วันอาทิตย์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

เห็ดตีนแรด

เห็ดตีนแรด



ภาพ : อนันท์ กล้ารอด

เห็ดชนิดนี้เป็นเห็ดสดที่มีขนาดใหญ่ ภาคเหนือเรียกว่า เห็ดจั่น ภาคกลางเรียกว่า เห็ดตับเต่าขาว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเรียกว่า เห็ดตีนแรด เห็ดตีนแฮด
ลักษณะทั่วไป เห็ดตีนแรดดอกเห็ดเป็นกลุ่ม โคนติดกันกลุ่มละ 3 – 15 ดอก ดอกเห็ดมีสีขาวหม่นหรือสีเหลืองนวล หมวกเห็ดรูปครึ่งวงกลมหรือรูป
กระทะคว่ำ ผิวเรียบ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 – 25 เซนติเมตร ดอกอ่อนมีขอบม้วนงอเข้า ดอกแก่แบนลง ใต้หมวกมีครีบเป็นแผ่นสีขาวนวล ก้านยาว 6 – 15 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางสูง 1 – 2.5 เซนติเมตร โคนโป่งเป็นกระเปาะใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 เซนติเมตร สีขาวนวล
สปอร์ ของเห็ด เป็นรูปไข่เกือบกลม ขนาด 7-8 x 6-7 ไมโครเมตร ( อนงค์ จันทร์ศรีกุล. 2542 : 15 )
แหล่งที่พบ เห็ดตีนแรดพบได้ทั่วไปในอำเภอเนินสง่าตามไร่ นา ป่าสงวนโคกใหญ่ชอบขึ้นตามโคนไม้ผุ หรือดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ ดอกเห็ดเป็นกลุ่ม โคนติดกันสังเกตได้ง่ายบริเวณที่เคยพบเห็ดชนิดนี้จะมีให้เห็นทุกปี เนื่องจากเห็ดได้ปล่อยสปอร์ไว้
ฤดูที่พบ เห็ดตีนแรดพบได้ในฤดูฝนเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม จะพบในช่วงที่มีความชื้นสูงอากาศร้อนอบอ้าว
ประโยชน์ เห็ดตีนแรดจัดเป็นเห็ดรับประทานได้ รสหวาน มีกลิ่น รส และความเหนียวไม่แพ้เห็ดโคนและเห็ดหล่ม เป็นที่นิยมบริโภคของชาวบ้านในอำเภอเนินสง่าและตามธรรมชาติยังช่วยย่อยสลายอินทรีย์วัตถุให้เป็นปุ๋ยบำรุงดิน

1 ความคิดเห็น:

เด็กหญิงดาริกา มงศิริ กล่าวว่า...

เห็ดตีนเเรด
ด.ญ. นภสร เปรียญขุนทด เลขที่ 9ม.2/2