังไม่นิยมบริโภคเนื่องจากเห็ดที่พบมีปริมาณไม่มาก เห็ดหูหนูบางยังช่วยย่อยสลายกิ่งไม้ ต้นไม้ที่ตายแล้วให้เป็นอินทรีย์วัตถุบำรุงดิน

ไม่มีความคิดเห็น: